มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เอกสารประกอบการประชุมหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดเชียงใหม่ โครงการนำร่อง-การขยายผลสู่การเรียนรู้มลพิษทางอากาศและผลกระทบต่อสุขภาพ ในพื้นที่อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ความเป็นมา จากผลการดำเนินงานสัมมนา การขยายผลการวิจัยมลพิษทางอากาศและหมอกควัน ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย เมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา ณ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จ.เชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล เป็นประธาน ได้รับความสนใจจากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมสัมมนาเป็นจำนวนมาก ซึ่งทางอำเภอพร้าว นำโดย นายประกาศิต มหาสิงห์ ท่านนายอำเภอ ได้เสนอให้มีการจัดทำโครงการนำร่องในพื้นที่ของอำเภอพร้าว เพื่อให้เป็นอำเภอต้นแบบในการลดปัญหามลพิษ หมอกควันร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะทำงาน ที่ปรึกษาโครงการ คณะทำงานจากอำเภอพร้าว นายประกาศิต มหาสิงห์ นายแพทย์สมิต ศมพันธุ์พงศ์ นายอำเภอพร้าว ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพร้าว พ.ต.อ.ปิยะพันธ์ ภัทรพงศ์สินธุ์ นายชวลิต สาทช้าง ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรพร้าว สาธารณสุขอำเภอพร้าว คณะทำงานจากอำเภอพร้าว อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ภาคเอกชน ภาคประชาชน
คณะทำงานด้านวิชาการจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.ทิพวรรณ ประภามณฑล สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ (หัวหน้าคณะทำงาน) อ.ไพสิฐ พาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ ผศ.นพ.สมรัก รังคกูลนุวัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ ผศ.ดร.สมพร จันทระ คณะวิทยาศาสตร์
คณะทำงานด้านวิชาการจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผศ.สุชาติ เกียรติวัฒนเจริญ คณะเทคนิคการแพทย์ นางสาวธัญภรณ์ เกิดน้อย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ นายสุรัตน์ หงษ์สิบสอง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ นางอนงค์ศิลป์ ด่านไพบูลย์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่
“เมืองพร้าว-เมืองสงบ น่าอยู่ อากาศดี อาหารดี” วัตถุประสงค์ เพื่อขยายผลการเรียนรู้มลพิษทางอากาศและหมอกควันไปสู่ชุมชนในพื้นที่ต่างๆ ในอำเภอพร้าว เพื่อรณรงค์ให้อำเภอพร้าวมีคุณภาพอากาศดี ไม่มีมลพิษทางอากาศและหมอกควัน เป็นอำเภอต้นแบบ เพื่อใช้คุณภาพอากาศของอำเภอพร้าวเป็นตัวชี้วัดใน การส่งเสริมการท่องเที่ยวของอำเภอพร้าว “เมืองพร้าว-เมืองสงบ น่าอยู่ อากาศดี อาหารดี”
1. นำเสนอผลการวิจัยของอำเภอพร้าวสู่สาธารณะและชุมชน โดยมีช่องทาง ดังนี้ กิจกรรมที่สำคัญ 1. นำเสนอผลการวิจัยของอำเภอพร้าวสู่สาธารณะและชุมชน โดยมีช่องทาง ดังนี้ นำเสนอข้อมูลเป็นระยะ (ทุกเดือน) ในการประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำเดือน ให้ความรู้ อบรมผ่านกลุ่มอสม.เพื่อเผยแพร่ข้อมูลความรู้สู่หมู่บ้านต่างๆ ประสานงานกับสถาบันการศึกษา โรงเรียนในอำเภอพร้าว ในการร่วมมือร่วมใจรณรงค์ลดมลพิษฝุ่นและหมอกควัน 2. การติดตั้งเครื่องวัดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ แบบต่อเนื่อง (REAL TIME) ระยะเวลาดำเนินงาน 6 เดือน (มิถุนายน ถึง พฤศจิกายน 2554)
กิจกรรมในโครงการ ติดตั้งเครื่องวัดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ หน้าที่ทำการอำเภอพร้าว เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2554 เป็นต้นมา
กิจกรรมในโครงการ การติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์ รณรงค์อำเภอต้นแบบลดมลพิษฝุ่นควัน
มาตรฐานคุณภาพอากาศของประเทศไทย 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มาตรฐานคุณภาพอากาศองค์การอนามัยโลก 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
สิ่งที่ได้คาดว่าจะได้รับ (1) โครงการนี้ มีความโดดเด่น เพราะเกิดขึ้นจากความต้องการของชุมชน โดยนายอำเภอพร้าว (นายประกาศิต มหาสิงห์) เสนอตัวต่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อให้เข้าไปทำวิจัยร่วมกัน เพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควัน
สิ่งที่ได้คาดว่าจะได้รับ (2) เกิดความร่วมมือจากหลายภาคส่วน อาทิ สถานีตำรวจภูธรอำเภอพร้าว (พ.ต.อ.ปิยะพันธ์ ภัทรพงศ์สินธุ์) และโรงพยาบาลพร้าว (นายแพทย์สมิต ศมพันธุ์พงศ์ ) และขยายต่อไปยังหัวหน้าส่วนราชการท้องถิ่น และเอกชน เพื่อทำงานร่วมกันกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อพัฒนาต่อไปให้เมืองพร้าว เป็นเมืองต้นแบบของการลดมลพิษฝุ่นและหมอกควันอย่างยั่งยืน อำเภอพร้าวเป็น ... “เมืองพร้าว-เมืองสงบ น่าอยู่ อากาศดี อาหารดี”