การค้ามนุษย์
การค้ามนุษย์ หมายถึง การจัดหา การขนส่ง การส่งต่อ การจัดให้อยู่อาศัย หรือการรับไว้ซึ่งบุคคลด้วยวิธีการขู่เข็ญ หรือด้วยการใช้กำลัง หรือด้วยการบีบบังคับในรูปแบบอื่นใด ด้วยการลักพาตัว ด้วยการฉ้อโกง ด้วยการหลอกลวง ด้วยการใช้อำนาจโดยมิชอบ หรือด้วยการใช้สถานะความเสี่ยงภัยจากการค้ามนุษย์โดยมิชอบ หรือมีการให้ หรือรับเงินหรือผลประโยชน์ เพื่อให้ได้มาซึ่งความยินยอมของบุคคลผู้มีอำนาจควบคุมบุคคลอื่น
“ธุรกิจการค้ามนุษย์” ใช้แรงาน “ขอทาน” ขายบริการ
สภาพปัญหา ในปัจจุบันปัญหาการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะต่อกลุ่มเด็กและหญิง เป็นปัญหาระดับโลกและได้แพร่ขยายมากขึ้น ซึ่งในระยะแรก ๆ มุ่งไปที่การเอารัดเอาเปรียบทางเพศและการล่วงละเมิด ทางเพศที่มีต่อเด็กโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับธุรกิจบริการทางเพศ ต่อมาปัญหาได้ขยายตัวเป็นการใช้แรงงานรูปแบบอื่น ๆ ที่เป็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน การบังคับขู่เข็ญ การทำร้ายร่างกายจิตใจ การทำให้เสียอิสรภาพและศักดิ์ศรีของการเป็นมนุษย์ ลักษณะเหล่านี้ถือเป็นการ “ค้าทาส” ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งในระดับนานาชาติ ระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น
ผลกระทบ การค้ามนุษย์ ส่งผลกระทบต่อประเทศทุกประเทศในโลกมิใช่ส่งผลกระทบเฉพาะแต่กับประเทศที่กำลังพัฒนาตามความเชื่อดั้งเดิมเท่านั้น และยังไม่มีประเทศใดที่จะหลุดพ้นจากผลกระทบนี้ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของการค้ามนุษย์ในประเทศนั้นๆ บางประเทศได้กลายเป็นประเทศต้นทางของการค้ามนุษย์ ในขณะที่ประเทศอื่นๆ อาจเป็นประเทศปลายทาง หรือประเทศทางผ่าน ทั้งนี้มีความเป็นไปได้ว่าหลายๆ ประเทศจะอยู่ในสถานะทั้งสาม
แนวทางการแก้ไข จัดบริการทางสังคมอย่างทั่วถึงและมีมาตรฐาน ส่งเสริมบริการด้านการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย การขจัดความยากจน การส่งเสริมการประกอบอาชีพต่างๆ รวมทั้งอาชีพอิสระ รณรงค์/ประชาสัมพันธ์ ก. ดำเนินการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งตีพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งผลิตสื่อเพื่อเด็กและสตรี เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่อง สิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก สิทธิสตรี กฎหมายที่เกี่ยวข้องและสถานการณ์ความรุนแรงของปัญหาการค้ามนุษย์แก่สาธารณชนผู้บริหารระดับสูง เด็ก ครอบครัว
แนวทางการแก้ไข ข. จัดอบรมให้ความรู้และทักษะแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ครู นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยาเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง พนักงานอัยการ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่องค์กร เอกชนสื่อมวลชน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องรวมถึงครอบครัวและชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปลูกฝัง เจตคติและค่านิยมที่เหมาะสมในการปฏิบัติต่อผู้เป็นเด็กและสตรี โดยเฉพาะ อย่างยิ่งผู้ตกเป็นเหยื่อ
แนวทางการแก้ไข ค. สร้างความตระหนัก สร้างจิตสำนึกและการปรับเปลี่ยนค่านิยมและเจตคติ โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลความรุนแรงของสถานการณ์และสภาพปัญหาของการค้าเด็กและหญิง รวมทั้งข้อมูลด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กฎหมายระหว่างประเทศ อนุสัญญา ปฏิญญาและพิธีสาร ให้แก่กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ได้แก่ เด็ก สตรี ครอบครัว ชุมชน และเจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขยายเครือข่ายไปยังประเทศที่มีปัญหาร่วมกัน
แนวทางการแก้ไข ดำเนินมาตรการทางสังคมเพื่อเสริมสร้างและส่งเสริมค่านิยม เจตคติ ศีลธรรม คุณธรรมจริยธรรม และทักษะชีวิต โดยให้ทุกสถาบันในสังคมเข้ามามีบทบาท เช่น สถาบันศาสนาสถาบันการศึกษาและสถาบันครอบครัว เป็นต้น สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัว ชุมชน และองค์กรชุมชน โดยให้ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาในลักษณะเวทีของประชาชน และการวางแผนชุมชน รวมทั้งเพิ่มศักยภาพในด้านเทคโนโลยี ด้านกฎหมาย ให้กับองค์กรท้องถิ่น
จัดทำโดย นางสาวอารีรัตน์ บัวหลวง รหัส 50111421 หมู่เรียน คพ50.ค5.1 คณะครุศาสตร์ สาขา คอมพิวเตอร์ศึกษา