โดย ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ Human Resource Management โดย ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ ที่มา ธีระ รามสูตร. การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล, 2549.
ความสำคัญของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ บุคลากรเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและราคาแพงที่สุด เป็นทุนมนุษย์และทุนทางสติปัญญา เป็นเสมือนหัวใจของการทำงาน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นกุญแจสำคัญ ต่อความสามารถที่จะบรรลุความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ และเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ขององค์กร
องค์กรและบุคลากรแบบใหม่ การเปลี่ยนแปลงจากกระแสโลกาภิวัตน์ (เทคโนโลยี สารสนเทศ การสื่อสาร คอมพิวเตอร์) ส่งผลให้ องค์กรควรปรับให้มีขนาดเล็ก แบนราบ เรียบง่าย บุคลากรต้องมีความสามารถเชิงสมรรถนะ (Competencies) เป็นองค์กรและบุคลากรแห่งการเรียนรู้ (Learning Workers/Learning Organization)
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยยึดหลักระบบคุณธรรม (Merit System) ประกอบด้วย หลักความสามารถ (Competency) หลักความเสมอภาคในโอกาส (Equality) หลักความมั่นคงในอาชีพการงาน (Security) หลักความเป็นกลาง (Neutrality)
ภารกิจหลักของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 1. การวางแผน ความต้องการทั้งจำนวนและทักษะของบุคคลแต่ละประเภท การวิเคราะห์งาน วางแผนอัตรากำลังคนให้เหมาะสมกับงานเพื่อให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ 2. การสรรหา เช่น การคัดเลือก การสอบแข่งขัน 3. การใช้ประโยชน์ การใช้คนให้ดีและมีหลักการ (Put the Right Man on the Right Job at the Right Time)
ภารกิจหลักของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (ต่อ) 4. การพัฒนา เช่น การสอนงาน การให้การศึกษา การฝึกอบรม เพื่อให้บุคลากรได้มีความรู้ และทักษะ สามารถทำงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development : HRD) แบ่งเป็น - การพัฒนารายบุคคล (Individual Development) เพื่อเพิ่มความรู้และทักษะในการทำงาน - การพัฒนาอาชีพ (Career Development) วิเคราะห์ความจำเป็นรายบุคคลในส่วนของ ความสนใจ ความสามารถ เพื่อนำไปวางแผนในอนาคต - การบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) เพื่อปรับปรุงผลงานขององค์การ - การพัฒนาองค์กร (Organization Development) เพื่อการแก้ไขปัญหาขององค์กร การสร้างวัฒนธรรมองค์กร การสร้างภาวะผู้นำ 5. การรักษา การรักษาคนดี คนเก่งให้อยู่กับองค์กรนานๆ โดยการสร้างแรงจูงใจตอบสนองความปราถนาของบุคลากรในองค์กร ได้แก่ ความต้องการงาน/อาชีพที่มั่นคง มีผู้บังคับบัญชาที่มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม มีเพื่อนร่วมงานที่เป็นมิตร/ร่วมมือ ได้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม มีโอกาสเจริญก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ มีบรรยากาศที่ทำงานที่ดีน่าทำงาน