ความสำคัญ ของการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย โดย ดวงเดือน สมวัฒนศักดิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สสข.1 ชัยนาท
สภาพปัญหาความไม่ปลอดภัยของสินค้าเกษตร 1.การปนเปื้อนสารเคมีและจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้างในสินค้าเกษตร (จุดเสี่ยงในขั้นตอนการเพาะปลูก) จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค เช่น เชื้อ Salmonella spp. เชื้อ E. coli เป็นต้น สารปฏิชีวนะตกค้าง พบในผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำและปศุสัตว์ สารพิษอะฟลาท็อกซิน พบมากในถั่วลิสง วัตถุเจือปนในอาหาร เช่น สารฟอกขาว สารกันบูด สารบอแร็ก ฯลฯ
สภาพปัญหาความไม่ปลอดภัยของสินค้าเกษตร 2.การมีพฤติกรรมบริโภคที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ ทำให้คนไทยมีการเจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วย โรคมะเร็งสูงถึงปีละกว่า 120,000 คน ความดันโลหิตสูง กว่า 800,000 คน โรคระบบทางเดินอาหารปีละกว่า 1 ล้านคน ป่วยเรื้อรังรักษาไม่หายกว่า 10.8 ล้านคน
ห่วงโซ่อาหาร ผู้บริโภค ตลาดขายอาหาร สินค้าอาหาร สินค้าเกษตรจากแปลง
สาเหตุที่เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรไม่ปลอดภัย เกษตรกรขาดความรู้และทักษะในการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย เกษตรกรขาดแรงจูงใจและทัศนคติที่ดีในการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย ขาดความเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิต ผู้ค้า และผู้บริโภค ทำให้ตลาดสินค้าเกษตรปลอดภัยในประเทศไทยมีจำกัด
พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551
พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 เป็น พรบ. ที่บังคับใช้กับสินค้าเกษตร (ผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์อันเกิดจากการกสิกรรม การประมง การปศุสัตว์ และผลพลอยได้ของผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ดังกล่าว) “มาตรฐาน” หมายถึง มาตรฐานบังคับหรือมาตรฐานทั่วไปแล้วแต่กรณี
พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 “มาตรฐานบังคับ” หมายถึง มาตรฐานที่มีกฏกระทรวงกำหนดให้สินค้าเกษตรต้องเป็นไปตามมาตรฐาน “มาตรฐานทั่วไป” หมายถึง มาตรฐานที่มีประกาศกำหนดเพื่อส่งเสริมสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน ปัจจุบันมีเฉพาะ “มาตรฐานทั่วไป”
ระบบการผลิตสำหรับสินค้าเกษตร GAP = Good Agricultural Practice (การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี) GAP คือ การปฏิบัติเพื่อป้องกัน หรือลดความเสี่ยงของอันตรายที่เกิดขึ้นระหว่างการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และเหมาะสมต่อการบริโภค
ผลที่ได้จากการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค เกษตรกรผู้ผลิตมีสุขภาพอนามัยดีขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่ายจากการเจ็บป่วย ผู้บริโภคเชื่อมั่นในสินค้า รักษาสภาพแวดล้อม และเกิดระบบการผลิตสินค้าเกษตรแบบยั่งยืน
มาตรฐาน GAP สำหรับพืชอาหาร การรับรองมาตรฐาน GAP ที่ผ่านมา ใช้มาตรฐาน GAP ของกรมวิชาการเกษตรในการตรวจรับรองแปลง มกอช. ได้พัฒนามาตรฐาน GAP สำหรับพืชอาหาร (มกษ.9001-2552) โดยปรับปรุงและประกาศใช้ในปี 2552 โดยอ้างอิงและเทียบเคียงมาตรฐาน Codex มาตรฐาน ASEAN และมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร ได้มีการทบทวน มกษ. GAP พืชอาหาร (มกษ.9001-2556) เพื่อปรับให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ASEAN ซึ่งมีแนวโน้มจะประกาศเป็นมาตรฐานของประเทศประมาณกลางปี 2556
สวัสดี