โครงการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Risk Management : ERM) สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานยุติธรรม เป้าหมาย (การให้บริการ) ประชาชน ผู้รับบริการ และหน่วยงานในสังกัดได้รับการบริการงานด้านอำนวยการ และบริหารจัดการอย่างสะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง และถูกต้อง วัตถุประสงค์ (กลยุทธ์) 1. พัฒนาระบบฐานข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2. พัฒนาโครงสร้างและศักยภาพบุคลากร 3. พัฒนาระบบบริหารจัดการ 4. ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมในการพัฒนางานยุติธรรม ตัวชี้วัด 1. ร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของส่วนราชการที่ผ่านการประเมินการพัฒนาคุณภาพ การให้บริการตามเกณฑ์มิติคุณภาพการให้บริการในคำรับรองการปฏิบัติราชการฯ 2. ร้อยละของประชาชนที่มีความพึงพอใจต่อการรับบริการ 3. ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมและพัฒนาการอำนวยความยุติธรรม เป้าหมาย (การให้บริการ) สนับสนุนงานกระทรวงยุติธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ (กลยุทธ์) 1. พัฒนากฎหมายและระบบงานยุติธรรม 2. ส่งเสริมการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน 3. สนับสนุน ส่งเสริม และบูรณาการการเสริมสร้างความยุติธรรมทางสังคม ตัวชี้วัด 1. ระดับความสำเร็จของความร่วมมือและข้อตกลงด้านงานยุติธรรมที่ดำเนินการ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. ระดับความสำเร็จของกฎหมายที่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน และเอื้อต่อการปฏิบัติงาน 3. ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์กระทรวงยุติธรรม จังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2552-2555 4. จำนวนประชาชนได้รับการช่วยเหลือด้านกฎหมาย 5. ร้อยละของจำนวนประชาชนผู้รับบริการในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความเชื่อมั่น ต่อกระทรวงยุติธรรม 6. บุคลากรในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อการสนับสนุนภารกิจ กระทรวงยุติธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบงานยุติธรรมทางเลือกและเสริมสร้าง ความสมานฉันท์ในสังคมไทย เป้าหมาย (การให้บริการ) มีกระบวนการสันติวิธีและการบริหารจัดการยุทธศาสตร์การเสริมสร้างสันติวัฒนธรรม วัตถุประสงค์ (กลยุทธ์) 1. พัฒนากระบวนการยุติธรรมทางเลือกและจัดการความขัดแย้ง 2. พัฒนากลไกและการมีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ ตัวชี้วัด 1. ระดับความสำเร็จในการพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางเลือก 2. ร้อยละของจำนวนเรื่องที่นำกระบวนการยุติธรรมทางเลือกและการจัดการความขัดแย้ง มาใช้แล้วบรรลุผลสำเร็จ 3. จำนวนองค์กร/หน่วยงานที่มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ 4. ระดับความสำเร็จของการพัฒนากลไกในการสร้างความสมานฉันท์