การพัฒนาคุณภาพบริการ การดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ การพัฒนาคุณภาพบริการ การดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง จ.นครศรีธรรมราช นัยนาท บุญยัง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
สรุปปัญหาและสาเหตุโดยย่อ จากการทบทวนข้อมูลในโปรแกรม HIVQUAL-T พบว่า CD4 และ VL ยังมีผลที่ต่ำกว่ามาตรฐาน วิเคราะห์สาเหตุพบว่าการซักประวัติผู้ป่วยไม่ได้ประวัติครอบคลุมตามตัวชี้วัดหลักของ HIVQUAL-T และไม่เป็นไปในแนวเดียวกัน ทางทีมสหวิชาชีพจึงได้ร่วมกันคิดออกแบบแผ่นต่อ OPD CARD ขึ้นมาใหม่ โดยให้ซักประวัติตามแบบในแผ่นต่อซึ่งจะได้ประวัติในแนวเดียวกัน ผลการตรวจ CD4 , VL ที่ผ่านมาก็จะอยู่ใน OPD CARD แยกตามวันที่ตรวจ ทำให้ย้อนไปดูยาก ทั้งแพทย์ พยาบาล และตัวผู้ป่วยเอง ทำให้การนัดเจาะเลือดตามแผนไม่ครอบคลุม ทางทีมก็ได้ร่วมกันคิดออกแบบ กราฟ ใส่ไว้ด้านหลังของบัตรผู้ป่วย เพื่อทำให้ดูง่าย ผู้ป่วยดูกราฟแล้วเกิดความตระหนักในการดูแลตนเอง และมาเจาะเลือดตามนัดมากขึ้น
เป้าหมาย 1.ตัวชี้วัดหลัก HIVQUAL-T มีผลความครอบคลุมเพิ่มมากขึ้น ตัวชี้วัดที่เป็นปัญหาได้แก่ ร้อยละของผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อ ที่ได้รับยาต้านไวรัส ได้รับการประเมินหรือติดตาม Drug Adherence อย่างสม่ำเสมอ ร้อยละของผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อ ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละของผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อ ได้รับข้อมูลคำแนะนำเรื่องการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
เป้าหมาย 2.เพิ่มความครอบคลุมในการเจาะ CD4 , VL
การเปลี่ยนแปลง และปรับปรุง ประชุมทีมสหวิชาชีพ
การเปลี่ยนแปลง และปรับปรุง ด้านผู้ให้บริการ มีการซักประวัติผู้ป่วยเป็นไปในแนวเดียวกัน ละเอียดครอบคลุมตามมาตรฐานที่ผู้ป่วยควรได้รับ
การเปลี่ยนแปลง และปรับปรุง ด้านผู้รับบริการ สะดวกในการดูผลค่า CD4และVL ของตนเอง ทำให้มีความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเองมากยิ่งขึ้น ผู้ป่วยสามารถมีการปฏิบัติตัวดีขึ้นเมื่อเห็นผลแนวโน้มของ CD4, VL ของตนเองแย่ลง ผู้ป่วยทราบแผนการเจาะเลือดครั้งต่อไปตามเดือนที่เขียนไว้ล่วงหน้าในกราฟ
การเปลี่ยนแปลง และปรับปรุง
ผลลัพธ์ ตัวชี้วัดที่เป็นปัญหามีค่าเพิ่มขึ้น จากการใช้แบบซักประวัติที่ได้พัฒนาขึ้น ตัวชี้วัด 53 54 55 ร้อยละของผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อ ที่ได้รับยาต้านไวรัส ได้รับการประเมินหรือติดตาม Drug Adherence อย่างสม่ำเสมอ 88 94 96 ร้อยละของผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อ ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 33 57 70 ร้อยละของผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อ ได้รับข้อมูลคำแนะนำเรื่องการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย 97 99.05 99.07
ผลลัพธ์ แผนภูมิที่ 1 แสดงร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจ CD4 ทุก 6 เดือน (มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น)
ผลลัพธ์ แผนภูมิที่ 2 แสดงร้อยละของผู้ป่วยที่ได้ยาต้านไวรัส ได้รับการตรวจ VL 1 ครั้งในปี (มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น)
บทเรียนที่ได้รับ การพัฒนาคุณภาพบริการ การดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ทีมผู้ดูแลผู้ป่วย ต้องทำงานเป็นทีม ร่วมกันวิเคราะห์แก้ไขปรับปรุงจะนำมาซึ่งการพัฒนาอย่างเป็นระบบ และตัวผู้ป่วยเองต้องมีส่วนร่วมในการดูแลตนเอง จึงจะสามารถพัฒนางานให้ยั่งยืนตลอดไปได้