บทบาทอาสาสมัครผู้สูงอายุ เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ หรือ หลังเกษียณอายุการทำงาน แล้ว การหาเวลาว่างได้ง่าย มีมากขึ้น การมีกิจกรรมยามว่าง ไม่ว่าเพื่อสันทนาการ หรือเรียนรู้ สิ่งใหม่ หรือ การให้บริการ ผู้อื่น จึงเป็นสิ่งที่จะมีประโยชน์ นำสู่ความสุขใจ มาชีวิตชีวา มีความหมายไม่เกิดภาวะเบื่อหน่าย หรือแยกตัวจากสังคม กิจกรรมในยามว่างต่างๆ จึงควรเลือกให้เหมาะสมกับแต่ละ บุคคล ดังนี้
การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นความจำเป็น เพื่อกระตุ้น ๑.กิจกรรมการเรียนรู้ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นความจำเป็น เพื่อกระตุ้น จิตใจและเป็นการแลกเปลี่ยนความสนใจกับผู้อื่นได้ การเรียนรู้ สำหรับผู้สูงอายุ มีหลายรูปแบบ เช่น การเรียนรู้ผ่านระบบ การศึกษาผู้ใหญ่ การเรียนรู้ผ่านการศึกษานอกระบบการเรียนรู้ โดยการเข้าร่วมประชุมวิชาการการเรียนรู้ระยะสั้นต่างๆ
๒. กิจกรรมบริการผู้อื่น เนื้อแท้ของชีวิตอย่างหนึ่ง คือการเสียสละและทำสิ่งที่เป็น ประโยชน์แก่สังคม นอกเหนือจากทำให้ตนเอง ครอบครัว การบริการผู้อื่น สามารถทำได้โดยผ่านงานในรูปแบบอาสาสมัคร สำหรับผู้สูงอายุ ก็สามารถดำเนินกิจกรรมบริการผู้อื่น ในรูปแบบอาสาสมัครได้ในหลายๆ ประการ ได้แก่ ๑.บริการด้านสุขภาพอนามัย เช่นเยี่ยมผู้ป่วย ช่วยผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวันตามความเหมาะสม ๒.บริการด้านสังคมสงเคราะห์ /บำเพ็ญประโยชน์เช่น ออกช่วย ผู้ประสบทุกข์ภัย เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ เป็นต้น
๓.องค์กรการกุศล หรือ องค์กรทางศาสนา เช่น งานหาทุน งานประสานงาน งานบริการที่ไม่ต้องอาศัยวิชาการชั้นสูง ๔.เข้าร่วมชมรมและสมาคมในฐานะต่างๆตามศักยภาพ เช่น เป็นผู้จัดการ ผู้สอนบริการ หรือสมาชิกในสมาคม องค์กร ชมรมนั้นๆ ๕.กลุ่มเฉพาะทาง เช่น กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กลุ่มผู้บริโภค กลุ่มลัทธิมนุษยชน กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ๖.ตามบทบาทความเป็นวิชาชีพ เช่น เคยเป็นตำรวจ อาจเป็นหน่วยรักษาความปลอดภัย ชุมชน หมู่บ้าน เป็นครูผู้สอน ผู้บรรยายพิเศษ เป็นกรรมการในกลุ่มองค์กรวิชาชีพสั้นๆ
ประโยชน์ที่ได้จากการบริการผู้อื่น ๑.ได้เสียสละ เช่น ทำประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นการแสดงว่าผู้อื่นต้องการผู้สูงอายุ ๒.ได้ช่วยผู้อื่นในการแก้ปัญหา จะทำให้ผู้สูงอายุมีการพัฒนา แนวคิดในการแก้ปัญหาต่างๆที่อาจเกิดกับตนเองได้ ๓.ได้ติดต่อมีสัมพันธภาพกับผู้อื่นที่มีสภาพเลวร้าย เช่น สุขภาพอนามัยจะช่วยให้ท่านพึงพอใจ ตนเองมากขึ้น ๔.การเสียสละต่อสังคม จะทำให้ภาพพจน์ของผู้สูงอายุน่าพึงพอใจ ๕.การเสียสละ หรือ บริการผู้อื่น จะทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นและทำให้สุขภาพดีตามไปด้วย ประโยชน์ที่ได้จากการบริการผู้อื่น
บทบาทอาสาสมัครในการส่งเสริมสุขภาพ ๑.เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ทางสื่อทุกชนิด ทุกรูปแบบตาม ความเหมาะสม ๒.ให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย และ ประชาชนทั่วไปเกี่ยว กับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ๓.สื่อกลางประสานงานด้านเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ๔.ร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมกลุ่มผู้สูงอายุ ในสังคม ผู้สูงอายุที่ได้มีส่วนร่วม กิจกรรมมากเท่าใดความคงอยู่ของ คุณค่าของตนเองก็จะมีมากขึ้น ทำให้มีความพึงพอใจในตนเอง ในด้านบวกมากขึ้น ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีในช่วง ปัจฉิมวัยได้ บทบาทอาสาสมัครในการส่งเสริมสุขภาพ
จบ แล้ว ค่ะ