เรื่อง การใช้หนังสือเพื่อส่งเสริมพัฒนาการลูกรัก (เล่า)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายในวัยเด็ก
Advertisements

สรุปภาพรวมการเรียนรู้
สรุปภาพรวมของหน่วยการเรียนรู้
พญ.มณฑา ไชยะวัฒน ศูนย์อนามัยที่4 ราชบุรี
ธรรมชาติและลักษณะของภาษา
กิจกรรม คุณติดเกมมากแค่ไหน
การติดต่อสื่อสาร สร้างสรรค์ประโยชน์ สร้างความประทับใจที่ดี
Tuesdays with Morrie & หลายชีวิต
สรุปภาพรวมการเรียนรู้
สร้างสรรค์งานโดย ครูพงศ์ศักดิ์ อินปา
สรุปภาพรวมของหน่วยการเรียนรู้
สวัสดี หนีห่าว กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนมัธยมศึกษาปีที 4 เวลา 2 ชั่วโมง
สรุปภาพรวมของหน่อยการเรียนรู้
ตัวชี้วัด รายวิชา อ ต 1.1 ม.2/1 ปฏิบัติตามคำขอร้อง คำแนะนำ คำ ชี้แจง และคำอธิบาย ง่าย ๆ ที่ฟังและ ชี้แจง และคำอธิบาย ง่าย ๆ ที่ฟังและ อ่าน อ่าน.
สัปดาห์ที่ 3 เรื่อง พฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลง
กิจกรรมถอดสกัดความรู้
วิชา สุขศึกษาและพลศึกษา ป.1 เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกาย
พัฒนาการทางสังคมของวัยรุ่น
การอ่านออกเสียง ความมุ่งหมายในการอ่านออกเสียง
การสื่อสารเพื่อสร้างมนุษยสัมพันธ์
เพื่อสร้างมนุษยสัมพันธ์
การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ : ทำไม อะไรอย่างไร โดยใคร ???
( Theory of Multiple Intelligences ) Gardner (การ์ดเนอร์)
โครงร่างการวิจัย (Research Proposal)
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
เรียนรู้ จาก VDO ของ KMI
หนังสือเล่มแรก Bookstart
โดย... อาจารย์อ้อ สุธาสินี
บทนำ บทที่ 1.
พลังพ่อแม่...พลังครอบครัว
เทคนิคการสร้างเสริมเด็กวัยเรียน
1 การอ่านตำรา การอ่านตำรา.
การใช้ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
ภาษาวิทยุกระจายเสียง
การส่งเสริมพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กอย่างสร้างสรร
การเรียนรู้แบบโครงการ บูรณาการกระบวนการกลุ่ม
Mind Mapping.
สื่อกับ การรับรู้ของเด็ก
ศิลปะการพูดในที่ชุมชน
เทคนิคการฝึกอบรมที่เน้นผู้เข้ารับการอบรม
วิชาคอมพิวเตอร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 นางพวงเพ็ญ อินทร์เอี่ยม
เทคนิคการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
อดุลย์ พลพิชัย ศึกษานิเทศก์ สพป.สฎ.3
อาณ์รมของเด็ก     ลักษณะเด่นทางอารมณ์ของเด็กวัย 3-5 ขวบ มักเป็นเด็กที่แสดงออกอย่างเปิดเผยชัดเจน และแสดงออกตรง ๆ เช่น รัก รื่นเริง โกรธ โมโห หงุดหงิด อิจฉา.
เรื่องราวทางสังคม (SOCIAL STORY)
กิจกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิต
กิจวัตรและกิจกรรมในหนึ่งวันของเด็กๆ
บทที่ 11.
ทักษะและเทคนิคการสอน Teaching Skills and Techniques
สื่อการเรียนรู้เรื่อง ข้อมูล
แนวทางในการจัดกิจกรรมเสริมสร้าง
L o g o บ ท ที่ 8 การเป็นนัก แปล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กรุงเทพ.
เทคนิคการรวบรวมข้อมูล
ผู้อำนวยกลุ่มการเรียนรู้ (Learning Facilitator)
การอ่านเชิงวิเคราะห์
งานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค รพ.หาดใหญ่
การจัดสารนิทัศน์ (DOCUMENTATION)
การสร้างสรรค์บทละคร.
ความหมายของการวิจารณ์
คาถาสำหรับนักพูด.
เทคนิคการถ่ายทอด พ.อ.ฐิตินันท์ อุตมัง.
ธรรมชาติของเด็กวัยเรียน พัฒนาการเด็กวัยเรียน (อายุ 6-12 ปี)
การประเมินพัฒนาการทางภาษาตามแนวสมดุลภาษา
การเขียนบทวิทยุกระจายเสียง. ขั้นตอนการเขียนบทรายการวิทยุ ขั้นเริ่มต้นแนวคิด (Begin with idea) จะเป็น การบอกแนวทาง ขอบเขตและการวาง แผนการผลิตในอนาคต.
การพูด.
นางสาวนิตย์ติญา ดวงใจ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
วิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวน
การสอนแบบสืบสวนสอบสวน
เทคนิคการสื่อสารกับผู้ปกครอง (Communication Skill)
สื่อโทรทัศน์กับ การรับรู้ของเด็ก
ใบสำเนางานนำเสนอ:

เรื่อง การใช้หนังสือเพื่อส่งเสริมพัฒนาการลูกรัก (เล่า) แผนกิจกรรมสำหรับพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู เรื่อง การใช้หนังสือเพื่อส่งเสริมพัฒนาการลูกรัก (เล่า) สำหรับเด็กอายุ 0-5 ปี

วัตถุประสงค์ มีความรู้เรื่องพัฒนาการปกติด้านภาษาการพูด มีความรู้เรื่อง เทคนิคการส่งเสริมความสามารถ ด้านภาษาและการพูดของลูก สามารถเลือกนิทานที่เหมาะสมกับวัยของลูกได้ มีแนวทางในการเล่านิทานและปลูกฝังลูกให้รัก การอ่าน

อุปกรณ์ แบบสังเกตการณ์การใช้ภาษาพูดสำหรับเด็กอายุ 0-5 ปี หนังสือนิทาน 5 เล่ม (ประกอบด้วยหนังสือนิทานตามวัย 0-5 ปี) บัตรภาพคำศัพท์หมวด อวัยวะ สัตว์ ผลไม้ สิ่งของ ชุดบัตรข้อความนิทาน เรื่อง “ยายเช้าปากกว้าง”

สาระสำคัญ การอ่านหนังสือ ให้เด็กฟังตั้งแต่ยังเป็นทารกจะช่วยสร้างความคุ้นเคยระหว่างเด็กกับหนังสือ ถือเป็นการบ่มเพาะนิสัยรักการอ่านหนังสือให้กับเด็กได้

สาระสำคัญ หนังสือ มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเด็กในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านภาษา การที่เราให้เด็กดูภาพจากหนังสือ และผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้เด็กฟัง เด็กจะคุ้นเคยกับคำและเสียง และสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างเสียง ความหมายและภาพ จะช่วยให้เด็กได้ฝึกฝนการพูด รู้จักคำศัพท์และการใช้ภาษา ส่งผลดีต่อการพัฒนาสติปัญญาของเด็ก

วิธีการดำเนินกิจกรรม กิจกรรมที่ 1 วิธีการดำเนินกิจกรรม วิทยากรให้ผู้เข้ารับการอบรมทำแบบสังเกตการณ์การเข้าใจภาษาและการพูด ตามใบกิจกรรมที่ 1 (5 นาที) วิทยากร และผู้เข้ารับการอบรมร่วมอภิปรายผลการทำแบบสังเกตการณ์การเข้าใจภาษาและการพูด (5 นาที) วิทยากรให้ความรู้เรื่อง “พัฒนาการปกติด้านการพูด” ตามใบความรู้ที่ 1 (10 นาที)

วิธีการดำเนินกิจกรรม กิจกรรมที่ 2 วิธีการดำเนินกิจกรรม วิทยากรให้ผู้เข้ารับการอบรมแบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็น และอภิปรายเรื่อง “เทคนิคการส่งเสริมความสามารถด้านภาษาและการพูด” และให้ผู้เข้ารับการอบรมส่งตัวแทนนำเสนอความคิดเห็น ตามใบกิจกรรมที่ 2 (25 นาที) วิทยากรสรุปสิ่งที่พ่อแม่จะช่วยได้เกี่ยวกับเทคนิคการพัฒนาความสามารถด้านภาษาและการพูด ตามใบความรู้ที่ 2 (10 นาที)

วิธีการดำเนินกิจกรรม กิจกรรมที่ 3 วิธีการดำเนินกิจกรรม วิทยากรสุ่มผู้เข้ารับการอบรมให้ทำกิจกรรม “เลือกนิทานตามวัย” ตามใบกิจกรรมที่ 3 (15 นาที) วิทยากรสรุปและให้ความรู้เรื่องประโยชน์ของนิทาน และการเลือกนิทานที่เหมาะสมตามวัย ตามใบความรู้ที่ 3 (10 นาที)

กิจกรรมที่ 4 วิธีการดำเนินกิจกรรม วิทยากรให้ผู้เข้ารับการอบรมแบ่งกลุ่มเล่าเรื่องโดยใช้บัตรภาพ หรือบัตรข้อความ ตามใบกิจกรรมที่ 4 (30 นาที) วิทยากรสรุปหลักการเล่าเรื่องโดยใช้บัตรภาพหรือบัตรข้อความ และแนวทางการปลูกฝังลูกให้รักการอ่าน ตามใบความรู้ที่ 4 (10 นาที)

วิธีการดำเนินกิจกรรม กิจกรรมที่ 1 วิธีการดำเนินกิจกรรม วิทยากรให้ผู้เข้ารับการอบรมทำแบบสังเกตการณ์การเข้าใจภาษาและการพูด ตามใบกิจกรรมที่ 1 (5 นาที) วิทยากร และผู้เข้ารับการอบรมร่วมอภิปรายผลการทำแบบสังเกตการณ์การเข้าใจภาษาและการพูด (5 นาที) วิทยากรให้ความรู้เรื่อง “พัฒนาการปกติด้านการพูด” ตามใบความรู้ที่ 1 (10 นาที)

พัฒนาการปกติด้านการพูด ใบความรู้ที่ 1 พัฒนาการปกติด้านการพูด การใช้ภาษาพูด พื้นฐานของภาษาอยู่ในสมองของเด็ก แม้เด็กหูหนวกก็ยังส่งเสียงอ้อแอ้เช่นเดียวกับเด็กปกติในวัยเดียวกัน นักทฤษฎีบางคนเชื่อว่า สมองเรามี “กลไกการสร้างคำ” รอพร้อมอยู่แล้ว

พัฒนาการปกติด้านการพูด ใบความรู้ที่ 1 พัฒนาการปกติด้านการพูด การใช้ภาษาพูด ภาษาและการใช้ภาษาพูดเกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออก เราพอจะจำกัดความได้ว่า ภาษาคือ สัญลักษณ์ในการออกเสียง ส่วนการใช้ภาษาพูดนั้นก็คือ การแสดงความรู้สึกภายในออกมา ทั้งสองเรื่องสะท้อนสัญชาตญาณความต้องการสื่อสารของมนุษย์

พัฒนาการด้านการพูดในเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ร้องไห้แสดง ความต้องการ เช่น หิว เปียก ตกใจ อายุ 0-2 เดือน

พัฒนาการด้านการพูดในเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี เสียงอ้อแอ้ ส่งเสียง ด้วยความพอใจ ส่งเสียงเพื่อ สื่อสารกับผู้อื่น อายุ 2-2 ½ เดือน อายุ 5-6 เดือน

พัฒนาการด้านการพูดในเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี เลียนแบบ การออกเสียง และพูดคำที่มี ความหมาย พูดคำที่ยาว 2 พยางค์ หรือคำ 2 คำ รวมกันเป็นวลี หรือประโยค อายุ 10-18 เดือน อายุ 12-24 เดือน

พัฒนาการด้านการพูดในเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี อายุ 3-4 ปี ใช้คำได้ทุกประเภทเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนคำและพยางค์ พูดเป็นประโยค ตอบคำถาม อะไร ใคร ทำไม อย่างไร และคำถามที่ต้องใช้เหตุผลประกอบ ใช้ถาม อะไร ทำไม ใช้คำต่างๆ มาเรียบเรียงเป็นประโยคที่ยาวและซับซ้อนมากขึ้น

พัฒนาการด้านการพูดในเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี อายุ 3-4 ปี สนทนาได้นานขึ้น และมีการตอบรับมากกว่าปฏิเสธ ออกเสียงสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ ชัดเจนมากขึ้น เล่าเรื่องแบบถามคำตอบคำไม่เป็นเรื่องราวต่อเนื่อง

พัฒนาการด้านการพูดในเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี อายุ 4-5 ปี พูดคำนามได้เพิ่มขึ้นซึ่งเป็นคำศัพท์ที่ได้จากการพบเห็นนอกเหนือจากชีวิตประจำวันทั้งสิ่งใกล้ตัวและไกลตัว การพูดหรือตอบคำวิเศษณ์และคำบุพบทอาจสับสน อยู่บ้าง ใช้คำลักษณะนามมากขึ้นโดยมักใช้ กับสิ่งที่คุ้นเคย

พัฒนาการด้านการพูดในเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี อายุ 4-5 ปี สามารถจัดเรียงคำในประโยคได้อย่างถูกต้อง ตอบคำถามต่างๆ ได้ทุกคำถาม เช่น อะไร ใคร ทำไม ที่ไหน อย่างไร เท่าไร เมื่อไหร่ ชอบใช้คำถามถามในสิ่งที่ตนอยากรู้หรือสงสัยเสมอโดยไม่สนใจคำตอบ

พัฒนาการด้านการพูดในเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี อายุ 4-5 ปี เล่าเรื่องในลักษณะจับใจความสำคัญของเรื่องมาเล่า เล่าเรื่องที่ประสบมาเสริมตาม จินตนาการทำให้เรื่องเล่าเกินจริง

วิธีการดำเนินกิจกรรม กิจกรรมที่ 2 วิธีการดำเนินกิจกรรม วิทยากรให้ผู้เข้ารับการอบรมแบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็น และอภิปรายเรื่อง “เทคนิคการส่งเสริมความสามารถด้านภาษาและการพูด” และให้ผู้เข้ารับการอบรมส่งตัวแทนนำเสนอความคิดเห็น ตามใบกิจกรรมที่ 2 (25 นาที) วิทยากรสรุปสิ่งที่พ่อแม่จะช่วยได้เกี่ยวกับเทคนิคการพัฒนาความสามารถด้านภาษาและการพูด ตามใบความรู้ที่ 2 (10 นาที)

เทคนิคการส่งเสริมความสามารถด้านภาษาและการพูดของลูก ใบความรู้ที่ 2 เทคนิคการส่งเสริมความสามารถด้านภาษาและการพูดของลูก

ภาษาพัฒนาได้อย่างไร อายุ 0-6 เดือน แสดงความรัก ให้ความอบอุ่น ขณะที่สัมผัสหรือโอบอุ้ม น้ำเสียงนุ่มนวล เปิดเพลง เลียนแบบการเล่นเสียง

ภาษาพัฒนาได้อย่างไร อายุ 6-12 เดือน พูดคำง่ายๆ และคุ้นเคย ในสถานการณ์ขณะนั้น และให้โอกาสเลียนแบบ ฟังเสียงต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม หัดพูดกับของเล่นที่ช่วยส่งเสริมการพูด

ภาษาพัฒนาได้อย่างไร อายุ 12-18 เดือน เรียนรู้ภาษาตามประสบการณ์ บอกชื่อ กิริยาท่าทาง ความรู้สึก รูปร่าง คุณสมบัติเฉพาะของสิ่งนั้นๆ และให้โอกาสเลียนแบบ อ่านหนังสือให้ฟัง พร้อมทั้งอธิบายภาพ

ภาษาพัฒนาได้อย่างไร อายุ 18-24 เดือน ฟังเทปเพลง ดนตรี นิทานภาพ ไปเที่ยวสถานที่ต่างๆ ใช้ของเล่นที่มีการพูดสนทนาโต้ตอบกัน

ภาษาพัฒนาได้อย่างไร อายุ 2-3 ปี ให้โอกาสพูดคุย สนทนาเรื่องต่างๆ แก้ไขการพูด เป็นแบบอย่างเมื่อเด็กพูดผิด ทำกิจกรรม เล่นสำรวจสิ่งต่างๆ เคาะจังหวะ เต้นรำ ฟังนิทาน จัดสมุดถ่ายภาพ ปั้นดินเหนียว เล่นส่งจดหมาย

ร้องเล่นเป็นทำนองเพลง เล่นเกมส์ แล้วสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมนั้นๆ ภาษาพัฒนาได้อย่างไร อายุ 3-4 ปี เล่าเรื่อง อ่าน ร้องเล่นเป็นทำนองเพลง เล่าเรื่องจากภาพ เล่นกับเพื่อน เล่นกับเพื่อน เล่นเกมส์ แล้วสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมนั้นๆ

ภาษาพัฒนาได้อย่างไร อายุ 4-5 ปี ดูโทรทัศน์ในรายการที่เหมาะสม พูดคุย ขยายคำพูดของเด็ก ใช้สมุดภาพ ฝึกออกเสียงที่ไม่ชัด ฝึกความจำ เล่นเกมส์ แล้วสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมนั้นๆ

วิธีการดำเนินกิจกรรม กิจกรรมที่ 3 วิธีการดำเนินกิจกรรม วิทยากรสุ่มผู้เข้ารับการอบรมให้ทำกิจกรรม “เลือกนิทานตามวัย” ตามใบกิจกรรมที่ 3 (15 นาที) วิทยากรสรุปและให้ความรู้เรื่องประโยชน์ของนิทาน และการเลือกนิทานที่เหมาะสมตามวัย ตามใบความรู้ที่ 3 (10 นาที)

ประโยชน์ของหนังสือนิทานและการเลือกหนังสือนิทานตามวัย ใบความรู้ที่ 3 ประโยชน์ของหนังสือนิทานและการเลือกหนังสือนิทานตามวัย

ประโยชน์ของหนังสือนิทาน ด้านร่างกาย จากการอ่านหนังสือให้เด็กฟัง เด็กจะได้ บริหารร่างกายตามเรื่องราวของหนังสือ ทำให้อวัยวะส่วน ต่าง ๆ ของร่างกายแข็งแรง ด้านอารมณ์และจิตใจ จากการอ่านหนังสือให้เด็กฟัง เด็กจะรู้สึกสนุกและมีความสุขที่ได้ฟังเรื่องราวหรือท่อง บทกลอนและแสดงท่าทางอย่างอิสระตามความต้องการ เด็กจะมีอารมณ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส

ประโยชน์ของหนังสือนิทาน ด้านสังคม สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคม รอบด้าน ด้านสติปัญญา การอ่านหนังสือจะช่วยให้เด็กสามารถ จดจำถ้อยคำ จำประโยคและเรื่องราวในหนังสือได้ รู้จักเลียนแบบคำพูด เข้าใจความหมายของเรื่องที่อ่าน รู้จักคิดและรู้จักจินตนาการ

ประโยชน์ของหนังสือนิทาน ด้านภาษา การที่ให้เด็กได้มีโอกาสดูหนังสือภาพและผู้ใหญ่อ่านคำอธิบายประกอบภาพ ซึ่งอาจจะเป็นคำๆ คำสัมผัสคล้องจองหรือเป็นประโยคอธิบายสั้น ๆ เกี่ยวกับภาพให้เด็กฟัง ให้เด็กได้คุ้นเคยกับคำและเสียง และสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างเสียง ความหมาย และภาพ จะช่วยให้เด็กได้ฝึกฝนการพูด รู้จักคำศัพท์และการใช้ภาษา ตลอดจนรู้จักสังเกตรายละเอียดต่าง ๆ ของภาพและหาความหมายจากภาพ

การเลือกหนังสือนิทานตามวัย วัยแรกเกิด - 3 เดือน หนังสือที่เหมาะสมสำหรับทารกในวัยนี้ ควรเป็นหนังสือที่มีรูปภาพโต ๆ และชัดเจน มีสีสัน หรือสีขาวดำตามแบบภาพเหมือนจริง ควรทำด้วยกระดาษหนา ๆ และมีความทนทาน หรือเป็นหนังสือนุ่มนวล เช่น หนังสือผ้า หนังสือพลาสติก หนังสือฟองน้ำ เป็นต้น

การเลือกหนังสือนิทานตามวัย วัย 4 - 6 เดือน หนังสือที่เหมาะสมสำหรับทารกในวัยนี้ ควรเป็นหนังสือที่มีรูปภาพสีสดตัดกับสีพื้น ทำด้วยผ้า หรือกระดาษแข็งๆ เป็นภาพสิ่งของใกล้ตัวเด็ก หรือสิ่งที่เด็กวัยนี้รู้จักมักคุ้นดี

การเลือกหนังสือนิทานตามวัย วัย 7 - 9 เดือน หนังสือที่เหมาะสมกับวัยนี้ ควรเป็นหนังสือเล่มหนาแต่มีขนาดกระทัดรัดเหมือนแท่งสี่เหลี่ยม ทำด้วยกระดาษหนา ๆ เพราะจับได้เต็มมือ เปิดพลิกได้ง่าย และมีความทนทาน ภาพภายในหนังสือชัดเจน และมีเรื่องราวง่ายๆ เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก

การเลือกหนังสือนิทานตามวัย วัย 9 - 12 เดือน หนังสือที่เหมาะสมกับวัยนี้ ควรเป็นหนังสือที่มีขนาดเล็กกระทัดรัด ทำด้วยกระดาษแข็งอาบมันและเปิดเองได้ง่าย แต่ควรเลือกเนื้อเรื่องที่น่าสนใจด้วย เพราะเนื้อเรื่องจะเริ่มดึงดูดความสนใจของเด็ก เด็กเริ่มรู้จักจำ เริ่มเข้าใจและรู้จักเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น หนังสือที่มีรูปภาพที่คุ้นตากับกิจกรรมต่าง ๆ ที่เด็กเคยทำ

การเลือกหนังสือนิทานตามวัย วัย 1 ขวบ หนังสือสำหรับวัยนี้เป็นเหมือนของเล่นชิ้นหนึ่ง เด็กเห็นหนังสือเป็นของสี่เหลี่ยมที่มีภาพติดอยู่และเปิดได้ พอเปิดดูข้างในก็มีภาพต่างๆ หลากสี เรียงรายกันอยู่ในแต่ละหน้า เด็กจะสนุกกับการค้นพบสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏแก่สายตา ถ้าเปิดหน้าไหนแล้วพบกับสิ่งที่เด็กรู้จัก เด็กก็จะยิ่งสนใจมาก ส่งเสียงร้อง เลียนเสียงของสิ่งต่างๆ ใช้นิ้วจิ้มภาพเหล่านั้นด้วยความสนุก

การเลือกหนังสือนิทานตามวัย วัย 1 ขวบ หนังสือที่เหมาะสมกับวัยนี้จึงควรเป็นภาพเหมือนของรูปสิ่งของในชีวิตประจำวัน ผลไม้ สัตว์ สิ่งของ มีความสวยงาม ดูแล้วรู้สึกประทับใจ ไม่ควรเป็นภาพนามธรรมหรือภาพสีลูกกวาดที่ไม่มีความหมาย ไม่ควรมีส่วนประกอบภาพที่รกรุงรัง

การเลือกหนังสือนิทานตามวัย วัย 2 ขวบ เด็กแต่ละคนในวัยนี้เริ่มมีความชอบแตกต่างกัน แล้วแต่สภาพแวดล้อมที่ถูกเลี้ยงดู วัยนี้เป็นวัยที่เด็กมีประสาทหูดีมาก จะจดจำเสียงต่างๆ หรือดนตรีได้ดี หนังสือที่เหมาะกับเด็กวัยนี้คือหนังสือภาพที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน เกี่ยวกับสัตว์และสิ่งของ การใช้ภาษาเป็นจังหวะหรือคำกลอนสำหรับเด็ก

การเลือกหนังสือนิทานตามวัย วัย 3 ขวบ เด็กวัยนี้มีพัฒนาการทางภาษาที่รวดเร็วอย่างน่าทึ่ง มีจินตนาการสร้างสรรค์ และมีความอยากรู้อยากเห็น สามารถติดตามและเข้าใจเรื่องเล่าต่างๆ ได้ดี หากเด็กวัยนี้ได้รับประสบการณ์ทางภาษาและภาพจะเป็นพื้นฐานการสร้างนิสัยรักการอ่านในอนาคต

การเลือกหนังสือนิทานตามวัย วัย 3 ขวบ หนังสือที่เหมาะกับวัยนี้ควรเป็นหนังสือที่ภาพและเรื่องประสานกลมกลืนกันเป็นอย่างดี เวลาเด็กดูหนังสือเขาไม่ดูอย่างคนภายนอกแต่จะสมมุติตัวเองเป็นตัวละครในเรื่องและเข้าไปอยู่ในเนื้อเรื่องด้วย ภาพของหนังสือที่ดีต้องเป็นภาพที่เล่าเรื่องได้ เมื่อพลิกดูภาพทั้งหมดโดยไม่อ่านคำบรรยายก็เข้าใจโครงเรื่องทั้งหมด ภาพควรมีรายละเอียดมากพอที่จะสื่อสารได้

การเลือกหนังสือนิทานตามวัย วัย 4 ขวบ เด็กวัยนี้จะพัฒนาความสามารถทางภาษารวดเร็วมาก วัยนี้เป็นวัยที่สร้างพื้นฐานทางด้านจินตนาการสร้างสรรค์ เมื่อเด็กได้ฟังนิทานในหัวของเขาก็จะวาดภาพไปตามเรื่องราวที่ได้ยิน หนังสือที่มีภาพจะช่วยให้เด็กสามารถจินตนาการต่อเติมได้ง่าย

การเลือกหนังสือนิทานตามวัย วัย 5 ขวบ เด็กวัยนี้จะชอบหนังสือภาพนิทานและเรื่องเล่าที่ยาวขึ้น เด็กต้องการฟังนิทานมาก และมักจะมีเล่มโปรดที่ต้องการฟัง – ดู ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่ดีของการรักหนังสือต่อไป

กิจกรรมที่ 4 วิธีการดำเนินกิจกรรม วิทยากรให้ผู้เข้ารับการอบรมแบ่งกลุ่มเล่าเรื่องโดยใช้บัตรภาพ หรือบัตรข้อความ ตามใบกิจกรรมที่ 4 (30 นาที) วิทยากรสรุปหลักการเล่าเรื่องโดยใช้บัตรภาพหรือบัตรข้อความ และแนวทางการปลูกฝังลูกให้รักการอ่าน ตามใบความรู้ที่ 4 (10 นาที)

ใบความรู้ที่ 4 เทคนิคการเล่านิทาน เล่านิทานที่ไหนดี เลือกสถานที่ ที่ไหนก็ได้ สะดวกและเหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟัง

ใบความรู้ที่ 4 เทคนิคการเล่านิทาน เล่านิทานอย่างไรให้สนุกตื่นเต้น มีความหนักเบา เน้นคำให้ชัดเจน มีช่วงจังหวะช้าเร็วตามเนื้อเรื่อง น้ำเสียง แสดงสีหน้าตามบทบาทและอารมณ์ของตัวละครอย่างเห็นได้ชัด สีหน้าท่าทาง

ใบความรู้ที่ 4 เทคนิคการเล่านิทาน เล่านิทานอย่างไรให้สนุกตื่นเต้น การสบตา สบตาผู้ฟังให้ทั่วถึง การมีส่วนร่วม หยิบ จับ สัมผัส สื่อหรือออกเสียงท่าทางประกอบตัวละครไปพร้อมกับผู้เล่า

ใบความรู้ที่ 4 เทคนิคการเล่านิทาน เล่านิทานอย่างไรให้สนุกตื่นเต้น เปิดโอกาสให้ซักถาม เปิดโอกาสให้ถาม หรือใช้คำถามนำช่วยกระตุ้นให้ผู้ฟังตอบและอยากมีส่วนร่วม การปรบมือ กล่าวชมเชย ให้รางวัล เมื่อผู้ฟังมีส่วนร่วม ให้แรงเสริม

วิธีการปลูกฝังลูกให้รักการอ่าน

วิธีการปลูกฝังลูกให้รักการอ่าน อุ้มลูกนั่งตัก อ่านออกเสียงสูงๆ ต่ำๆ ทำเสียงเล็กเสียงน้อย มีจังหวะหนัก เบา ขณะอ่านหนังสือให้ลูกฟัง ชี้ชวนให้ลูกดูภาพในหนังสือ หยอกเย้า กอดสัมผัส เคลื่อนไหวร่างกายลูกเหมือนในภาพ

วิธีการปลูกฝังลูกให้รักการอ่าน อ่านหนังสือให้ลูกฟังอย่างน้อยวันละ 5-15 นาที เพื่อสร้างความผูกพันในครอบครัว และช่วยให้ลูกได้ใกล้ชิดและผูกพันกับการอ่านหนังสือ

วิธีการปลูกฝังลูกให้รักการอ่าน ขณะที่อ่านหนังสือกับลูก ใช้ช่วงเวลานี้ในการพูดคุยและตั้งคำถาม เพื่อเป็นการต่อยอดความคิดของลูก เชื่อมโยงประสบการณ์ กระตุ้นให้ลูกได้ใช้ทักษะทางภาษาและความคิด

วิธีการปลูกฝังลูกให้รักการอ่าน ขณะที่อ่านหนังสือกับลูก หากลูกถามคำถาม ควรตอบคำถามของลูก ไม่ควรเฉยหรือดุ เพราะวัยเด็กเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น การได้ถามคำถามเป็นการต่อยอดความคิดของลูก ถ้าคำถามข้อใดที่ไม่รู้ ก็พยายามหาคำตอบ โดยพยายามแสดงให้ลูกเห็นว่า การหาคำตอบของพ่อแม่นั้นสามารถหาได้จากการอ่านหนังสือ

วิธีการปลูกฝังลูกให้รักการอ่าน การเล่านิทาน ถ้าเป็นคุณพ่อ คุณแม่มือใหม่ แนะนำให้อ่านตามหนังสือทุกตัวอักษร ไม่ต้องกลัวว่าลูกจะไม่สนุก เพราะว่าถ้าหากหนังสือเล่มนั้นเนื้อหาดี วิธีการเล่าถือเป็นประเด็นรอง และใช้วิธีชี้ตัวหนังสือที่เราอ่านไปพร้อมๆ กัน จะช่วยให้เด็กจดจำในเรื่องภาษาได้ดี

วิธีการปลูกฝังลูกให้รักการอ่าน จัดมุมหนังสือในบ้าน มีมุมที่แสงสว่างเพียงพอ อากาศถ่ายเท สร้างบรรยากาศห้องสมุดในบ้าน ให้ลูกได้หัดเลือกหนังสืออ่านเอง

วิธีการปลูกฝังลูกให้รักการอ่าน จัดช่วงเวลาให้คนในครอบครัวอ่านหนังสือร่วมกัน อย่างน้อยวันละนิดก็ยังดี การทำให้ดูเป็นตัวอย่างนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่ละเลยไม่ได้

สวัสดี