งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สารมลพิษ โชคชัย บุตรครุธ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สารมลพิษ โชคชัย บุตรครุธ."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สารมลพิษ โชคชัย บุตรครุธ

2 16.สภาพของสารมลพิษในประเทศไทย
16.1 ความหมายของ “สารมลพิษ” หมายถึง สารที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อมนุษย์ สัตว์ พืช และสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้แก่ (1)สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ เช่น ยาฆ่าหญ้า ยาฉีดพ่นป้องกันโรคพืช และดีดีที กำจัดยุง เป็นต้น (2)สารพิษในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ตะกั่ว ปรอท แมงกานีส เป็นต้น

3 16.สภาพของสารมลพิษในประเทศไทย
16.2 ผลกระทบของสารมลพิษต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ดังนี้ (1)มีพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม เช่น ดิน น้ำ และผลผลิตทางกรเกษตรต่างๆ เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ฯลฯ (2)ถ่ายทอดไปสู่คนโดยระบบ “ห่วงโซ่อาหาร”

4 17.สารตะกั่ว สารมลพิษที่สำคัญในประเทศไทย
17.1สารตะกั่วเป็นสารมลพิษที่อันตรายที่สุดในประเทศไทย เพราะมีการนำมาใช้อย่างกว้างขวางจนทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารตะกั่วในสิ่งแวดล้อมและข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ทั่วไป เช่น ใช้สีที่มีสารตะกั่วมาประกอบอาหาร การทำเครื่องสำอาง ภาชนะพลาสติกที่ไม่ได้มาตรฐาน และการบริโภคน้ำที่มีสารตะกั่วเจือปนเข้าไปโดยตรง เป็นต้น

5 17.สารตะกั่ว สารมลพิษที่สำคัญในประเทศไทย
17.2 ผลกระทบจากการได้รับสารตะกั่ว มีดังนี้ (1) หญิงมีครรภ์ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับตะกั่ว ส่งผลกระทบต่อเด็กทารก (2) เด็กที่อยู่ใกล้โรงงานผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสารตะกั่ว อาจส่งผลให้สติปัญญามีพัฒนาการช้าลง (3) กลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารตะกั่ว เป็นกลุ่มคนที่ปัจจัยเสี่ยงต่อการรับสารพิษเป็นอย่างมาก

6 18.กลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารตะกั่ว
18.1 การรับสารตะกั่วเข้สู่ร่างกาย กลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารตะกั่วโดยตรง จะรับสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายโดยวิธีการดังนี้ (1) การหายใจ โดยสูดฝุ่น ควัน และไอระเหยของสารตะกั่วเข้าไปร่างกาย (2) ทางปาก เช่น รับประทานอาหารในโรงงานที่มีสารตะกั่วปนเปื้อนอยู่ในอากาศ (3) ทางผิวหนัง โดยเฉพาะผู้ทำงานกับน้ำมันเบนชิน เช่น เด็กปั้มน้ำมัน

7 18.กลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารตะกั่ว
18.2 อาชีพที่เสี่ยงต่อการสัมผัสกับสารตะกั่ว มีดังนี้ (1) คนงานในเหมืองแร่ตะกั่ว ช่างบัดกรี และคนงานในโรงงานผลิตแบตเตอรี่ (2) คนงานในโรงเรียนอุตสาหกรรมทำแก้ว ช่างเรียงพิมพ์ และทำกระป๋อง (3) คนงานล้างและซ่อมถังเก็บน้ำมัน คนงานทำสี และคนงานชุบโลหะ ฯลฯ

8 19.ความหมายของขยะและสิ่งปฏิกูล
19.1 “ขยะและสิ่งปฏิกูล” หมายถึง วัตถุใดๆ ที่ไม่มีผู้ต้องการใช้แล้ว เช่น เศษกระดาษ เศษอาหาร มูลสัตว์ และซากสัตว์ รวมทั้งสิ่งของวัตถุอื่นๆ ที่มีผู้นำมาทิ้ง 19.2 “สิ่งปฏิกูล” หมายถึง ของเสียที่ขับออกจากร่างกายของมนุษย์ตามธรรมชาติ และรวมถึงขยะมูลฝอยจากบ้านเรือน โรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม และร้านค้าต่างๆ ฯลฯ

9 20.สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอย
20.1 การเพิ่มของจำนวนประชากร 20.2 คุณภาพของประชากร 20.3 พฤติกรรมบริโภคนิยมของผู้คนในสังคมเมือง 20.4 การเก็บและการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลต่างๆ 20.5 การแยกชนิดและประเภทของขยะ 20.6 มีขยะที่เกิดจากวัตถุที่ย่อยสลายยากเพิ่มมากขึ้น

10 21.ผลกระทบของปัญหาขยะและสิ่งปฏิกูล
21.1 ทำให้บ้านเมืองสกปรก 21.2 เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ที่เป็นภาหะนำโรค 21.3 ทำให้เกิดกลิ่นเหม็น

11 22.การคัดแยกประเภทขยะ กรุงเทพมหานครได้จัดประเภทขยะตามชุมชน โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 22.1 ขยะพิษ ควรแยกออกมาจากขยะอื่นๆก่อน เช่น ถ่านไฟฉาย กระป๋องสารเคมี กระป๋องยาฆ่าแมลง 22.2 ขยะเศษอาหาร นำไปทำเป็นปุ๋ยหมักได้ 22.3 ขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ ได้แก่ กระดาษ พลาสติก แก้ว เหล็ก โลหะต่างๆ

12 23.วิธีการกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูล
กรุงเทพมหานครและเทศบาลต่างๆทั่วประเทศ ใช้วิธีกำจัดขยะ 3 วิธี ได้แก่ การเผา การฝัง กลบ และนำไปทำปุ๋ยหมัก


ดาวน์โหลด ppt สารมลพิษ โชคชัย บุตรครุธ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google