บทบาทของระบบสารสนเทศในองค์การ
องค์การ ความหมายเชิงเทคนิค หมายถึง โครงสร้างทางสังคมอย่างเป็นทางการที่มีความมั่นคง โดยรับเอาทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมมาผ่านกระบวนการเพื่อสร้างหรือผลิตผลลัพธ์ ทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อม Input กระบวนการผลิต (Production Process) ผลผลิต (Output)
องค์การ ความหมายเชิงพฤติกรรม หมายถึง เป็นที่รวมของสิทธิ เอกสิทธิ์ ภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบ ซึ่งตั้งอยู่บนความสมดุลที่มีความละเอียดอ่อน ผ่านช่วงเวลาอันยาวนานของการขัดแย้งและการแก้ปัญหา บุคลากรในองค์การจะพัฒนาวิธีการทำงานของตน มีรูปแบบความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ ทั้งผู้ร่วมงานและผู้ที่อยู่ในระดับสูงกว่าเกี่ยวกับการทำงาน ปริมาณงาน และเงื่อนไขในการทำงาน
ความสัมพันธ์ระหว่างระบบสารสนเทศกับองค์การ เปลี่ยนแปลงกระบวนการที่นำทรัพยากรมาเปลี่ยนเป็นผลผลิต เกิดการเปลี่ยนแปลงในความเป็นเจ้าของ สิทธิในการใช้ข้อมูล อำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบที่มีมาเป็นระยะเวลานาน
ผลกระทบของระบบสารสนเทศต่อองค์การ ลดขั้นตอนของการจัดการ มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน ลดขั้นตอนการดำเนินงาน เปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดการ กำหนดขอบเขตการดำเนินงานใหม่
องค์การดิจิทัลและองค์การแบบเครือข่าย ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เป็นส่วนหนึ่งของระบบสารสนเทศ ส่งเสริมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการสร้างช่องทางการตลาด การขาย และการให้การสนับสนุนลูกค้า
ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ ระดับวางแผนกลยุทธ์ ผู้บริหารระดับสูง ระดับบริหารจัดการ ผู้บริหารระดับกลาง ระดับควบคุมการปฏิบัติงาน ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ ระดับปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงาน
ประเภทของระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศจำแนกตามประเภทธุรกิจ เช่น ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล ระบบสารสนเทศบริหารโรงแรม ระบบสารสนเทศธนาคาร เป็นต้น ระบบสารสนเทศจำแนกตามหน้าที่ของงาน เช่น ระบบสารสนเทศการตลาด ระบบสารสนเทศบัญชี ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ระบบสารสนเทศห้องสมุด เป็นต้น ระบบสารสนเทศจำแนกตามลักษณะการดำเนินงาน เช่น ระบบประมวลผลธุรกรรม ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร ระบบสารสนเทศสำนักงาน เป็นต้น
ระบบประมวลผลธุรกรรม ทำหน้าที่รวบรวม บันทึกข้อมูลในแฟ้มข้อมูล หรือฐานข้อมูล และประมวลผลข้อมูลที่เกิดจากการทำธุรกรรมและการปฏิบัติงานประจำ ลักษณะการประมวลผล มี 2 ประเภท คือ การประมวลผลแบบกลุ่ม เป็นการประมวลผลที่ข้อมูลจะถูกรวบรวมและสะสมไว้ระหว่างช่วงเวลาที่กำหนด แล้วจึงจะประมวลผลรวมกันเป็นครั้งเดียว การประมวลผลแบบทันที เป็นการประมวลผลแต่ละรายการและให้ผลลัพธ์ทันทีเมื่อมีการป้อนข้อมูลเข้าระบบ
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) ประมวลผลและสรุปผลจากแฟ้มข้อมูลของการทำธุรกรรม เพื่อจัดทำสารสนเทศตามความต้องการของผู้บริหารเพื่อใช้ในการ วางแผน ควบคุม กำกับดูแล สั่งการ และประกอบการตัดสินใจ มักเป็นรายงานสรุปค่าสถิติต่างๆ ที่ได้จากการดำเนินงาน แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ รายงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด รายงานสรุป รายงานที่จัดทำตามเงื่อนไขเฉพาะ รายงานที่จัดทำตามต้องการ
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ประมวลผลข้อมูลเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาและตัดสินใจเฉพาะกรณีที่ผู้บริหารต้องการ เป็นการเน้นการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้สารสนเทศเป็นพื้นฐาน เพื่อช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจการดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง
ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง เป็นสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้ม และการวางแผนกลยุทธ์ ระบบต้องมีความยืดหยุ่นสูง มีความรวดเร็ว
ระบบสารสนเทศสำนักงาน เป็นระบบสารสนเทศเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร ระบบสำนักงานอัตโนมัติ มี 5 ประเภท คือ ระบบจัดการเอกสาร ระบบการจัดการข่าวสาร ระบบการทำงานร่วมกัน/ประชุมทางไกล ระบบการประมวลภาพ และระบบจัดการสำนักงาน โปรแกรมพื้นฐาน เช่น โปรแกรมตารางคำนวณ โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมฐานข้อมูล โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ เป็นต้น
ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศสำนักงาน ระบบการประมวลผลธุรกรรม
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร ข้อมูลต่างๆ ที่ถูกวิเคราะห์แล้ว ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ข้อมูลต่างๆ ที่ถูกคัดกรองแล้ว ระบบ MIS ของแต่ละหน่วยงาน ฐานข้อมูลวิชาการ ฐานข้อมูลงานบุคคล ฐานข้อมูลบริหารโครงการ ฐานข้อมูลประชา สัมพันธ์ ฐานข้อมูลการเงิน ฐานข้อมูลเทคโนโลยี ฐานข้อมูลบริหารทั่วไป ฐานข้อมูลกฎหมาย