อธิบายหลักการทำงาน บทบาท และประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ ตัวชี้วัดที่ 1 อธิบายหลักการทำงาน บทบาท และประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
การทำงานของคอมพิวเตอร์ การทำงานของคอมพิวเตอร์(จอห์น วอน นอยแมน) ประกอบด้วยหน่วยสำคัญ 5 หน่วย ได้แก่ 1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) 2. หน่วยความจำหลัก (Primary Storage Unit) 3. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit :CPU) 4. หน่วยความจำรอง (Secondary Storage Unit) 5. หน่วยส่งออก (Output Unit)
1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่รับข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ในหน่วยความจำแล้วนำมาประมวลผลหรือ เก็บไว้ในหน่วยความจำรองอุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่คือ แผงแป้นอักขระ (keyboard) และเมาส์ (mouse)
2. หน่วยความจำหลัก (Primary Storage Unit) เป็นหน่วยสำหรับเก็บข้อมูลและซอฟต์แวร์ ที่ใช้ในการประมวลผลซึ่ง หน่วยประมวลผลกลางสามารถอ่านเขียนจากหน่วยความจำหลักรวดเร็วมาก ทำให้ หน่วยประมวลผลกลางนำมาตีความและกระทำตามได้อย่างรวดเร็ว ประเภทหน่วยความจำหลัก : (1) แรม (Random Access Memory : RAM) เป็น หน่วยความจำ ที่เก็บข้อมูล สำหรับใช้งาน ทั่วไป การอ้างอิง ตำแหน่ง ที่อยู่ของ ข้อมูลใดๆ เพื่อการเขียน และการอ่าน จะกระทำ แบบการ เข้าถึง โดยสุ่ม คือ เรียกไป ที่ตำแหน่งที่อยู่ ข้อมูลใดก็ได้ หน่วยความจำนี้ เรียกว่า แรม หน่วยความจำ ประเภทนี้ จะเก็บข้อมูล ไว้ตราบเท่าที่ กระแสไฟฟ้า จ่าย ให้วงจร หาก ไฟฟ้าดับ เมื่อไรข้อมูล ก็จะสูญหาย ทันที
2. หน่วยความจำหลัก (Primary Storage Unit) (ต่อ) (2) รอม (Read Only Memory : ROM) เป็น หน่วยความจำ อีกประเภทหนึ่ง ที่มีการ อ้างอิงตำแหน่ง ที่อยู่ข้อมูล แบบเข้าถึง โดยสุ่ม หน่วยความจำ ประเภทนี้ มีไว้ เพื่อบรรจุ โปรแกรม สำคัญบางอย่าง เพื่อว่า เมื่อ เปิดเครื่องมา ซีพียู จะเริ่มต้น ทำงาน ได้ทันที ข้อมูล หรือโปรแกรม ที่เก็บไว้ใน รอม จะถูกบันทึก มาก่อนแล้ว ผู้ใช้ไม่สามารถ เขียนข้อมูลใดๆ ลงไปได้ แต่สามารถ อ่านข้อมูล ได้อย่างเดียว ข้อมูลหรือ โปรแกรม ที่อยู่ใน รอมนี้จะ อยู่อย่างถาวร แม้จะ ปิดเครื่อง ข้อมูล หรือโปรแกรม ก็จะไม่ถูกลบไป ใน ไมโครคอมพิวเตอร์ แต่ละเครื่อง อาจมีขนาดของ หน่วยความจำหลัก ได้ แตกต่าง กันตาม แต่ความต้องการ ปัจจุบัน เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ มีหน่วยความจำ ที่มีความจุมากขึ้น เพื่อให้ สามารถบรรจุ โปรแกรม ขนาดใหญ่ได้
3. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit :CPU) ทำหน้าที่ในการคิดคำนวณหรือประมวลผลข้อมูล โดยทำตามโปรแกรมที่ เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก วิวัฒนาการของหน่วยประมวลผล : ตัวอย่างเช่น (1) ไมโครโพรเซสเซอร์ 8086 (2) ไมโครโพรเซสเซอร์ 80286 (3) ไมโครโพรเซสเซอร์ 80386 (4) ไมโครโพรเซสเซอร์ 80486 (5) ไมโครโพรเซสเซอร์เพนเตียม ฯลฯ
4. หน่วยความจำรอง (Secondary Storage Unit) มีไว้สำหรับเก็บข้อมูลหรือซอฟต์แวร์ที่มีจำนวนมาก และต้องการนำมาใช้ อีกในภายหลัง หากจะใช้งานก็มีการโอนถ่ายจากหน่วยความจำรองมายัง หน่วยความจำหลัก อุปกรณ์ในหน่วยหน่วยความจำรอง : ตัวอย่างเช่น (1) แผ่นบันทึก (floppy disk หรือ diskette) (2) ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) (3) เทปแม่เหล็ก (tape) (4) แผ่นซีดี (CD-ROM) ฯลฯ
5. หน่วยส่งออก (Output Unit) เป็นหน่วยที่นำข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลแล้วมาแสดงผล หรือเก็บไว้ ในหน่วยความจำรอง
แผนผังการทำงานของคอมพิวเตอร์