บทที่ 2 เริ่มต้นใช้งาน Flash
ประเภทของไฟล์ Flash ไฟล์เอกสาร (flash document) มีฟอร์แม็ตเป็น .fla เป็นไฟล์ที่ได้จากการบันทึกในขั้นตอนการสร้างชิ้นงาน โดยจะเก็บข้อมูลต่างๆ จากการออกแบบทั้งหมดไว้ตามสภาพเดิม สามารถเปิดกลับมาแก้ไขชิ้นงานได้ ไฟล์มูฟวี่ (Flash movie) มีฟอร์แม็ตเป็น .swf ไฟล์นี้เป็นผลลัพธ์สุดท้าย ซึ่งจะได้จากการพับลิช (publish) ไฟล์เอกสาร เพื่อนำไปเผยแพร่และแสดงด้วยโปรแกรม Flash Player โดยข้อมูลต้นฉบับจะถูกบีบอัด ปรับลดคุณสมบัติ และยุบรวมกัน เพื่อให้ไฟล์มีขนาดเล็ก ไม่สามารถเปิดกลับมาแก้ไขชิ้นงานได้
เครื่องมือช่วยกะระยะและจัดวางออบเจ็ค ไม้บรรทัด (Ruler) แสดงอยู่ด้านบนและด้านซ้ายของพื้นที่ทำงาน เส้นกริด (Grid) คือเส้นตารางสมมุติ จะแสดงอยู่ด้านหลังออบเจ็ค เส้นไกด์ (Guide) เช่นเดียวกับเส้นกริด แต่สามารถสร้างไว้ตรงตำแหน่งต่างๆ ได้เองทั้งแนวตั้งและแนวนอน
รูปทรง ภาพที่วาดขึ้นด้วยเครื่องมือต่างๆ ของโปรแกรม Flash จะเรียกว่า “รูปทรง (Shape)” หรือ “ออบเจ็ค (Object)” ก็ได้ โดยแต่ละรูปทรงจะประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ พื้นภาพ (Fill) เป็นส่วนที่อยู่ภายในรูปทรง มีคุณสมบัติอย่างเดียวคือสี สามารถกำหนดรูปแบบต่างๆ ได้ เช่น สีทึบ (Solid) , แบบไล่โทนสี (Gradient) หรือจะใช้รูปภาพบิทแมพมาเป็นพื้นก็ได้ เส้น (Stroke) เป็นส่วนประกอบที่มีลักษณะเป็นลายเส้น เช่น เส้นตรง เส้นโค้ง เส้นหยัก หรือเส้นที่อยู่รอบรูปทรง คุณสมบัติของเส้นมีหลายอย่าง เช่น ลวดลาย ความหนา สี ส่วนประกอบทั้งสองเป็นอิสระต่อกัน คือ สามารถวาดรูปทรงโดยไม่มีพื้นหรือไม่มีเส้นอย่างใดอย่างหนึ่งได้
รูปแบบการวาด วาดแบบ Object Drawing รูปทรงที่ได้จากการวาดจะเป็นอิสระต่อกัน เมื่อมีการวางซ้อนทับไม่มีผลทำให้ออบเจ็คอื่นหรือตัวเองเปลี่ยนรูปร่าง วาดแบบ Merge Drawing รูปทรงที่ได้จากการวาดจะมีผลต่อรูปทรงอื่น เมื่อมีการวาดหรือนำไปวางซ้อนทับกัน จะทำให้สีพื้นภาพหรือเส้นเปลี่ยนแปลงไป
การซ้อนทับของรูปทรงในแบบ Merge Drawing รูปทรงทั้งสองไม่มีเส้นและมีสีพื้นเป็นสีเดียวกัน → จะทำให้รูปทรงทั้งหมดถูกรวมเป็นชิ้นเดียวกัน รูปทรงทั้งสองไม่มีเส้นและมีสีพื้นที่ไม่ใช่สีเดียวกัน → จะทำให้รูปทรงทั้งสองแยกออกจากกัน โดยที่รูปด้านบนยังเหมือนเดิม แต่รูปด้านล่างจะถูกตัดและส่วนที่ถูกทับจะหายไป
รูปทรงทั้งสองหรือชิ้นใดชิ้นหนึ่งมีเส้น → (ไม่ว่าพื้นและเส้นจะเป็นสีเดียวกันหรือคนละสี) จะทำให้รูปทรงทั้งสองแยกออกจากกัน โดยที่รูปทรงด้านบนยังคงเหมือนเดิม แต่รูปด้านล่างจะถูกตัด และหากดับเบิลคลิกเลือกที่รูปทรงใดก็จะได้เส้นกรอบตามรูปทรงนั้น รูปทรงที่มีเฉพาะเส้น → ไม่ว่าจะเป็นสีเดียวกันหรือไม่ก็ตาม เส้นจะสามารถแยกส่วนออกตามมุม หรือตรงจุดที่เส้นตัดกันได้
วาดรูปทรงเรขาคณิต คลิกเครื่องมือ กำหนดคุณสมบัติของ “พื้น” และ “เส้น” คลิกลากวาด
วาดรูปทรงหลายเหลี่ยมและรูปดาวด้วยเครื่องมือ PolyStar 2. กำหนด “พื้น” และ “เส้น” 3. กำหนดค่ารูปทรง
ตัวอย่างรูปทรงที่ได้
วาดเส้นตรง คลิกเลือกเครื่องมือ กำหนดรูปแบบเส้น คลิกที่จุดเริ่มต้นเพื่อสร้างจุดแองเคอร์ แล้วคลิกต่อเนื่องไปยังจุดถัดไปเรื่อยๆ จบรูปทรงโดยใช้เมาส์คลิกที่จุดเริ่มต้น