สำนักงานเกษตรอำเภอนาด้วง จังหวัดเลย องค์ความรู้การจัดเก็บข้อมูลด้านการเกษตร
ปัญหาในการดำเนินงานด้านเจ้าหน้าที่ ผลการทดลองปฏิบัติด้านเจ้าหน้าที่ -มีความคลาดเคลื่อนของข้อมูล เนื่องจากเกษตรกรต้องให้ข้อมูล การปลูกพืชก่อนฤดูกาลเพาะปลูก ซึ่ง ต้องมีการคาดคะเน ปลูกพืชชนิดใด จำนวนกี่ไร่ -ขาดงบประมาณในการสนับสนุน การดำเนินงาน จัดตั้งคณะทำงานการจัดการความรู้ระดับอำเภอ
ผลการทดลองปฏิบัติด้านเจ้าหน้าที่ จัดตั้งคณะทำงานจัดการองค์ความรู้ระดับอำเภอ เกษตรอำเภอ และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบระดับตำบลหารือกับปลัด อบต. เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน และนายก อบต. แต่ละตำบล เพื่อชี้แจงเหตุผลความจำเป็นในการจัดเก็บข้อมูลด้านการเกษตร เนื่องจากบุคลากรมีน้อย จำเป็นที่จะต้องใช้คณะกรรมการศูนย์บริการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรฯ ในการช่วยจัดเก็บข้อมูล ซึ่งจะ มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ประสานงานของบประมาณสนับสนุนในการจัดเก็บข้อมูล
องค์ความรู้ที่ได้ อำเภอนาด้วงมีการจัดเก็บข้อมูลการปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2551/52 โดย ทำหนังสือแจ้งให้กำนัน / ผู้ใหญ่บ้าน ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรกร ผู้ปลูกพืชฤดูแล้งให้ข้อมูลที่เป็นจริงแก่คณะกรรมการศูนย์ / อาสา สมัครเกษตร ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ ได้มอบหมายให้มีการจัดเก็บข้อมูล ข้อมูลที่ได้มีคุณภาพ ถูกต้อง แม่นยำ ทันเวลา องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น รับแนวทางที่นำเสนอไว้ ดำเนินการ
เกษตรกรบางส่วนไม่เข้าใจ ไม่เห็นความสำคัญของทะเบียน ปัญหาของเกษตรกร เกษตรกรบางส่วนไม่เข้าใจ ไม่เห็นความสำคัญของทะเบียน เกษตรกร ไม่เสียสละเวลาที่จะให้ ข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ ทำให้ข้อมูล ล่าช้า และได้ข้อมูลน้อยกว่าความ เป็นจริง
ผลการทดลองปฏิบัติด้านเกษตรกร ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจให้ผู้นำหมู่บ้านและคณะกรรมการบริหารฯ ให้เห็นถึงความสำคัญของการ ขึ้นทะเบียนเกษตรกร เป็นข้อมูลที่มีความจำเป็นต่อตัวเกษตรกรผู้ให้ข้อมูลเอง เพื่อใช้ในการเป็นหลักฐานอ้างอิงหากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องการใช้ข้อมูลในการวางแผนพัฒนาอาชีพด้านการเกษตร / การช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ และมาตรการอื่น ๆ ของรัฐ องค์ความรู้ที่ได้ * เกษตรกรที่เห็นความสำคัญในการขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกร * เกษตรกรให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่
ปัญหาด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ การบันทึกข้อมูลในระบบ เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากในการจัดเก็บข้อมูล เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลมีคนเดียว แต่งานที่ได้รับมอบหมายมีมากจนเกินไป (งานรายงานขึ้นทะเบียนโครงการแทรกแซงข้าวโพด,มันสำปะหลัง,ข้าว, รายงาน ศ.02 รายงานข้อมูลสถาบัน, รายงานประจำเดือน และการนำเสนอ ข่าวขึ้นเว็ปไซด์ ซึ่งงานแต่ละอย่างจำกัดด้วยเวลา เครื่องคอมพิวเตอร์และ เครื่องพิมพ์ใช้งานไม่ได้ในบางครั้ง จึงทำให้เกิดความล่าช้าและเกิดความ ผิดพลาดของข้อมูล
ผลการทดลองปฏิบัติ องค์ความรู้ที่ได้ คณะทำงานระดับอำเภอได้พิจารณาให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบระดับตำบลที่มีความสามารถในการ ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ช่วยแบ่งเบาหน้าที่ในการพิมพ์หนังสือเข้า-ออก ระบบข้อมูลพิมพ์ รายงาน ข้อมูลสถาบัน หรือข้อมูลอื่นที่สามารถทำได้ ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนส่งพิมพ์ทุกครั้ง องค์ความรู้ที่ได้ เจ้าหน้าที่มีทักษะความสามารถเพิ่มขึ้นในการบันทึกข้อมูล การบันทึกข้อมูลถูกต้อง และรวดเร็วขึ้น
1. ปัญหาด้านช่องทาง / กลไก องค์ความรู้ที่ได้รับ การรับขึ้นทะเบียนเกษตรกรขาดการบูรณาการงานร่วมกัน ของหน่วยงานสังกัดกรมประมงและปศุสัตว์ ในการได้มาซึ่งข้อมูลทำให้ข้อมูลผิดพลาดเกิดการทำงานซ้ำซ้อน และเกษตรกรเบื่อหน่ายทำให้เสียเวลา ล่าช้า ผลการทดลองปฏิบัติ ประสานงานขอข้อมูลหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การขึ้นทะเบียนเกษตรกร และได้ ข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำและเป็นปัจจุบัน องค์ความรู้ที่ได้รับ เกิดคารบูรณาการ การทำงานร่วมกับหน่วยงานสังกัดกรมประมง และกรมปศุสัตว์
3. ข้อเสนอแนวคิดการดำเนินงาน 2. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน * มีความคลาดเคลื่อนของข้อมูล - เกษตรกรต้องให้ข้อมูลก่อนการเพาะปลูก - สภาพดินฟ้าอากาศไม่เหมาะสม - ปัจจัยการผลิตขาดแคลน * ขาดงบประมาณในการสนับสนุนการดำเนินงาน 3. ข้อเสนอแนวคิดการดำเนินงาน * ระดับจังหวัดขอความร่วมมือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดแจ้งท้องถิ่นอำเภอให้องค์การ บริหารส่วนท้องถิ่น อบต.และเทศบาล ตั้งงบประมาณช่วยเหลือด้านการจัดเก็บข้อมูลการ เกษตร และการสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ ทุกปี