การวัดและประเมินผลผู้เรียน
1. การประเมินผลตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีแนวปฏิบัติดังนี้ กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ (รายภาค/รายปี) โดยวิเคราะห์จากมาตรฐานการเรียนรู้ระดับช่วงชั้น กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่คาดหวัง/วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม โดยวิเคราะห์จากมาตรฐานการเรียนรู้รายภาค/รายปี
3. กำหนดเกณฑ์ตัดสินในการผ่านผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 4. กำหนดเกณฑ์การประเมินในการให้ระดับผลการเรียนรู้ 5. ประเมินผลระหว่างเรียน และตัดสินผลการเรียนรู้รายภาค/รายปี และประเมินสรุปผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระ (ผ่านช่วงชั้น)
แนวการประเมิน ต้องยึดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่คาดหวัง/วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมเป็นเป้าหมายในการประเมิน ประเมินผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย เน้นการประเมินตามสภาพจริง ตัดสินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยประมวลจากผลการประเมินระหว่างเรียน ผลงาน แบบทดสอบต่าง ๆ แล้วตัดสินตามเกณฑ์ที่กำหนด
4. รายงานผลการประเมินที่เป็นไปตามระเบียบของสถานศึกษา (เกรด) 5. ซ่อมเสริมผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ หรือเรียบซ้ำ 6. สถานศึกษาสะสมผลการเรียนแต่ละรายวิชา และอนุมัติผู้เรียนที่ผ่านตามเกณฑ์การจบช่วงชั้นให้ผ่านช่วงชั้น
2. การประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีแนวปฏิบัติดังนี้ กำหนดจุดประสงค์การเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กำหนดเกณฑ์ตัดสินการผ่านกิจกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนด ประเมินผลระหว่างร่วมกิจกรรม ตัดสินผลการผ่านกิจกรรมและสรุปผลการเรียน ซ่อมเสริมผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
มีแนวการประเมินดังนี้ สถานศึกษากำหนดจุดประสงค์ของแต่ละกิจกรรม และเกณฑ์การผ่านกิจกรรม อาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมเป็นผู้ประเมินและตัดสินผลเป็นรายกิจกรรม อาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมประเมินผู้เรียนระหว่างปฏิบัติกิจกรรมและสิ้นสุดกิจกรรม ด้วยเทคนิควิธีที่หลากหลาย
4. ประมวลผลการประเมินและตัดสินผลการผ่านกิจกรรมตามเกณฑ์ ซ่อมเสริมผู้เรียนที่ไม่ผ่านกิจกรรม จนกว่าจะผ่านเกณฑ์การประเมิน สถานศึกษาสะสมผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อการอนุมัติให้ผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินได้ผ่านช่วงชั้น
3. การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีแนวปฏิบัติดังนี้ กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา กำหนดแนวทางการประเมินและเกณฑ์การประเมินแต่ละคุณลักษณะ ดำเนินการปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ ดำเนินการประเมินผลผู้เรียนอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ สรุปผลการประเมินผู้เรียนที่มีพัฒนาการคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ดีขึ้น และให้ผ่านเกณฑ์การผ่านช่วงชั้น ผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ เข้ารับการอบรม หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ จนผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ มีแนวปฏิบัติดังนี้ กำหนดมาตรฐานการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความของสถานศึกษา กำหนดเกณฑ์การประเมิน กำหนดวิธีการประเมิน ดำเนินการประเมินตามแนวทางที่กำหนด สรุปผลการประเมินตามเกณฑ์ และตัดสินการผ่านช่วงชั้น ซ่อมเสริมผู้ไม่ผ่านเกณฑ์ จึงจะได้รับอนุมัติผ่านช่วงชั้น
การประเมินในชั้นเรียน ประเมิน 3 ระยะคือ ประเมินผลก่อนสอน ตรวจสอบภาวะความพร้อม ความรู้พื้นฐานของผู้เรียน หรือตรวจสอบความรู้ที่จำเป็นก่อนเริ่มเรียนรู้เนื้อหาใหม่ เช่น การสอบคัดเลือก การสอบเพื่อปรับพื้นฐาน การวัดความพร้อม เป็นต้น ประเมินผลระหว่างสอน เป็นการวัดและประเมินเมื่อผู้เรียนเรียนจบในแต่ละเนื้อหา หรือแต่ละบท เพื่อสำรวจความรู้ว่าเรียนรู้ไปได้มากน้อยเพียงใด เพื่อการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องก่อนจะจบภาค
3. ประเมินผลหลังสอน เป็นการวัดและประเมินหลังสิ้นสุดการสอนในแต่ละรายวิชา เป็นการประเมินผลรวมของทั้งรายวิชา ว่าได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ของแต่ละกลุ่มสาระหรือไม่
โดยปกติการประเมินชั้นเรียน ครูผู้สอนจะประเมิน ความรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ