การจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสงขลา
วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผน เพื่อให้มั่นใจว่ามีแนวทางในการสร้างความสำเร็จให้กับเป้าหมายที่กำหนดไว้ เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในการทำงานไว้ล่วงหน้า เพื่อลดความขัดแย้งในการทำงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน เพื่อลดความผิดพลาดและความซ้ำซ้อนในการทำงาน
วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผน(ต่อ) เพื่อจัดลำดับความสำคัญและเร่งด่วนของการทำงานไว้ล่วงหน้า เพื่อใช้ในการมอบหมายงานให้กับผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพราะทุกคนจะทราบว่าจะต้องทำอะไร เมื่อไร อย่างไร เพื่อใช้ในการกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายประจำปี เพื่อให้แผนที่วางไว้มีความเป็นไปได้และใกล้เคียงกับการที่จะปฏิบัติจริงให้มากที่สุด
ขั้นตอนการจัดทำแผนปฏิบัติงาน 1. วิเคราะห์ความจำเป็นของการจัดทำแผนปฏิบัติงาน 2. จัดลำดับความสำคัญของแผนปฏิบัติงาน 3. ดำเนินการจัดทำแผน
แผนปฏิบัติงานที่ดีต้องประกอบไปด้วย ชื่อแผนปฏิบัติงาน ขั้นตอนหลัก กิจกรรม วิธีหรือแนวทางในการปฏิบัติงาน กำหนดวัน เวลา สถานที่
แผนปฏิบัติงานที่ดีต้องประกอบไปด้วย(ต่อ) ความเสี่ยงของขั้นตอนหรือกิจกรรม แผนปฏิบัติรองรับ/แผนปฏิบัติสำรอง งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ
ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ(Swot) ของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์พบว่า
จุดแข็ง บุคลากรมีจำนวนเพียงพอ บุคลากรเป็นคนในพื้นที่ บุคลากรมีวุฒิการศึกษาสูงในระดับปริญญาตรีขึ้นไป บุคลากรมีความรู้ประสบการณ์ มีทัศนคติในการทำงานที่ดี
จุดแข็ง(ต่อ) บุคลากรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีงบประมาณในการปฏิบัติงานอย่างเพียงพอทั้งงบจาก กระทรวง จังหวัด ศอบต. อพท. NGO มีโครงสร้างองค์กร ครอบคลุมภารกิจที่ได้รับมอบหมาย มีการประสานงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด (มีส่วนรวม)
จุดอ่อน บุคลากรขาดการกระตือรือร้น ผู้บริหารเปลี่ยนแปลงบ่อยทำให้งานไม่ต่อเนื่อง งบประมาณได้รับการจัดสรรโอนล่าช้า สถานที่ปฏิบัติงานคับแคบ
จุดอ่อน(ต่อ) ขาดการเผยแพร่สิทธิและสวัสดิการของกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ขาดการใช้เครือข่ายทางสังคมเท่าที่ควร ขาดการประสานงานภายในองค์กรระหว่างกลุ่มฝ่ายที่ควรจะเป็น
โอกาส นโยบายของรัฐทุกระดับให้ความสำคัญทางสังคมตั้งแต่รัฐธรรมนูญลงมาถึงระเบียบต่างๆ มีกฎหมายจำนวน 22 ฉบับเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรู้บทบาทหน้าที่และสนับสนุน พมจ. เป็นอย่างดี
โอกาส(ต่อ) นโยบาย (TMT-GT สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ) AEC เกื้อหนุนต่อการปฏิบัติงานของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในด้านสังคมระหว่างประเทศ การคมนาคมสะดวกในการประสานงานและดำเนินการด้านสังคมต่างๆ
อุปสรรค ผู้กำหนดนโยบายในระดับท้องถิ่นและระดับจังหวัดขาดความเข้าใจหลักบทบาทของ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ(Swot) การทำแผนปฏิบัติงานของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสงขลา
จุดแข็ง บุคลากรมีความรู้ประสบการณ์ มีทัศนคติในการทำงานที่ดี บุคลากรที่จัดทำแผนปฏิบัติงานมีความพยายามที่จะเรียนรู้งานที่ได้รับมอบหมาย บุคลากรที่จัดทำแผนปฏิบัติงานสามารถนำข้อผิดพลาดไปแก้ไขจนก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดทำแผนปฏิบัติงาน
จุดอ่อน บุคลากรในการจัดทำแผนปฏิบัติงานมีน้อย บุคลากรในการจัดทำแผนปฏิบัติงานยังขาดประสบการณ์ในการทำแผนปฏิบัติงาน ขาดความต่อเนื่องในการจัดทำแผน บุคลากรในการจัดทำแผนปฏิบัติงานต้องมีการเรียนรู้ในการจัดทำแผนปฏิบัติงานเพิ่มเติม
โอกาส หัวหน้างานเข้าในการทำงานของผู้จัดทำแผนปฏิบัติงาน ระยะเวลาในการทำงานมีการยืดหยุ่นทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถมีเวลาที่จะแก้ไขผลงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการจัดทำแผนปฏิบัติงาน
อุปสรรค บ้างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งข้อมูลล้าช้า บุคลากรในการจัดทำแผนปฏิบัติงานต้องรับผิดชอบงานในส่วนอื่นด้วย อุปกรณ์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องปลิ้นเตอร์ เกิดการขัดข้องและไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน