จะเริ่มอย่างไร ? จุดเริ่มต้นของการปฏิรูประบบสุขภาพระดับอำเภอ อยู่ที่การกำหนดค่ากลางของความสำเร็จของโครงการสุขภาพระดับเขต เพื่อส่งมอบให้จังหวัดนำเข้าสู่กระบวนการ(1) กำหนดค่ากลาง (2) ทำการบูรณาการ และ (3) สร้างนวัตกรรมสังคมต่อไป
คำแนะนำ บูรณาการบทบาทกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำความตกลงในระดับส่วนกลางเกี่ยวกับความร่วมมือของ อปท.กับหน่วยงานสาธารณสุขในประเด็นการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ และการสนับสนุนนวัตกรรมสังคม แต่งตั้งนายก อปท. หรือผู้แทนเข้าร่วมเป็น คปสอ.ระดับอำเภอ มอบบทบาทการพัฒนาส่วนสภาวะแวดล้อมของกลุ่มวัยฯให้ อปท. โดยใช้บัญชีค่ากลางสำหรับโครงการสุขภาพฯที่ สสจ. กำหนดชุดเดียวกับ รพสต.และกองทุนฯ วางระบบข้อมูลที่ใช้ร่วมกันได้ระหว่าง อปท. กับ สธ.
คำแนะนำ ควรเพิ่มทักษะในการบริหารจัดการโครงการแบบบูรณาการให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 1. ใช้การเรียนการสอนโดยฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง 2. ใช้วิทยากรที่มีอยู่ในระดับเขตเป็นหลัก เสริมด้วย วิทยากรกลาง (ถ้าจำเป็น) 3. สร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนาทักษะการบริหาร จัดการกับการพัฒนาด้านสังคม-อารมณ์
ประเมินสมรรถนะของบุคลากรและแกนนำและสร้างเสริมทักษะ
คำแนะนำ ปฏิรูปข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ (Management Information) ระดับอำเภอ เนื่องจากจะมีการบูรณาการงานระดับท้องถิ่น/ตำบล จึงควรปฏิรูประบบการเก็บและรายงานข้อมูลใน ระดับต่างๆให้สอดคล้อง พื้นที่ใดที่เข้าโครงการปฏิรูประบบสุขภาพระดับอำเภอ(DHS) ใหม่นี้ ให้ยกเว้นการทำและใช้รายงานข้อมูลที่กระทรวงฯกำหนดไว้เดิม แล้วใช้ระบบรายงาน ใหม่ตลอดทางจนถึงส่วนกลาง ส่วนพื้นที่ที่ยังไม่เข้าโครงการ ให้ใช้ระบบข้อมูลเดิม
ฐานข้อมูล (Database) สำหรับบริหารจัดการระดับอำเภอ คำอธิบายระบบตัวชี้วัดที่ปรับปรุงใหม่ ความแตกต่างจากระบบเดิม ตัวชี้วัดประเภทต่างๆที่ใช้ คำอธิบายวิธีคำนวณหรือกำหนดสำหรับตัวชี้วัดบางประเภท ผู้เก็บข้อมูล ผู้ใช้หรือคณะผู้ใช้ข้อมูล การใช้ค่ากลางและการบูรณาการในระบบสุขภาพอำเภอ การปรับปรุงตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPI) เพื่อให้ใช้เป็นปัจจุบัน (Real-time) ได้ การเปลี่ยนแปลงตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPI) เพื่อให้เหมาะกับบริบท ความเคลื่อนไหวของตัวชี้วัดผลงาน (PI) ผลกระทบของการปฏิบัติงานต่อแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ (SLM) คำแนะนำเกี่ยวกับการแสดงผลงาน (ชนิดของกราฟ รายงาน ฯลฯ) เวลาที่ใช้ในการทำงาน ความถี่ของปฏิบัติการ ผลลัพธ์ของความสำเร็จ หลักฐานการอนุมัติให้เจ้าหน้าที่ทำการเปลี่ยนแปลงตัวชี้วัดและแก้ไขเหตุได้ทันที
ปรับระบบการสนับสนุนของจังหวัดและเขตต่ออำเภอ/ตำบล กำหนดงานสนับสนุนจากพื้นฐานของงานในค่ากลางของฝ่ายปฏิบัติ ใช้วิธีเจรจาความร่วมมือระหว่างฝ่ายปฏิบัติและสนับสนุน สรุปกิจกรรมสนับสนุนจากงานสนับสนุนที่ตกลงกัน บูรณาการงานสนับสนุนเข้าด้วยกันแล้วจัดสรรกิจกรรมสนับสนุนตามบทบาทหน้าที่ของฝ่ายต่างๆ สร้างแผนงาน/โครงการสนับสนุนของฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สร้างแผนปฏิบัติการร่วมระหว่างฝ่ายสนับสนุน
การปฏิรูประบบสนับสนุนขององค์กรระดับจังหวัด / เขต บูรณาการ เจรจาความร่วมมือ
จะจบอย่างไร ? หน่วยงานระดับเขตควรเป็นศูนย์กลางการพัฒนาสุขภาพของกลุ่มวัยที่กำหนด ควรมีการประชุมวางแผนบูรณาการบทบาทร่วมกันระหว่างกรมต่างๆและสำนักงานปลัดฯ ควรมีการเพิ่มทักษะในการบริหารจัดการโครงการแบบบูรณาการให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เมื่อจัดการบูรณาการแล้ว ควรก้าวสู่การสร้างและจัดการนวัตกรรมสังคมโดยเร็ว ควรปฏิรูปแนวคิดและวิธีวางแผนงานโครงการใหม่ให้สอดรับกับเทคนิคการบูรณาการ ควรบูรณาการบทบาทกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาสภาวะแวดล้อมของกลุ่มวัยฯ
คำแนะนำสำหรับกระทรวงสาธารณสุข ควรประกาศเป็นนโยบายให้หน่วยงานสาธารณสุขตั้งแต่ระดับเขตลงไปทำการปฏิรูประบบการพัฒนาสุขภาพโดยมีจุดหมายปลายทางที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้ประชาชนสามารถดูแลและพึ่งพาตนเองได้ ควรสนับสนุนให้หน่วยงานระดับเขตและจังหวัดจัดการค้นหาและกำหนดค่ากลาง ทำการบูรณาการงานของฝ่ายปฏิบัติและฝ่ายสนับสนุนเพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ทำการถ่ายโอนอำนาจ ความรับผิดชอบในการดูแลสุขภาพให้ภาคประชาชน และส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมสังคม
ขอบคุณ