เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย สัมมนาทิศทางเศรษฐกิจไทย 2554 ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยท่ามกลางความขัดแย้ง โรมแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค 24 พฤศจิกายน 2553 เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
หัวข้อในการนำเสนอ การค้าสินค้า การอำนวยความสะดวกทางการค้า การค้าบริการและการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน
1. การค้าสินค้า ความตกลง: AEC เป้าหมายจะให้ ASEAN เป็นเขตการค้าที่ปลอดภาษี ความท้าทาย: การใช้ประโยชน์จาก AFTA ยังจำกัด และการค้าภายใน ASEAN ยังน้อยกว่าในเขตการค้าเสรีอื่นๆ เช่น NAFTA และ EU โอกาส: การลดอัตราภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าบริโภคอุปโภค และการอำนวยความสะดวกทางการค้าจะช่วยให้การค้าภายในภูมิภาคอาเซียนเพิ่มมากขึ้น
การใช้ประโยชน์จาก AFTA หมายเหตุ: * เป็นข้อมูล 5 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 ถึงมีนาคม 2551 แหล่งที่มา: TDRI การใช้ประโยชน์จากข่อตกลงและความร่วมมือระหว่างประเทศ
Share of ASEAN Regional Trade 2008
2. การอำนวยความสะดวกทางการค้า ความตกลง: กำหนดให้ไทยต้องมี national single window ถายในปี พ.ศ. 2008 เพื่อนำไปสู่ ASEAN single window ความท้าทาย: แม้มีการจัดตั้ง One-stop service ขึ้นมาที่ BOI หากแต่การยื่นเอกสาร แบะการอนุมัติยังซ้ำซ้อนเช่นเดิม ไม่มีลักษณะที่เป็น “single submission” และ “single decision” โอกาส: หากดำเนินการได้จะเป็นคุณประโยชน์แก่ผู้ประกอบการไทยที่มีการนำเข้าสินค้าทั้งหมด เนื่องจากพิธีการทางศุลกากรที่ล่าช้าเป็นต้นทุนทีสำคัญ
ความคืบหน้าในการจัดทำ National Single Window (ร้อยละ) Urata, Shujiro and Okabe, Misa (2010), Tracing the Progress toward the ASEAN Economic Community
3. การลงทุน ความตกลง: บุคคลสัญชาติอาเซียนและนิติบุคคลที่มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศอาเซียนสามารถใช้สิทธิในการเข้ามาถือหุ้นได้ร้อยละ 70 ในสาขาที่จะมีการเปิดเสรี ได้แก่ (1) สาขาที่เร่งรัด ได้แก่ คอมพิวเตอร์,โทรคมนาคม, ธุรกิจท่องเที่ยว,สุขภาพ,และ โลจิสติกส์ ภายในปี 2010 (2) วิชาชีพ, ก่อสร้าง, จัดจำหน่าย, การศึกษา, สิ่งแวดล้อม, ขนส่ง, และอื่นๆ ทั้งหมดภายในปี 2015 ความท้าทาย: บริษัทในเครือของบริษัทข้ามชาติที่มีถิ่นฐานในประเทศอาเซียนสามารถเข้ามาลงทุนในประเทศไทยได้ โอกาส: - บริษัทไทยสามารถไปลงทุนในต่างประเทศได้ หากต้องศึกษาอุปสรรค เช่น (1) การเก็บภาษีที่ซ้ำซ้อน (2) ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศที่จะไปลงทุน - ไทยสามารถดึงดูดการลงทุนจากประเทศอาเซียนด้วยกันเพื่อช่วยในการพัฒนาสาขาบริการ/โครงสร้างพื้นฐานที่ยังล้าหลัง
FDI ของประเทศอาเซียน (ล้านเหรียญ สรอ.)
การลงทุนระหว่างอาเซียน (ร้อยละของ FDIรวม)
การลงทุนในภาคบริการ Source: Bank of Thailand
จุดอ่อนที่ต้องการพัฒนา (IMD ranking out of 55) Source: IMD World Competitiveness Yearbook 2008
4. การเคลื่อนย้ายแรงงาน ความตกลง: AEC มุ่งที่จะสร้างตลาดภายในที่มีการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะได้อย่างเสรี ทั้งนี้ได้การทำ MRA สำหรับ พยาบาล และ วิศวกร แล้ว จะมีการทำ MRA สำหรับ แพทย์ ทันตแพทย์ สำรวจบัญชี ซึ่งจะทำให้การเคลื่อนย้ายบุคลากรระหว่าง ASEAN สะดวกมากขึ้น ความท้าทาย: ประเทศที่มีการพัฒนาธุรกิจเหล่านี้ที่ก้าวหน้าไปกว่าประเทศอื่นๆ จะสามารถดึงดูดบุคลากรที่มีคุณภาพได้ หากแต่ประสิทธิภาพแรงงานด้านบริการของประเทศไทยยังล้าหลัง โอกาส: ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่น่าอยู่ในอาเซียน เนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมขนส่งที่ค่อนข้างดี มีแหล่งท่องเที่ยว และมีค่าครองชีพต่ำหากแต่ประเทศไทยจำเป็นต้องทบทวนนโยบายในการจำกัดการลงทุนในภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับวิชาชีพเหล่านี้ มิฉะนั้นแล้วจะเกิด Braindrain ไปยังประเทศที่มีโอกาสและค่าตอบแทนวิชาชีพที่สูงกว่า เช่น สิงคโปร์
ผลิตภาพแรงงาน (GDP ต่อชั่วโมงแรงงาน) ปี 2009 IMD World Competitiveness yearbook 2010
ผลิตภาพแรงงานในภาคบริการของไทย Source: NESDB
ขอบคุณค่ะ