ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( ASEAN Economic Community: AEC ) 1. เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม 2. สร้างเสริมขีดความสามารถแข่งขัน สินค้าเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี e-ASEAN (พาณิชย์อิเลคทรอนิกส์) AEC นโยบายภาษี ทำธุรกิจบริการได้อย่างเสรี นโยบายการแข่งขัน ลงทุนได้อย่างเสรี สิทธิทรัพย์สินทางปัญญา แรงงานมีฝีมือไปทำงานได้อย่างเสรี การคุ้มครองผู้บริโภค เงินทุนเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรีมากขึ้น ปี 2558 (2015) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค 4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก องค์ประกอบหลักของ AEC ตามเป้าหมายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งระบุไว้ในแถลงการณ์บาหลี ฉบับที่ 2 (Bali Concord II) คือ การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว โดยให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมืออย่างเสรี และเงินทุนที่เสรีขึ้น รวมทั้งส่งเสริมการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียน การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านนโยบายที่ช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค IPR พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน ขนส่ง ICT พลังงาน) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ให้ความสำคัญกับการลดช่องว่างการพัฒนาและส่งเสริมการรวมกลุ่มของประเทศสมาชิกใหม่ ได้แก่ CLMV ผ่านความร่วมมือภายใต้โครงการริเริ่มเพื่อการรวมกลุ่มของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration: IAI) ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนา SME ในภูมิภาค การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก โดยการจัดทำเขตการค้าเสรีของอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา และการสร้างเครือข่ายการผลิต/จำหน่ายในภูมิภาคเชื่อมโยงกับโลก ลดช่องว่างการพัฒนา ระหว่างสมาชิกเก่า-ใหม่ ทำ FTAs กับประเทศนอกอาเซียน ขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สนับสนุนการพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม SMEs
อาเซียนได้รับการอำนวยความสะดวกในการประกอบวิชาชีพมากขึ้น MRA ไม่ได้เป็นการเปิดตลาด แต่เป็นเพียงการอำนวยความสะดวกในขั้นตอนการขอใบอนุญาต โดยลดขั้นตอนการตรวจสอบ/รับรองวุฒิการศึกษาหรือความรู้ทางวิชาชีพ สาขาวิศวกรรม MRAs ข้อตกลงยอมรับร่วม นักวิชาชีพในอาเซียนสามารถจดทะเบียนหรือขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในประเทศอาเซียนอื่นได้ แต่ยังต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบภายในของประเทศนั้นๆ สาขานักสำรวจ* สาขานักบัญชี* สาขาแพทย์ สาขาสถาปัตยกรรม สาขาพยาบาล สาขาทันตแพทย์ 2 * ยังเป็นเพียง Framework หรือ หลักการกว้างๆ โดยต้องมีการเจรจาในรายละเอียดต่อไป 2 2 2
การดำเนินการของสภาวิชาชีพบัญชี คณะอนุกรรมการการศึกษาและติดตามผลกระทบของ AEC ต่อวิชาชีพบัญชี
ทำโดยอ้างอิง ASEAN Framework Agreement on Services AFAS กรอบข้อตกลงยอมรับร่วมในสาขาบัญชีของอาเซียน (ASEAN Mutual Recognition Arrangement Framework on Accountancy Services) ลงนาม กุมภาพันธ์ 2552 ทำโดยอ้างอิง ASEAN Framework Agreement on Services AFAS หลักการ คือ กำหนดแนวทางเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการเจรจา MRA ด้านบัญชีในอนาคตของอาเซียน ประกอบด้วยหลักเกณฑ์เรื่องการศึกษา การสอบ ประสบการณ์ กระบวนการให้การยอมรับ ระบบข้อมูลเอกสาร ระเบียบวินัยและหลักจริยธรรม มาตรฐานและแนวปฏิบัติสากล MRA จะต้องไม่ลดทอนสิทธิ อำนาจ หน้าที่ของสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศ ในการกำกับดูแลและออกกฎระเบียบ หรือกฎหมายภายใน แต่ต้องไม่สร้างอุปสรรคเกินจำเป็น
กรอบข้อตกลงยอมรับร่วมในสาขาบัญชีของอาเซียน (ASEAN Mutual Recognition Arrangement Framework on Accountancy Services) ลงนาม กุมภาพันธ์ 2552 การออกใบอนุญาตและการขึ้นทะเบียนของวิชาชีพบัญชีอาเซียนจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในของแต่ละประเทศ กรอบข้อตกลงได้กำหนดกรอบการดำเนินการและขอบเขตความรับผิดชอบของหน่วยงานที่รับผิดชอบสาขาบัญชี
กรอบข้อตกลงยอมรับร่วมในสาขาบัญชีของอาเซียน (ASEAN Mutual Recognition Arrangement Framework on Accountancy Services) ประโยชน์ที่จะได้รับ เป็นกรอบแนวทางเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าไปทำงานในวิชาชีพในอนาคต เมื่อสมาชิกอาเซียนทีมีความพร้อม ก็สามารถเข้าร่วมเจรจายอมรับคุณสมบัติของกันและกันได้ โดยใช้กรอบข้อตกลงนี้เป็นพื้นฐานในการเจรจา ในระหว่างที่ยังไม่พร้อม สามารถศึกษากรอบข้อตกลงนี้ไปก่อน ใช้เป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมทั้งในการส่งบุคลากรออกไปทำงานในประเทศอาเซียนอื่น และรับมือกับบุคลากรจากอาเซียนที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทย
ความคืบหน้าการเตรียมความพร้อมของประเทศสมาชิกสหพันธ์บัญชีอาเซียนต่อ AEC : ไทย สภาวิชาชีพบัญชี (FAP) ปรับเลขมาตรฐานบัญชีให้สอดคล้องกับ IFRS อยู่ระหว่างการนำมาตรฐานรายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ FAP ออกมาตรฐานรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อบรรเทาภาระกิจการที่ไม่พร้อมจะปฏิบัติตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน จัดทำแนวทางการปฏิบัติงานสอบบัญชี เพื่อให้พร้อมต่อการปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐานการสอบบัญชีฉบับใหม่ ซึ่งมีผลเมื่อ 1 มกราคม 2555
ผลกระทบจากการเปิดเสรี ผลทางบวก ผลทางลบ อัตราการจ้างแรงงานนักบัญชีและผู้สอบบัญชีไทยสูงขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีระบบสารสนเทศทางการบัญชี ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สอบบัญชีไทยอย่างต่อเนื่อง จำนวนผู้ให้บริการด้านวิชาชีพบัญชีสูงขึ้น ทำให้ไม่เป็นตลาดการแข่งขันของผู้เสนอบริการน้อยราย (Oligopoly) ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น ได้รับบริการที่มีคุณภาพดีขึ้นในอัตราค่าบริการที่ถูกลง สำนักงานบัญชีไทยอาจสูญเสียแรงงานให้กับสำนักงานต่างชาติ สำนักงานบัญชีไทยอาจไม่สามารถให้บริการที่หลากหลายและมีมาตรฐานระดับสากล เช่นเดียวกับสำนักงานบัญชีต่างชาติ สำนักงานบัญชีต่างชาติอาจมีการควบรวมกิจการมากขึ้นเพื่อขยายส่วนแบ่งทางการตลาด
การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี เพิ่มการลงทุนในด้านโปรแกรมบัญชี (Accounting Software) เพื่อใช้ในการจัดทำและสอบบัญชี อบรมและพัฒนาความรู้ความสามารถของผู้สอบบัญชีอย่างต่อเนื่อง เน้นการให้บริการที่มีลักษณะที่เป็นการเฉพาะมากขึ้น เช่น ให้บริการสอบบัญชีตามประเภทของธุรกิจหรืออุตสาหกรรม แข่งขันในด้านค่าธรรมเนียม โดยเสนอบริการที่ถูกกว่า สำหรับระดับการบริการที่มีคุณภาพทัดเทียมกันหรือดีกว่า ขยายขนาดของสำนักงาน โดยการควบรวมกิจการกับสำนักงานอื่นๆ เพื่อดึงดูดลูกค้าที่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่และบริษัทข้ามชาติ