ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อการศึกษา วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 ประเวศ ยอดยิ่ง 11 ก.ค. 56
จากนโยบายของรัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะสร้าง สังคมผู้ประกอบการขึ้นในประเทศไทย โดยมีนโยบายอย่างชัดเจนในการส่งเสริม พัฒนา วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) ในการ พื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว กลยุทธ์ใหม่ในการส่งเสริม SMEs จึงต้องมุ่งสร้าง ผู้ประกอบการใหม่ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะก่อให้เกิด การสร้างธุรกิจใหม่ๆ ขึ้นในประเทศ เติบโตและ เข้มแข็งยิ่งๆ ขึ้นไป
หัวข้อที่จะนำเสนอ 1. บทบาท หน้าที่ของศูนย์บ่มเพาะ วิสาหกิจฯ วท.นครราชสีมา 2. ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจของ มหาวิทยาลัย (UBI) 3. กองทุนตั้งตัวได้
ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อการศึกษา วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา โครงการนี้ เกิดขึ้นมาตั้งแต่ ปี 2549 รู้จักกันใน หลายชื่อ เช่น...... โครงการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ โครงการบ่มเพาะผู้ประกอการใหม่ โครงการหนึ่งวิทยาลัย หนึ่งธุรกิจ และชื่อปัจจุบัน : โครงการบ่มเพาะ ผู้ประกอบการอาชีวศึกษาแบบครบวงจร ศูนย์บ่มเพาะฯ เป็นหน่วยงานสนับสนุน ส่งเสริม บ่มเพาะ ให้เกิดผู้ประกอบการใหม่
ศูนย์บ่มเพาะฯ เป็นหน่วยงานสนับสนุน ส่งเสริม บ่มเพาะ ให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ที่มีศักยภาพ โดยอาศัยองค์ความรู้ด้าน.... วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และธุรกิจ ที่วิทยาลัยมีอยู่ มาวิจัย พัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ บริการที่ผู้เรียนทำ หรือผู้ประกอบการภายนอกมารับบริการ
วัตถุประสงค์ของศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจฯ 1. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาขีดความสามารถ ของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ให้ สามารถนำความรู้ ทักษะวิชาชีพไปประกอบธุรกิจได้ อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน 2. เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์เชิงธุรกิจให้กับ ผู้ประกอบการใหม่ และผู้ประกอบการเดิม ให้สามารถ ประกอบการได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน 3. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการใหม่และ ผู้ประกอบการเดิมได้ใช้บริการด้านงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และข้อมูลของศูนย์บ่มเพาะในการพัฒนา ธุรกิจของตนเอง
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการบ่มเพาะ นักเรียน นักศึกษาปัจจุบัน ของสถานศึกษา สังกัด สอศ. หรือ ครู บุคลากร และศิษย์เก่าของสถานศึกษา สังกัด สอศ. หรือ ประชาชนทั่วไปที่สนใจประกอบธุรกิจ หรือ ผู้ประกอบการเดิมที่ต้องการพัฒนาธุรกิจ มีความมุ่งมั่นในการเป็นผู้ประกอบการที่จะประสบ ความสำเร็จ สามารถเข้ารับการพัฒนาตามที่ศูนย์บ่มเพาะฯ จัด
บริการของศูนย์บ่มเพาะฯ ธุรกิจเป้าหมาย : อุตสาหกรรม และบริหารธุรกิจ ให้บริการ : บริการใช้อาคาร เครื่องมือ อุปกรณ์ในการ ทำงาน บริการให้คำปรึกษา และดูแลจากพี่เลี้ยง (Mentor) ในเรื่องเริ่มต้นและการดำเนินธุรกิจ ศึกษาวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ฝึกอบรมให้ความรู้พื้นฐานในการดำเนินธุรกิจ การพัฒนาองค์การ เทคโนโลยีใหม่
ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการฯ 1. ติดต่อ และสมัครได้ที่ศูนย์บ่มเพาะฯ 2. คณะกรรมการพิจารณาคุณสมบัติและความ เหมาะสมในการเข้าร่วมโครงการแต่ละโครงการ 3. รับการฝึกอบรม และปฏิบัติการทำแผนธุรกิจ 4. เสนอแผนธุรกิจให้คณะกรรมการพิจารณา ความเป็นไปได้ของแผนธุรกิจ
ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการฯ 5. ดำเนินการ บ่มเพาะจนผู้ประกอบการใหม่ ดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นใจ 6. ประเมินผลสำเร็จของการทำธุรกิจ ผลตอบแทนที่เป็นกำไร...นร. นศ. เอาไป / ครุภัณฑ์ที่เกิดจากเงินลงทุน ขอคืนเมื่อจบ การศึกษา เพื่อให้รุ่นต่อไปสานต่อ
กระบวนการบ่มเพาะสำหรับ นร. นศ. ปชส. โครงการ ดำเนินการต่อ เปลี่ยนแนว รับสมัคร /สรรหา สำเร็จ ไม่สำเร็จ สรุปผล /ประเมินผลการประกอบธุรกิจ คัดเลือกจาก ใบสมัคร ประเมินศักยภาพผู้เข้ารับการบ่มเพาะ ดำเนินการประกอบธุรกิจ (ใน/นอกสถานศึกษา) จัดตั้งกลุ่มธุรกิจ / เขียนแผนธุรกิจ / ประเมินแผน เข้ารับการอบรมการเป็นผู้ประกอบการ
ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (University Business Incubator : UBI) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เริ่มโครงการนี้เมื่อปลายปี 2547 โดย มุ่งหวัง... บ่มเพาะให้เกิด “บริษัทใหม่” (Start-Up) และให้เกิด “ผู้ประกอบการใหม่” (Entrepreneurs) ที่จะถูกฟูมฟักโดย ศูนย์/หน่วยบ่มเพาะ วิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI)
วัตถุประสงค์หลักของ UBI Inspire : ผลักดัน และส่งเสริม ผลงานวิจัยของ สถาบันอุดมศึกษา มาแลงเป็นผลิตภัณฑ์ สร้างมูลค่าสู่ ภาควิสาหกิจ Teach : ให้คำปรึกษา และข้อมูล ในการจัดตั้งบริษัทของ หน่วยงานบ่มเพาะและจัดฝึกอบรม ให้ผู้เข้าโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจในฐานะผู้ประกอบการ Connect : ประสานงานระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อ อำนวยความสะดวกในการจัดตั้งบริษัท Create : ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม ธุรกิจใหม่ และ ผู้ประกอบการรายใหม่ในภาคธุรกิจ
ขั้นตอนดำเนินงานของ UBI 1.รับสมัคร 2.ประเมินศักยภาพ 3.รับเข้าร่วมบ่มเพาะ 4.ฝึกอบรมและพัฒนา 5.เขียนแผนธุรกิจ 6.ประเมินแผนธุรกิจ 7.พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 8.ทดสอบตลาด 9.ประเมินความเป็นไปได้ของธุรกิจ 10.แผนธุรกิจฉบับสมบูรณ์
ขั้นตอนดำเนินงานของ UBI
ปัจจุบันมีสถานบันอุดมศึกษาที่จัดตั้ง ศูนย์หรือหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ แล้วจำนวน 56 มหาวิทยาลัย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 8 แห่ง ได้แก่ ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ ของ มรภ.นครราชสีมา (แม่ข่าย), ม.อุบลฯ, ม.วงษ์ชวลิตกุล, ม.ทส., มรภ.บุรีรัมย์, มรภ.สุรินทร์, มรภ.อุบลฯ, มทร.อีสาน ดูรายละเอียดที่ www.ubi.mua.go.th
สำหรับสถานศึกษาของอาชีวศึกษา สอศ สำหรับสถานศึกษาของอาชีวศึกษา สอศ. ได้เลือกให้สถานศึกษา จำนวน 15 แห่ง มีศักยภาพจัดตั้งเป็น “ศูนย์บ่มเพาะในการ บูรณาการสหวิชาชีพ” ในภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ได้แก่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี, ......?
ที่จัดอบรมโครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการใหม่ในวันที่ 11-13 ก. ค ที่จัดอบรมโครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการใหม่ในวันที่ 11-13 ก.ค. 56 เพื่อให้ความรู้ สร้างความตระหนัก พัฒนาศักยภาพผู้เรียน ให้มีความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการในระหว่างศึกษา โดยมีทุนประกอบธุรกิจให้ (20,000) และจะเป็นตัวแทนวิทยาลัยในการประกวด /เสนอผลงานในเรื่องของบ่มเพาะวิสาหกิจ
กองทุนตั้งตัวได้ นโยบายรัฐบาย นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัฒน์ กองทุนตั้งตัวได้ นโยบายรัฐบาย นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัฒน์ เพื่อ ส่งแสริมและสนับสนุนให้เกิดการสร้าง วิสาหกิจ นวัตกรรม และแนวทางเศรษฐกิจใหม่ มติ ครม. ให้จัดตั้ง กองทุนตั้งตัวได้ เมื่อวันที่ 30 ก.ค. 55 อยู่ในการบริหารของสำนักงาน คณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) งบประมาณ 2556 : 5,000 ล้านบาท ปี 2557 : 5,000 ล้านบาท 2558 : 10,000 ล้านบาท และ 2559 : 20,000 ล้านบาท (กู้ยืม แบบคงเงินต้น) เป้าหมาย ปี 2556 สร้างนักศึกษา ผู้ประกอบการ (ที่ได้รับการกู้ยืม) จำนวน 5,000 คน
หลักเกณฑ์การให้กู้ยืม เป็นระเบียบสำนักนายก ว่าด้วยกองทุนตั้งตัวได้ พ.ศ. 2555 - นักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษา/อาชีวศึกษา หรือ บุคคลที่สำเร็จการศึกษาแล้วไม่เกิน 5 ปี (ต้องมี สัญชาติไทย) ร่วมกับธนาคาร / สมาคมศิษย์เก่า / ผู้ทรงคุณวุฒิ ในแต่ละสาขาวิชา พิจารณาให้สิ้นเชื่อลงทุน (มีคณะกรรมการบริหารกองทุนตั้งตัวได้ กำหนด) - ต้องสมัครเข้ารับการบ่มเพาะวิสาหกิจ และพัฒนา เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ (Product) จากหน่วย ABI (Authorized Business Incubators ซึ่งเป็นหน่วย UBI เดิม)
ขั้นตอนการเข้าร่วมกองทุนตั้งตัวได้ 1. มีสัญชาติไทย ต้องเป็น นศ.ปัจจุบันหรือจบ มาแล้วไม่เกิน 5 ปี ใน ม.หรือ อาชีวะในประเทศไทย 2. มีไอเดียธุรกิจ และ Business Model 3. สมัครเข้าอบรม/พัฒนาจากศูนย์บ่มเพาะ (ABI-56 แห่ง) และผ่านการคัดเลือกจาก ABI 5. ผู้เข้าอบรมผ่านการประเมิน Business Planจาก ABI 6. กองทุนฯ ร่วมกับธนาคารให้กู้ไม่เกิน 1.0ล้าน 7. ดำเนินธุรกิจภายใต้การดูแลของ ABI และส่ง เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยในเวลาที่เหมาะสม
สอบถามข้อมูลเบื้องต้นได้ที่ หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI) ทั่วประเทศ และ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โทร. 02-610-5335, 02-610-5444 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ติดต่อ คุณเจิดฤดี สำนักมาตรฐานการ อาชีวศึกษาและวิชาชีพ ขอบคุณ / สวัสดี