งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ตามแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์(SRM) สู่การ ปฏิบัติการในพื้นที่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ตามแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์(SRM) สู่การ ปฏิบัติการในพื้นที่"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ตามแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์(SRM) สู่การ ปฏิบัติการในพื้นที่
การบริหารงาน ๘ ประเด็น ตามแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์(SRM) สู่การ ปฏิบัติการในพื้นที่ นายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล ผู้ชำนาญการ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) นักวิชาการ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงฯ(สธ.) กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการสนับสนุนและพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่(สปสช.) โทร ,

2 “ประชาชนสามารถแสดงบทบาทในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชน สภาพแวดล้อมและสังคมโดยรวมได้อย่างยั่งยืน ด้วยความ ตั้งใจ เต็มใจ มีจิตสำนึกที่ดีและมีศรัทธาในการพัฒนา” หัวใจของความสำเร็จคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

3 1.ปรับกระบวนทัศน์ก่อน ใช้ “นวัตกรรมสังคม” ที่ปลุกให้ประชาชนค้นพบศักยภาพของตนเองและชุมชนและพร้อมที่จะร่วมมือกันพัฒนาสุขภาพของตนเอง ครอบครัว สภาวะแวดล้อม และสังคม งานนี้อาจสอดแทรกไว้ในกระบวนการสร้างแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ขั้นตอนแรก คือ การวิเคราะห์สถานการณ์โดยใช้แผนที่ความคิด (Mind Map) เจ้าหน้าที่ก็ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากการเป็นผู้หยิบยื่นให้เป็นผู้สนับสนุน ให้อำนาจแก่ประชาชนในการคิด ตัดสินใจ

4 2.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชน
วางเส้นทางเดินของยุทธศาสตร์ที่จะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยเร็วที่สุด (คือวาง Road Map ในแผนที่ฯ SLM ที่ กรมอนามัยและกรมควบคุมโรคได้ร่วมกันสร้างจุดหมายปลายทางพร้อมทั้งแผนที่ฯฉบับปฏิบัติการ(SLM) เรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากจะเกิดการเสริมพลังกันระหว่างกรมทั้งสอง คัดเลือกกลยุทธ์ที่สำคัญในเส้นทางนั้นมาดำเนินการก่อน ได้แก่ (1) การสร้างและใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์เฉพาะประเด็น(2) การใช้กลยุทธ์พัฒนาบทบาทที่เหมาะสมของประชาชน

5

6 3.กลยุทธ์การใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์
งานขั้นแรกคือ จังหวัด/อำเภอต่างๆ ต้องสร้างกระบวนการสื่อสาร-เจรจาแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ตามประเด็นของพื้นที่ เช่น ใช้วิธีประชุมเชิงปฏิบัติการ ควรใช้เวลา 1-2 วัน เพื่อให้อำเภอและตำบลเรียนรู้กระบวนการทำงานโดยใช้แผนที่ทางยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการ หลังจากนั้น อำเภอและตำบลดำเนินการปฏิบัติและปรับปรุงแผนปฏิบัติการภายใต้การแนะนำจากทีมนิเทศ/วิทยากรอีกระยะหนึ่ง

7 อปท.มีการสนับสนุนทรัพยากรอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง
ผังจุดหมายปลายทางการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค บูรณาการระหว่างกรมอนามัยกับกรมควบคุมโรค ภายในปี (ระยะ 2 ปี) กำหนดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2552 ระดับประชาชน (มุมมองเชิงคุณค่า) ประชาชนสามารถเฝ้าระวังและติดตามสภาวะการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ประชาชนมีโครงการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่พัฒนาขึ้นอย่างเหมาะสมกับบริบทและร่วมมือกันปฏิบัติการตามนั้น ประชาชนมีมาตรการทางสังคมเพื่อควบคุมหรือส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมหรือเหมาะสมตามแต่กรณี ประชาชนมีหน้าที่ควบคุมดูแลสภาวะแวดล้อมทั้งทางกายภาพและที่เป็นนามธรรมให้เอื้ออำนวยต่อการมีสุขภาพที่ดี ระดับภาคี(มุมมองเชิงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) อปท.มีการสนับสนุนทรัพยากรอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง อสม./ผู้นำชุมชน/ประชาสังคมในพื้นที่สามารถพัฒนาชุมชนให้สามารถตัดสินใจและแสดงบทบาทการพัฒนาสุขภาพและสภาวะแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรมได้ ภาคีเครือข่ายการพัฒนาทุกระดับ(ระดับกรม/เขต/สสจ./อปท.) สนับสนุนและประสานงานอย่างเข้มแข็ง

8 ระดับกระบวนการ(มุมมองเชิงกระบวนการภายใน)
ผังจุดหมายปลายทางการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค บูรณาการระหว่างกรมอนามัยกับกรมควบคุมโรค ภายในปี (ระยะ 2 ปี) กำหนดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2552 ระดับกระบวนการ(มุมมองเชิงกระบวนการภายใน) มีการบริหารจัดการภาคีเครือข่ายทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบสนับสนุนการพัฒนาแบบบูรณาการ มีการใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ในการวางแผนงานโครงการพร้อมระบบกำกับติดตามและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ มีระบบการสื่อสารหลายรูปแบบที่เข้าถึงทุกครัวเรือน มีระบบการจัดการนวัตกรรมกระบวนการพัฒนาสุขภาพ ระดับพื้นฐานองค์กร(มุมมองเชิงการเรียนรู้และพัฒนา) องค์กรมีคุณลักษณะที่เอื้ออำนวยต่อการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ข้อมูลสุขภาพและสังคมมีคุณภาพและทันสมัย ชุมชน บุคลากรและองค์กรร่วมมีกระบวนทัศน์และสมรรถนะที่เหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลง

9 SLM ร่วมของกรมอนามัยและกรมควบคุมโรค แสดง Road Map (เส้นสีแดง)
ประชาชนปรับเปลี่ยน พฤติกรรม ประชาชน ชุมชน มีมาตรการทาง สังคม ชุมชนมีโครงการของชุมชนโดย ชุมชน ชุมชน มีระบบเฝ้าระวังที่มี ประสิทธิภาพ อปท.ร่วมตัดสินใจ ขับเคลื่อนและสนับสนุนทรัพยากรอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง กลุ่ม องค์กรในและนอกพื้นที่มีบทบาท ภาคี หน่วยงานภาครัฐทุกระดับสนับสนุนและประสานงานอย่างเข้มแข็ง การจัดการนวัตกรรมที่ดี ระบบสื่อสารสารสนเทศมีประสิทธิภาพ กระบวนการ ระบบบริหารจัดการองค์กรและภาคีเครือข่ายมีประสิทธิภาพ องค์กรมีบรรยากาศเอื้ออำนวยต่อการทำงาน ระบบข้อมูลมีคุณภาพ พื้นฐาน บุคลากร แกนนำมีสมรรถนะที่เหมาะสม

10 ดำเนินกลยุทธ์และกิจกรรมสำคัญ 6 จุดของ Road Map
(แสดงวันที่กิจกรรมสำคัญจะแล้วเสร็จตามที่คาดคะเนด้วย) ประชาชนปรับเปลี่ยน พฤติกรรม * อปท.มอบอำนาจและสนับสนุนให้คณะ อสม.เป็นผู้สร้างโครงการและดำเนินงาน * อปท.มอบอำนาจและสนับสนุนให้ กำนันผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้สร้างโครงการและดำเนินงาน ชุมชนมีโครงการของชุมชนโดยชุมชน ประชาชน ชุมชน มีมาตรการทาง สังคม ชุมชน มีระบบเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพ * มอบอำนาจการควบคุมจัดการให้ท้องถิ่น จัดทำข้อตกลงร่วม (MOU) กับ อปท. พร้อมเงื่อนไขการมอบอำนาจและการสนับสนุน อปท.ร่วมตัดสินใจ ขับเคลื่อนและสนับสนุนทรัพยากรอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง กลุ่ม องค์กรในและนอกพื้นที่มีบทบาท ภาคี หน่วยงานภาครัฐทุกระดับสนับสนุนและประสานงานอย่างเข้มแข็ง *ส่งเสริมการจัดทำแผนงาน/โครงการร่วมกับท้องถิ่นและเครือข่ายองค์กรชุมชน - ปรับแผนตำบลให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการไข้หวัดใหญ่ *กำหนดแผนปฏิบัติการไข้หวัดใหญ่ฯ -สร้างกระบวนการติดตามและ ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ระบบสื่อสารสารสนเทศมีประสิทธิภาพ การจัดการนวัตกรรมที่ดี กระบวนการ ระบบบริหารจัดการองค์กรและภาคีเครือข่ายมีประสิทธิภาพ *สร้างเสริมทักษะการใช้แผนทีฯยุทธศาสตร์ - ประชุมปฏิบัติการเรื่องแผนที่ฯยุทธศาสตร์ ปฏิบัติการ(SLM) เน้นประเด็นเฉพาะ องค์กรมีบรรยากาศเอื้ออำนวยต่อการทำงาน ระบบข้อมูลมีคุณภาพ พื้นฐาน สมรรถนะที่เหมาะสมของบุคลากรแกนนำ

11 กลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยน กระบวนทัศน์/พฤติกรรม
ตัวอย่าง แผนปฏิบัติการ ของท้องถิ่น/ตำบล เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชน กลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยน กระบวนทัศน์/พฤติกรรม CSF (หัวใจของความสำเร็จ) ดำเนินมาตรการทางสังคม (กิจกรรมสำคัญ) สร้างโครงการชุมชน (กิจกรรมสำคัญ) ใช้ข้อมูล /สื่อสาร/ ความรู้(กิจกรรมเสริม) ดำเนินงานคัดกรอง/ เฝ้าระวัง CSF (หัวใจของความสำเร็จ) ประชาชน องค์กรใน / นอกพื้นที่มีบทบาท ภาคี อปท.ขับเคลื่อน สาธารณสุขสนับสนุนวิชาการ

12 4.ปรับจุดหมายปลายทางและแผนที่ฯฉบับปฏิบัติการ ร่วม
ควรใช้แนวทางที่กำหนดไว้แล้วในจุดหมายปลายทางและ SLM ร่วม แต่อาจปรับตามความเหมาะสมได้ นิยามกล่องบนสุดของแผนที่ฯ SLM (ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม)ให้ชัดเจน โดยพิจารณาว่า “ประชาชน” หมายถึงใคร (เช่นกลุ่มต่างๆ) และ “พฤติกรรม” ที่ต้องการให้ประพฤติหรือเปลี่ยนแปลงคืออะไร สร้างตาราง 11 ช่อง และแผนปฏิบัติการ ระยะแรกนี้ ให้สร้างเฉพาะเป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ที่กำหนดโดย Road Map ก่อน เพื่อให้งานเดินหน้าไปถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นเป้าประสงค์สุดท้ายของแผนที่ฯโดยเร็วที่สุด

13 5.การดำเนินการตาม Road Map คือ กลยุทธ์ที่สำคัญเร่งด่วน
จัดตั้งคณะผู้จัดการนวัตกรรม ที่มีสมาชิกคละกันหลายระดับตั้งแต่จังหวัดไปจนถึงระดับท้องถิ่น นพ.สสจ.เป็นประธาน ทำข้อตกลงระหว่างสาธารณสุขกับท้องถิ่น มอบอำนาจให้ดำเนินการโดยระบุอำนาจหน้าที่ให้สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในแผนที่ฯ SLM ให้คณะ อสม. ในท้องถิ่นเป็นผู้จัดตั้งโครงการและดำเนินการเกี่ยวกับการติดตามและเฝ้าระวังฯ ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน วางโครงการดำเนินมาตรการทางสังคม โครงการทั้งหมดนำเข้าสู่เวทีประชาคมเพื่อให้การรับรองและกำหนดเป็นแผนตำบลในโอกาสต่อไป

14 6.ใช้กลยุทธ์พัฒนาบทบาทประชาชน
ใช้กระบวนการนี้ทันทีที่มีการสร้างแผนปฏิบัติการระดับท้องถิ่น/ ตำบล แล้วเสร็จ ทบทวนแผนงานโครงการของตำบล แล้วปรับปรุงให้เข้ากับแผนปฏิบัติการที่ได้สร้างขึ้น ให้ความสำคัญกับการดำเนินมาตรการทางวิชาการที่กำหนดโดยส่วนกลางให้ควบคู่ไปกับมาตรการทางสังคม ให้ประชาชนมีส่วนร่วมกันคิดสร้างมาตรการทางสังคมด้วย เพื่อความถูกต้องตามหลักวิชาการ ควรปรึกษาหารือและตกลงร่วมกันระหว่างประชาชน ท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขก่อนใช้

15 7.พัฒนาองค์ประกอบของแผนที่ฯSLM ส่วนที่อยู่นอก Road Map
เมื่อเริ่มงานไปแล้ว ให้หันกลับมาพัฒนาส่วนอื่นๆของแผนที่ฯต่อไป การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของประชาชน หากจะให้ยั่งยืน ย่อมต้องการยุทธศาสตร์มากกว่าหนึ่งเส้นทาง ให้พิจารณาใช้ประโยชน์จากโครงการเฝ้าระวังที่ได้ดำเนินการไปแล้วโดยคณะ อสม. รวมทั้งโครงการเกี่ยวกับมาตรการทางสังคมด้วย ระบบเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพ จะส่งผลเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ที่นำไปสู่ความสำเร็จของเป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์อื่นๆอีกหลายข้อ

16

17 8.สำหรับองค์ประกอบอื่นๆของแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์นอกเหนือจากระดับประชาชน และระดับภาคี แล้วเช่น ในกระบวนการหรือพื้นฐาน ควรให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้แล้วในแผนที่ฯฉบับปฏิบัติการ (SLM) ที่เป็นต้นแบบ

18 สวัสดี นายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล
นายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล ผู้ชำนาญการ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) นักวิชาการ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงฯ(สธ.) กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการสนับสนุนและพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่(สปสช.) โทร ,


ดาวน์โหลด ppt ตามแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์(SRM) สู่การ ปฏิบัติการในพื้นที่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google