ชูศักดิ์ วิทยาภัค คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลไกการตอบแทนคุณระบบนิเวศ: กรณีศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนลุ่มน้ำน่าน ชูศักดิ์ วิทยาภัค คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การจ่ายค่าตอบแทนบริการทางนิเวศวิทยา (payment for ecological services – PES) การจ่ายค่าตอบแทน (payments) ตามมูลค่าในตลาด การให้รางวัล (rewards) การจ่ายค่าชดเชย (compensation) การให้รางวัลสำหรับผู้ที่ทำให้เกิดบริการทางด้านนิเวศวิทยา หรือผู้ที่จัดทำคุณประโยชน์ ทางด้านสิ่งแวดล้อม ชาวบ้านหรือชุมชนจะได้รับค่าตอบแทนจากการที่เป็นผู้ที่เสียสละหรือจัดการให้เกิดความ ยั่งยืนของระบบนิเวศ ค่าตอบแทนอาจเป็นในรูปของเงินและ/หรือผลประโยชน์ แรงจูงใจในรูปแบบอื่นๆ เช่น อาหาร สิ่งของเครื่องใช้ โอกาสในการทำงาน สิทธิประโยชน์ หรือการพัฒนาคุณภาพชีวิต Pro-poor PES – เป็นการใช้กลไก PES เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาความยากจนไปพร้อมๆ กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (win-win solution)
กลไกเชิงนโยบาย (policy tools) ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม: 3 แบบจำลองเชิงแนวคิด การควบคุมสั่งการโดยรัฐ (command-and-control) การจัดการทรัพยากรโดยความร่วมมือของชุมชน (community-based natural resource management –CBNRM) การใช้กลไกของตลาดในการสร้างแรงจูงใจ (market values) เช่น ระบอบกรรมสิทธิ์ ทรัพยากรส่วนบุคคล การซื้อขาย PES กรอบความคิดที่ใช้ในการศึกษา สิทธิในทรัพยากร (entitlement) อำนาจและความสัมพันธ์เชิงอำนาจ (power) การปกครองจิตสำนึกของประชาชน (governmentality) วิถีการดำรงชีพ (livelihood) สถาบันสังคม (institutions) ผู้กระทำการทางสังคม (social actors)
กรณีศึกษาจังหวัดน่าน: การปลูกข้าวโพด VS ระบบนิเวศลุ่มน้ำตอนบน วิถีการดำรงชีพของชาวบ้าน บริการนิเวศวิทยาของลุ่มน้ำตอนบน
ความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนลุ่มน้ำน่าน: ผลการศึกษาเบื้องต้น เศรษฐศาสตร์การเมืองของการปลูกข้าวโพดในจังหวัดน่าน – เป็นความเชื่อมโยงของ โครงสร้างอำนาจและผลประโยชน์ตั้งแต่ระดับโลกลงมาถึงระดับท้องถิ่น ที่ประกอบ ไปด้วยผู้กระทำการที่สำคัญ เช่น รัฐบาล นักการเมืองระดับชาติ นักการเมืองท้องถิ่น สถาบันการเงิน สหกรณ์การเกษตร บรรษัทขนาดใหญ่ พ่อค้า สมาพันธ์ผู้ปลูกข้าวโพด และเกษตรกร วาทกรรมชาวบ้าน “ไม่มีทางเลือกอื่น เป็นวิถีการดำรงชีพ” ปรากฏการณ์ของการปลูกข้าวโพดในจังหวัดน่านจึงเป็นการ “ร่วมชุมนุมกัน” (assemblages) ของความสัมพันธ์เชิงอำนาจของกลุ่มผู้กระทำการและสถาบันต่างๆ ที่ เป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการปลูกข้าวโพดในเชิงพาณิชย์
รูปแบบ กลไก และกระบวนการจัดตั้งกองทุนลุ่มน้ำน่าน รูปแบบการดำเนินการของกองทุนลุ่มน้ำน่านควรเป็นลักษณะของคณะกรรมการร่วม หลายฝ่าย ควรนำเอาบทเรียนและประสบการณ์การเรียนรู้ของท้องถิ่นจากกองทุนที่มีการ ดำเนินการมาก่อน เช่น เครือข่ายทางสังคมของชาวบ้าน โดยการเปิดโอกาสให้ชาวบ้าน ได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง การจ่ายค่าตอบแทนอาจเป็นดาบสองคม กล่าวคือ อาจนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็ง หรือสร้างความอ่อนแอให้กับระบบการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ เช่น ป่า ชุมชน และระบบเหมืองฝาย กลไกการจ่ายเป็นเงินสดให้กับชาวบ้านเป็นรายบุคคลอาจไปทำลายขนบธรรมเนียม ประเพณีในการร่วมมือกันของชุมชน
สถาบันและองค์กรในการจัดการกองทุนลุ่มน้ำน่าน ชาวบ้าน: เห็นว่าไม่ควรให้องค์กรใดองค์กรหนึ่งดำเนินการแต่เพียงผู้เดียว แต่ควรดำเนินการ ในรูปแบบของคณะกรรมการหลายฝ่ายร่วมกัน แต่เน้นเรื่องการให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วม อย่างแท้จริง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท): มีแนวโน้มที่จะเห็นว่าองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น เช่น อบต. อบจ. และเทศบาล มีศักยภาพที่จะเป็นผู้บริหารและจัดการกองทุน เพราะมีประชาชน เป็นผู้ตรวจสอบผ่านการเลือกตั้ง หน่วยราชการ: เห็นว่าตนเองยังควรมีบทบาทในการบริหารจัดการกองทุนลุ่มน้ำ อย่างน้อยก็ ในฐานะเป็นหน่วยงานสนับสนุนและช่วยเหลือทางวิชาการและกฎหมาย ภาคประชาสังคม: เห็นว่าควรทำในรูปของเครือข่ายภาคประชาชน หน่วยงานของรัฐและ ท้องถิ่นเป็นผู้สนับสนุน ภาคเอกชน: มีแนวโน้มที่จะให้มีการบังคับใช้กฎหมายไปพร้อมๆกับการจัดตั้งกองทุนลุ่มน้ำ
สรุป ความเป็นไปได้ และประเด็นที่ท้าทาย การดำเนินการจัดตั้งกองทุนลุ่มน้ำควรเป็นในลักษณะของผสมผสานกันของหลายฝ่าย เข้าด้วยกัน (hybrid system) ที่อยู่บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วม เกือบทุกฝ่ายต่างเห็นว่า “เงินเพียงอย่างเดียวไม่ใช่ทางออกของปัญหา” คนที่ร่ำรวยและมีอำนาจอาจมีโอกาสที่จะได้รับประโยชน์จากกองทุนมากกว่าคนจน (elite capture) ปัญหาการขาดความเชื่อมั่นศรัทธาในชาวบ้านยังคงมีอยู่ในหลายกลุ่มผู้กระทำการ ปัญหาการเพิ่มขึ้นของหนี้สินและบริโภคนิยมในหมู่ชาวบ้าน ความรู้ เทคนิควิทยา และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ในการวัดและประเมินคุณค่า ทางด้านนิเวศวิทยาของพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบน