การถ่ายวีดีโอ
จัดทำโดย นาย ธนพล พันธุลาภ แผนกช่าง อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม ระดับชั้น ปวส.1 กลุ่ม 1 รหัส 5631050023
การถ่ายวีดีโอ 1.การเขียน Story Board 2.สิ่งสำคัญที่อยู่ใน Story Board 3.การเดินถ่ายวีดีโอไปด้านหน้า 4.การเชื่อมภาพ 5.การเคลื่อนไหวของนักแสดง
1.การเขียน Story Board การเขียน Story Board คือ การเขียนกรอบแสดงเรื่องราวที่สมบูรณ์ของภาพยนตร์หรือหนังแต่ละเรื่อง โดยมีการแสดงรายละเอียดที่จะปรากฏในแต่ละฉากหรือแต่ละหน้าจอ เช่น ข้อความ ภาพภาพเคลื่อนไหว เสียงดนตรี เสียงพูด และแต่ละอย่างนั้น มีลำดับของการปรากฏ ว่าอะไรจะปรากฏขึ้นก่อน หลัง อะไรจะปรากฏพร้อมกัน เป็นการออกแบบอย่างละเอียดในแต่ละหน้าจอก่อนที่จะลงมือสร้างเอนิเมชันหรือหนังขึ้นมาจริงๆ
2.สิ่งสำคัญที่อยู่ใน Story Board 1. Subject หรือ Character ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ หรือตัวการ์ตูน ฯ ที่สำคัญคือพวกเขากำลังเคลื่อนไหวอย่างไร 2. กล้อง ทำงานอย่างไร ทั้งในเรื่องของขนาดภาพ มุมภาพ และการเคลื่อนกล้อง 3. เสียง พวกเขากำลังพูดอะไรกัน มีเสียงประกอบ หรือเสียงดนตรีอย่างไรหลายคนอาจจะกลัวว่าตัวเองวาดรูปไม่เก่งแล้วจะวาด Storyboard ได้อย่างไร อย่าลืมนะครับว่า Storyboard เป็นเพียงรูปที่วาดง่ายๆก็ได้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดไอเดียรว่าภาพจะออกมาเป็นบนจอภาพยนตร์อย่างไร
ตัวอย่าง Story Board
3.การเดินถ่ายวีดีโอไปด้านหน้า พื้นฐานที่สำคัญในการเดินถ่ายวีดีโอ คือ พยายามทำให้ร่างกายอยู่ในสภาพจุดศูนย์ถ่วงต่ำโดยการงอเข่าและย่อตัวให้ต่ำลง เดินด้วยปลายเท้าค่อยๆวางเท้าลง ไม่กระแทกส้นเท้า ยกเท้าไม่สูง ระหว่างเดินถ่ายวีดีโอควรเดินช้าๆ การเดินถ่ายวีดีโอไปด้านหน้าหรือด้านหลังก็ใช้พื้นฐานเดียวกัน แต่ต้องระวังสิ่งของที่อยู่ด้านหลังด้วย
4.การเชื่อมภาพ การเชื่อมภาพ คือ การเปลี่ยนภาพจากช้อตหนึ่ง ไปสู่ช้อตหนึ่ง หรือระหว่างฉากหนึ่ง ไปสู่อีกฉากหนึ่ง ก็สามารถวาดไว้ใน Story Board ได้เหมือนกัน แม้ว่าปัจจุบันการตัดต่อทุกอย่างจะทำในคอมพิวเตอร์ แต่การเขียน Transition ไว้ใน Story Board มันก็ไม่เสียหาย
4.1 CUT CUT คือ การตัดชน เป็นวิธีพื้นฐานและใช้บ่อยที่สุด ปกติในStory Board ก็จะมีการแบ่งเฟรมภาพเป็นช่องๆ ซึ่งหมายถึงการตัดชนธรรมดา บางคนอาจจะไล่จากซ้ายไปขวาแล้วขึ้นแถวใหม่ หรือบางคนอาจจะไล่จากบนลงล่าง แล้วขึ้นคอลัมน์ใหม่ก็ได้ แล้วแต่ถนัด DISSOLVE ภาษาไทยใช้คำว่า ‘การจางซ้อน’ เป็นการละลายภาพ 2 ภาพให้มาแทนที่กัน มักใช้สื่อความหมายว่าเวลาได้ดำเนินผ่านไปเล็กน้อย การวาด Story Board เพื่อให้รู้ว่า 2 ช้อตนี้จะ Dissolve เข้าหากัน ทำได้โดยวาดเครื่องหมายกากบาทไขว้
4.2 LONG TAKE LONG TAKE คือ การถ่ายภาพต่อเนื่องเป็นช้อตเดียวโดยไม่คัท ปกติถ้าการแสดงไม่มากก็อาจจะวาดเพียงช่องเดียว แต่บางครั้งการแสดงนั้นเปลี่ยนไป เช่น เปลี่ยนท่าทาง เปลี่ยนบล็อกกิ้ง มีตัวละครเพิ่ม ฯ การวาด Story Board โดยให้รู้ว่านี่ เป็นช้อตต่อเนื่องกัน ไม่คัท อาจจะทำได้โดยการวาดช่องใหม่ แต่ให้ขอบเฟรมติดกัน เป็นการบอกว่านี่คือการถ่ายแบบต่อเนื่อง
5.การเคลื่อนไหวของนักแสดง บางครั้ง Story Board ที่เป็นภาพนิ่งๆ ก็อาจจะเล่าเรื่องได้ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะเมื่อนักแสดงหรือวัตถุมีการเคลื่อนไหว จึงนิยมวาดลูกศรเพื่ออธิบายทิศทางการเคลื่อนไหวนั้น โดยใช้ลูกศรสีดำ
ขอจบการรายงานเพียงเท่านี้ครับ