สรุปสาระสำคัญจากหนังสือ มุมมองจากประสบการณ์ บุญคลี ปลั่งศิริ CEO : Shin Corporation
มุมมองด้านการบริหาร สิ่งที่ “CEO” ต้องมี 1. รู้จักธุรกิจอย่างดี ต้องบอกรายได้ รายจ่าย โครงสร้างของธุรกิจทั้งหมดได้ 2. มีความรู้ด้านการเงิน 3. สร้าง Teamwork ได้ ซึ่งคำว่า Teamwork หมายถึง “Team” กับ “Work” ไม่ใช่ “พรรคพวก” 4. มีความเร็ว “ถ้าผมไม่ใส่สปีด 100 ข้างล่างจะได้ไม่ถึง 50 ถ้าผมสปีดแค่ 50 ข้างล่างก็จะได้แค่ 30” 5. ต้องมี EQ (วุฒิภาวะทางอารมณ์) เพราะไม่มีทางได้ทุกอย่างเต็มร้อย อาจได้แค่ 50-60% 6. ต้อง “คิด” และ “ตัดสินใจ” “ถ้ามีอะไรที่ต้องตัดสินใจ แล้วยังมีทางเลือกเดียว ผมจะยังไม่หยุดคิด เพราะทุกอย่างมีทางเลือกมากกว่าหนึ่งทางเสมอ” องค์กรต้องมีคน 2 พันธุ์ คือ พวกชอบคิด และพวกชอบทำ และองค์กรต้องให้ความสำคัญกับคน ทั้ง 2 ประเภทด้วยความเป็นธรรม เห็นคุณค่าเท่ากัน “ผมจะชอบมากเวลาที่ลูกน้องเรียนรู้ได้เร็ว โดยเฉพาะการเรียนรู้อะไรที่ไม่ได้อยู่ในสายงานของตัวเอง ความเร็วในการเรียนรู้ เป็น “ตัววัด” ที่สำคัญว่าคนนั้นจะเติบโตในองค์กรได้หรือไม่” “ผู้บริหารต้องตื่นกลัว ต้อง “พารานอยด์” ถ้าไม่มีตรงนี้ เราจะอยู่ใน Economy of Speed ลำบาก” องค์กรที่มีความสุขกับการเติบโต จะไม่ค่อย Sensitive กับต้นทุน แต่ไม่เกิน 2 ปี จะถูกบีบด้วยต้นทุน แรงมาก
มุมมองด้านการบริหาร การเปลี่ยนแปลงในองค์กร ต้องเริ่มที่โครงสร้าง (Rock the boat) เพราะเป็นสิ่งที่จับต้องได้ ถ้า ทำตามตำราด้วยการใช้วิธีเขียน Vision แล้วค่อยไปทำรายละเอียดเพื่อกำหนดทิศทาง แล้ว ถ่ายทอดให้พนักงาน จะเปลี่ยนแปลงได้ช้า ถ้าไม่มีการวัดผล ก็จะไม่มีการจัดการ การทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ต้องทำให้เกิด Dissatisfaction คือ ต้องไม่พอใจสิ่งใดนาน ๆ
มุมมองด้านการตลาด / การขาย “เราอยากให้ Call Center ของ AIS เป็นอะไรที่โทรเข้ามาแล้ว เขาได้มากกว่าบริการที่เรามีอยู่ ได้มากกว่าสิ่งที่เขาคาดคิด ถ้าเราสร้าง Surprise ให้เขาได้ ก็จะเกิดความประทับใจตามมา” “ถ้าท่านอยู่ในองค์กรใด และคิดว่าเราอยู่ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลง ผมขอเตือนว่าท่านกำลัง เชื้อเชิญคู่แข่งให้เข้ามา” กลยุทธ์ที่ดีต้องเป็นสิ่งที่คู่แข่งไม่สามารถตามทันได้ระยะเวลาอันสั้น ยกตัวอย่างการแข่งขันที่ใช้ กลยุทธ์ด้านราคา คู่แข่งจะตามทันได้ภายในวันเดียว แต่ถ้าใช้ความพึงพอใจองลูกค้า คู่แข่งจะตาม ได้ยาก การใช้งบการตลาดแบบ Flexible Budget คือ จะไม่ดูตัวเลขว่าเป็นเท่าไร แต่ดูว่าต้องไม่เกิน 5% ของยอดขาย เป็นต้น ในการแข่งขันทางธุรกิจ เราต้องสร้างเกมใหม่ ๆ ขึ้นมา เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่เมื่อ 10 ปีก่อนจะ ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวนำ จากนั้นก็เปลี่ยนมาบอกว่ามีเครือข่ายคลอบคลุมทั่วประเทศ จากนั้นจึง หันมาเน้นในเรื่องคุณภาพ เป็นบริการต้องดี ต้องยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่พูดถึงเรื่องเครือข่ายอีกแล้ว
มุมมองด้านการตลาด / การขาย ทฤษฎีการทำธุรกิจ มีอยู่ 3 อย่าง คือ 1. ต้องเลือกระหว่าง Hi-end กับ Low-end อย่าทำ Low-end เพราะคิดว่าวันหนึ่งข้างหน้า จะเป็น Hi-end 2. อย่าทำธุรกิจที่ In – between คือ การวางตำแหน่งของเรา ต้องไม่อยู่ตรงกลาง ไม่ต่ำไปเลย ก็ต้องสูงเลย 3. ต้องลดราคาวันที่มันกำลังโต ถ้าลดราคาวันที่มันไม่โต ก็คือตาย
มุมมองด้านการบริหารงานบุคคล “ผมอยากเห็นคนได้ Bonus 1 เดือน กับ 8 เดือน ไม่ใช่มีแค่ 3 กับ 4 เดือน เพราะถ้ายังไม่มีน้อยสุด กับมากสุด แสดงให้เห็นว่าคุณยังไม่สามารถแยกแยะ Good กับ Excellent ได้ ถ้าคุณแยกไม่ได้ และไม่เห็นความแตกต่าง อย่าหวังว่าเขาจะพยายามทำจาก Good เป็น Excellent บริษัทก็จะเสีย เงิน Bonus ไปเปล่า ๆ “ “ธรรมชาติของคน ถ้าได้ Bonus 1 เดือนก็มีความสุขแล้วถ้าคนที่ไม่ทำงานไม่ได้อะไรเลย แต่ถึงแม้ได้ Bonus 5 เดือน ก็จะไม่มีความสุขอยู่ดี ถ้าคนไม่ทำงานได้ Bonus 4.5 เดือน” การสร้าง Learning Organization มี 3 เรื่อง คือ 1. การพยายาม Encourage ทุกคนให้แสดงหรือเสนอความเห็น ลดการ Discourage ลง แม้ลูกน้องพูดอะไรที่ไม่เข้าทาง 2. ต้อง Openness ต้องใจกว้างที่จะรับฟังความคิดเห็น แม้ตัดสินใจไปแล้ว ถ้ามีคนทักท้วง เห็นว่าไม่ดี ก็ต้องพร้อมแก้ไข 3. สนับสนุนการคิดสร้างสรรค์ “เชื่อหรือไม่ว่า เรื่องความคิดสร้างสรรค์ มักมาจากคนที่อยู่นอก สายงาน หรือ นอก Line” 4. ต้องเปิดโอกาสให้เขาได้ทำงาน (Empower)
มุมมองด้านการบริหารงานบุคคล “ผมทำงานมา 25 – 26 ปี พบว่ายิ่งต้องอ่านหนังสือมากขึ้นเรื่อย ๆ อ่านมากกว่าที่เคยเรียนใน มหาวิทยาลัยทั้งหมด และเป็นการอ่านโดยไม่มีอาจารย์สอนเลย” “ผมรู้สึกหงุดหงิดเวลาลูกน้องบ่นว่าบริษัทไม่เคยสอนเขา แสดงว่าเราต้องสอนก่อนจึงจะทำได้ ไม่ชอบเรียนรู้ด้วยตนเอง” ปัจจัยที่ส่งเสริมให้คนเรียนรู้ 1. แรงผลักดันในตัวเอง 2. ต้องถูกวัดและตรวจสอบ 3. เมื่อถูกวัด ก็ต้องมีแรงจูงใจ ซึ่งไม่ใช่เรื่องเงินอย่างเดียว แต่รวมถึงลาภ ยศ ขวัญกำลังใจ ถ้ายังลงโทษคนเลวไม่ได้ ต้องให้รางวัลคนดีไว้ก่อน ถ้าไม่ลงโทษคนเลว และไม่ให้รางวัลคนดี ด้วย คนดีจะหนีจากองค์กร
ข้อคิดจาก Peter Senge การลดค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาสถานภาพทางการเงิน โดยไม่ยอมกระทั่งการลงทุน ไม่ยอมพัฒนาบุคลากร ก็ทำให้บริษัทเดินต่อไปไม่ได้ อย่างนี้เรียกว่าสามารถ Financial Restructuring ได้ แต่ไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้