นักเรียนช่วงชั้นที่ 2 (ป.4-6) เครื่องหมายวรรคตอน สำหรับ นักเรียนช่วงชั้นที่ 2 (ป.4-6) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ..อรัญญา บุญเลิศ..
คุยกันก่อน เครื่องหมายวรรคตอน เป็น เครื่องหมายต่างๆ ที่ใช้กำกับคำหรือข้อความเพื่อให้ข้อความนั้นมีความชัดเจนและถูกต้องยิ่งขึ้น ในฐานะที่เราเป็นคนใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร จึงควรอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อการสื่อสารที่ถูกต้องและเหมาะสม นักเรียนควรตั้งใจและมีสมาธิ ในการศึกษาสื่อ E-book เรื่องนี้ เพื่อตัวนักเรียนเอง เชื่อครูแล้ว จะได้เป็นคนเก่ง งัยจ๊ะ
เครื่องหมายวรรคตอน
เป็น เครื่องหมายต่างๆ ที่ใช้กำกับคำหรือข้อความ ความหมาย เครื่องหมายวรรคตอน เป็น เครื่องหมายต่างๆ ที่ใช้กำกับคำหรือข้อความ เพื่อให้ข้อความนั้นมีความชัดเจน และถูกต้องยิ่งขึ้น
เครื่องหมายวรรคตอนที่ควรรู้
1. . มหัพภาค * ใช้เพื่อแสดงว่าจบประโยคหรือจบความ (มักใช้ในภาษาต่างประเทศ) เช่น I love you. ใช้เขียนไว้หลังตัวอักษรเพื่อแสดงว่าเป็นอักษรย่อ เช่น พ.ศ. ร.ร. ใช้เขียนหลังตัวเลขหรือตัวอักษรที่บอกลำดับข้อ เช่น ข้อ ๑. ข้อ ก. ใช้คั่นระหว่างชั่วโมงกับนาทีเพื่อบอกเวลา เช่น ๑๐.๑๕ น. ใช้เป็นจุดทศนิยม หลังจุดทศนิยมให้อ่านตัวเลขเรียงกันไป เช่น ๑.๒๓ อ่านว่า หนึ่งจุดสองสาม ๘.๕๐ บ. อ่านว่า แปดบาทห้าสิบสตางค์
* ใช้เพื่อแสดงว่าจบประโยคหรือจบความ (มักใช้ในภาษาต่างประเทศ) เช่น I love you. ใช้เขียนไว้หลังตัวอักษรเพื่อแสดงว่าเป็นอักษรย่อ เช่น พ.ศ. ร.ร. ใช้เขียนหลังตัวเลขหรือตัวอักษรที่บอกลำดับข้อ เช่น ข้อ ๑. ข้อ ก. ใช้คั่นระหว่างชั่วโมงกับนาทีเพื่อบอกเวลา เช่น ๑๐.๑๕ น. ใช้เป็นจุดทศนิยม หลังจุดทศนิยมให้อ่านตัวเลขเรียงกันไป เช่น ๑.๒๓ อ่านว่า หนึ่งจุดสองสาม ๘.๕๐ บ. อ่านว่า แปดบาทห้าสิบสตางค์
2. ! อัศเจรีย์ ใช้เขียนหลังคำ วลี หรือประโยคที่เป็นคำอุทาน แสดงความตกใจ หรือประหลาดใจ ดีใจ เช่น อุ๊ย ! ไม่น่าเชื่อเลย โถ ! น่าสงสารจริง ใช้เขียนหลังคำเลียนเสียงธรรมชาติ เพื่อให้สามารถทำเสียงได้เหมาะสมกับเหตุการณ์เรื่องนั้นๆ เช่น โครม! เปรี้ยง!
3. ( ) นขลิขิต หรือ วงเล็บ มีหลักเกณฑ์การใช้ ดังนี้ ใช้กันข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น เช่น เจ้าพระยาพระคลัง(หน) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)