การดำเนินงาน และพัฒนายุวเกษตรกร
1.การพิจารณาจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร ในโรงเรียน ปัจจุบันภาคตะวันออกทั้ง 9 จังหวัด เกือบร้อยละร้อย เป็น กลุ่มยวุเกษตรกรในโรงเรียน ฉะนั้น ก่อนการจัดตั้งกลุ่มควรมีหลัก พิจารณาดังต่อไปนี้
1.1 พิจารณาโรงเรียน (คัดเลือก) -พื้นที่ทำกิจกรรม พื้นที่เหมาะสม ขนาดพื้นที่ มีความอุดมสมบูรณ์ แหล่งน้ำ -ผู้บริหารโรงเรียนมีความสนใจให้โอกาสแก่ครูที่ปรึกษา เจ้าหน้าที่ นักเรียน และมีวิสัยทัศน์ในการ พัฒนางานยุวเกษตรกร -ที่ปรึกษา/ครูผู้ดูแลงานยุวเกษตรกร มีความสนใจด้านการเกษตร มีความรู้ความสามารถถ่ายทอด นักเรียนได้ -นักเรียนสนใจและสมัครใจ ควรมีสมาชิกประมาณ15-30 คน 1.2 ชุมชน - ประกอบอาชีพการเกษตร - ผู้นำชุมชนให้ความสำคัญ - ปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น 1.3 อปท./สพฐ. ให้การส่งเสริมและสนับสนุน
2. การดำเนินงานกลุ่มยุวเกษตรกร 2.1 กระบวนการกลุ่ม - ประชุมชี้แจงสมาชิก - จัดตั้งกลุ่มและคัดเลือกคณะกรรมการ - จัดทำข้อบังคับกลุ่ม - เปิดสภายุวเกษตรกร 2.2 กระบวนการกิจกรรมของกลุ่ม - ทำแผนการถ่ายทอดความรู้แบบมีส่วนร่วม - ดำเนินงานด้านการเกษตรและอื่น ๆ - การจดบันทึก (ประจำกลุ่มรวม กลุ่มย่อย ส่วนบุคคล - ขยายผล (กิจกรรม) - การประเมินผล (กิจกรรม) - สรุปรายงานผลการดำเนินงานประจำปี 1 ครั้ง
3. การพัฒนาเจ้าหน้าที่ 3.1 การบริหารงานยุวเกษตรกร - ทำหนังสือแจ้ง สพฐ, (จังหวัด) - ทำหนังสือแจ้งโรงเรียน (อำเภอ จังหวัด) - ทำหนังสือแจ้ง ศบ.กต. อปท. (อำเภอ จังหวัด) - ประสานงานการจัดตั้งกลุ่มยุวเกษตรกร 3.2 การดำเนินงานยุวเกษตรกร (เจ้าหน้าที่) - ศึกษาคู่มือการดำเนินงานยุวเกษตรกร - จังหวัดจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เจ้าหน้าที่ผุ้รับผิดชอบงานยุวเกษตรกร ระดับอำเภอ - เจ้าหน้าที่จังหวัด/เกษตรอำเภอ เปินพี่เลี้ยงให้เจ้าหน้าที่ระดับอำเภอ - สรุปรายงานผลการฏิบัติงานที่ประชุมเกษตรอำเภอประจำเดือน - สรุปรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี ปีละ 1 ครั้ง ให้ผู้เกี่ยวข้อง (สพฐ. อปท.)