ตอนที่ 2 ตัวอย่างคำวินิจฉัยร้องทุกข์ ของ ก.พ.ค. ตอนที่ 2 ตัวอย่างคำวินิจฉัยร้องทุกข์ ของ ก.พ.ค. โดย ดร.จรวยพร ธรณินทร์ กรรมการ ก.พ.ค. วันอังคารที่ 9 สิงหาคม 2554 เวลา 13.30 - 16.00 น.
ลักษณะเรื่องร้องทุกข์ที่ ก.พ.ค.วินิจฉัยแล้ว 7. เรื่องร้องทุกข์ที่ฟังขึ้นโดยยกเลิกคำสั่งที่ทำให้ความคับข้องใจ 8. เรื่องร้องทุกข์ที่ฟังไม่ขึ้น 9. เรื่องร้องทุกข์ที่ขอให้มีการเยียวยา 10. เรื่องร้องทุกข์ที่ ก.พ.ค.สั่งไม่รับไว้พิจารณา เช่นร้องทุกข์ผิดที่, ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือน,ไม่ได้เกิดจากผู้บังคับบัญชา, บัตรสนเท่ห์, ร้องทุกข์ซ้ำ 11
7. ร้องทุกข์ที่ฟังขึ้นโดยยกเลิกคำสั่งที่ทำให้คับข้องใจ กรณีที่ ๒๒ แต่งตั้งอธิบดีไม่เป็นไปตามระบบคุณธรรม กระทรวงคัดเลือกผู้อำนวยการสำนัก ให้เป็นอธิบดี ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามหนังสือ ก.พ. ว ๑๐/ปี ๒๕๕๑ โดย ผอ.สำนักผู้นี้ ยังไม่เคยดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น มาก่อน จึงไม่มีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ที่จะแต่งตั้งให้ ดำรง ตำแหน่งอธิบดีได้ จึงเป็นการดำเนินการที่มิชอบด้วยกฎหมาย วินิจฉัยให้ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งอธิบดี โดยให้ไปดำเนิน การคัดเลือกใหม่ให้ถูกต้อง 2
7.ร้องทุกข์ที่ฟังขึ้นช่วยลดความคับข้องใจ กรณีที่ ๒๓. ให้ยกเลิกและให้คัดเลือกนายแพทย์ ๙ วช.ใหม่ ให้ยุติธรรมและชอบตามกฎหมาย ไม่มีหลักฐานว่า อ.ก.พ.กรม พิจารณาคัดเลือกตามองค์ประกอบที่กรมกำหนดไว้ วินิจฉัยให้ยกเลิกคำสั่งของปลัดกระทรวงที่เห็นชอบให้นายแพทย์อีกคนหนึ่งเป็นผู้เข้ารับการประเมิน ยกคำร้องทุกข์ตามคำขอ คือ ขอให้มีคำสั่งให้ผู้ร้องทุกข์เป็นผู้ได้รับการคัดเลือก สั่งให้กรมกำหนดหลักเกณฑ์ให้ชัดเจน แจ้งข้าราชการทุกคนทราบ ให้คัดเลือกใหม่ 3
7. ร้องทุกข์ที่ฟังขึ้นและช่วยลดความคับข้องใจ กรณีที่ ๒๔ ให้ยกเลิกคำสั่งผู้อื่นรักษาราชการแทน ผอ.สำนัก โดยที่ผู้นั้นยังทำงานได้ อุทธรณ์ว่าปลัดกระทรวงฯสั่งให้ไปทำหน้าที่ ผู้ช่วย ผตร.อีกหน้าที่หนึ่ง และให้ผู้อื่นมา รก.ผอ.สำนัก โดยที่ตนเองยังทำงานได้และได้รับเงินประจำตำแหน่ง ม.๔๗ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ๒๕๓๔ ในกรณีที่มี ผู้ดำรงตำแหน่งเลขาฯกรม ตาม ม.๓๓ วรรคหนึ่ง หรือหัวหน้าส่วนราชการตาม ม.๓๓ วรรคสอง หรือมี แต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้แต่งตั้งผู้รก. วินิจฉัย ให้ยกเลิกคำสั่งการรักษาการ และให้ผู้ รก.รายงานผลช่วงที่ปฏิบัติงาน ให้ผอ.สำนักตัวจริงได้ทราบด้วย 4
7. ร้องทุกข์ที่ฟังขึ้นช่วยลดความคับข้องใจ กรณีที่ ๒๕. ออกคำสั่งโดยอาศัยอำนาจโดยชอบ แต่ใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ (๑) ปลัดฯไม่แต่งตั้งให้ รก.แทน ผอ.ศูนย์เทคโนฯ ทั้งที่ประสบการณ์และคุณสมบัติงานเทคโนฯ สูงกว่าผู้ รก. ๕คน และ (๒) ยังสั่งให้นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ มาปฏิบัติหน้าที่ หน.กลุ่มฯ ทั้งที่ตนเองยังเป็น หน.กลุ่มฯ วินิจฉัยว่าแต่งตั้ง ซ้ำซ้อนและไม่เป็นไปตามระบบคุณธรรมตามมาตรา ๔๒(๒) แห่งพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ คำร้องทุกข์ฟังขึ้น และ ให้ยกเลิกทั้งสองคำสั่ง และดำเนินการให้ถูกต้อง 5
7. ร้องทุกข์ที่ฟังขึ้นและช่วยลดความคับข้องใจ กรณีที่ ๒๖ สั่งยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งรองอธิบดี ๔ กรม ๗ อัตรา ของ กระทรวงแรงงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (1) ไม่ปรากฏหลักฐานว่าคณะกรรมการคัดเลือกได้ประชุมเพื่อพิจารณาการจัดทำเกณฑ์เพื่อออกประกาศ (2) มีหัวหน้าส่วนราชการ 3 กรม ไปช่วยให้คะแนนของกรมอื่น ที่มิใช่ตำแหน่งว่างของส่วนราชการนั้น (3) หลักเกณฑ์ ก.พ.ให้เสนอชื่อไม่เกิน 3 ชื่อต่อ 1 ตำแหน่ง แต่ว่าง 2 ตำแหน่ง กลับเสนอ 6 ชื่อ รวมทั้งไม่ระบุเหตุผล วินิจฉัยไม่เป็นไปตามรูปแบบขั้นตอนและวิธีการอันเป็นสาระสำคัญ ให้ยกเลิกแล้วไปคัดเลือกใหม่ 6
๗. ร้องทุกข์ฟังขึ้นและช่วยลดความคับข้องใจ กรณีที่ ๒๗ ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งนายอำเภออำนวยการระดับสูง ๔๑ ตำแหน่ง เนื่องจากคัดเลือกไม่ชอบ คณะกรรมการคัดเลือกกระทรวงมอบคณะกรรมการกรมดำเนินการจัดทำหลักเกณฑ์โดยไม่ประชุมเห็นชอบ กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการกรมฯซึ่งเป็นผู้เข้ารับคัดเลือกด้วย ไม่ได้ดำเนินการตาม ม.๑๔, ๑๕ และ ๑๖ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการฯ พ.ศ. ๒๕๓๙ จึงขัดต่อกฎหมายในเรื่องความเป็นกลาง ก.พ.ค. วินิจฉัยให้ปลัดฯยกเลิกคำสั่งที่ ๒๘/๒๕๕๓ และคัดเลือกใหม่ให้ถูกต้องโดยเร็ว โดยให้มีผลย้อนไปเมื่อ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๓ 7
7. ร้องทุกข์ฟังขึ้นช่วยลดความคับข้องใจ กรณีที่ ๒๘ เลื่อนขั้นเงินเดือนไม่ชอบ ให้ยกเลิกคำสั่งแล้วไปดำเนินใหม่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ - ร้องปลัดกระทรวงไม่เป็นธรรม ได้เลื่อน 0.5 ขั้น ทั้งที่ช่วยรก.ผอ.ส่วนและสำนัก แต่คนไปฝึกอบรมต่างประเทศ ทำงาน 4 เดือน กลับได้ 1ขั้น - ปลัดแจ้งผลงานได้เพียง 172 จาก 200 คะแนน ผลงานไม่ได้ทำงานหนักตามที่อ้าง ประพฤติตนไม่เหมาะสม - ข้อเท็จจริงคือไม่แจ้งเจ้าตัวให้ทราบผลประเมินเพื่อไปปรับปรุง และไม่ประกาศผู้มีผลงานดีเด่น ซึ่งเงื่อนไขต้องเป็นไปตามหนังสือเวียน ก.พ.ที่นร 0708.1/ว5 ลงวันที่ 2 สค 44 , มติ ครม.ที่นร 0205/ว117 ลงวันที่ 23 มิย.40, หนังสือเวียนกพ. ที่ นร 0708.1/ว 16 ลงวันที่ 7 สค 40 -จึงวินิจฉัยให้ยกเลิกคำสั่งแล้วไปดำเนินใหม่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ 8
7. ร้องทุกข์ฟังขึ้นช่วยลดความคับข้องใจ กรณีที่ ๒๙ สั่งยกเลิก 41 ตำแหน่ง จพง.ป่าไม้อาวุโส - จพง. ป่าไม้ชำนาญงาน ร้องทุกข์ไม่ได้เลื่อนตำแหน่งตามคำสั่งสป.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ที่เลื่อนและแต่งตั้งตำแหน่ง จพง.ป่าไม้อาวุโส รวม 41 ราย - ก.พ.ค. พบคัดเลือกไม่ชอบด้วยกฎหมาย 4 ประการ 1. กรรมการฯ ไม่ได้ประเมิน มอบเลขาฯทำแล้วส่งให้ประธานฯ เสนอชื่อ ต่อปลัดกระทรวง โดยไม่มีความเห็น จึงไม่เป็นไปตามหนังสือ ก.พ. ที่ นร 0708.1/ว 22 วันที่ 30 กย. 2540 ซึ่งเป็นสาระ สำคัญ และไม่เป็นไปตามระบบคุณธรรมตาม ม.42 (2) และ (3) แห่งพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ทั้งทำภายในวันเดียว ผิดปกติอย่างยิ่ง 9
7. ร้องทุกข์ฟังขึ้นและช่วยลดความคับข้องใจ กรณีที่ ๒๙ สั่งยกเลิก 41ตำแหน่งเจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส- ต่อ ๒. การพิจารณาคะแนนตามองค์ประกอบ ไม่แสดงถึงผู้เหมาะสม และไม่สอดคล้องตามเกณฑ์ ก.พ. ที่ นร 0708.1/ว 22 ลงวันที่ 30 กย. 2540 องค์ประกอบที่ 1 ความรู้ กรรมการฯใช้การเป็นข้าราชการในส่วนราชการที่มีตำแหน่งว่างเป็นหลัก แต่ ว 22 หน้าที่และภารกิจของตำแหน่งและส่วนราชการ และความรู้ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงาน องค์ประกอบที่ 2 ความสามารถ กรรมการใช้ความอาวุโส แต่ ว 22 ใช้การปฏิบัติงานให้สำเร็จได้ดี 10
7.ร้องทุกข์ฟังขึ้นช่วยลดความคับข้องใจ กรณีที่๒๙ สั่งยกเลิก 41เจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส- ต่อ องค์ประกอบที่ 3 ความประพฤติ กรรมการฯดูการสนับสนุนของส่วนราชการ แต่ ว 22 ใช้การปฏิบัติตนที่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่และภารกิจของส่วนราชการ องค์ประกอบที่ 4 ประวัติการรับราชการ กรรมการฯ ดูอัตราเงินเดือนและประวัติ ก.พ. 7 แต่ ว 22 ใช้ ประวัติการดำรงตำแหน่งสำคัญที่ผ่านมา ผลงานที่ประสบความสำเร็จ เกียรติยศ ประวัติทางวินัย 11
7. ร้องทุกข์ฟังขึ้นและช่วยลดความคับข้องใจ กรณีที่ ๒๙ สั่งยกเลิก41ตำแหน่ง จพง.ป่าไม้อาวุโส-ต่อ 3. มี 94 ราย ไม่มีคะแนนความประพฤติ 7รายชื่อซ้ำใน 2 บัญชีโดยไม่มีเหตุผล 4. มี 5 ราย อาวุโสและได้รับคะแนนน้อยกว่าผู้ร้องทุกข์ ส่วนอีก 5 ราย ไม่ได้คะแนนความประพฤติ แต่ทั้ง10คนนี้กลับได้รับการคัดเลือก ก.พ.ค. วินิจฉัยให้ปลัดกระทรวง ยกเลิกคำสั่งสป.ทรัพยากรฯ ที่ 190/2553 ลงวันที่ 30 เมย.53 และดำเนินการใหม่ให้ถูกต้องต่อไป หลังวินิจฉัย ผู้ร้องทุกข์มาขอถอนเรื่อง ก.พ.ค. ไม่รับไว้ ตามกฎก.พ.ค.ว่าด้วยการร้องทุกข์ข้อ 17 หากจะถอน ต้องถอน ก่อนมีการวินิจฉัย 12
7. ร้องทุกข์ฟังขึ้นและช่วยลดความคับข้องใจ กรณีที่ ๓๐ อธิบดีกรมการปกครองร้องทุกข์ว่าถูกย้ายโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย - นาย ว. ร้องทุกข์ถูกย้ายจาก อธิบดีไปเป็นผู้ตรวจราชการ โดยให้ไปรก.ตั้งแต่ ๒๘ เมย ๕๓ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะรมว. ปลัดกระทรวง และที่ปรึกษา รมว.มท. ไม่พึงพอใจ - ก.พ.ค. พิเคราะห์เห็นว่ามาจากโครงการจัดระบบและจัดทำบัตรSmart Card 2 ส่วนผู้ร้องทุกข์ไม่ยอมดำเนินการตามความต้องการ 13
7. ร้องทุกข์ฟังขึ้นและช่วยลดความคับข้องใจ กรณีที่ ๓๐ อธิบดีกรมการปกครองร้องทุกข์ว่าถูกย้ายโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย - ไม่มีเหตุผลที่จะย้ายผู้ร้องทุกข์โดยอ้างเหตุสถานการณ์ชุมนุมที่ยังไม่มีความรุนแรงในขณะนั้น - ประกอบกับคู่กรณีในการร้องทุกข์มิได้แสดงข้อเท็จจริงหรือให้เหตุผลที่แสดงให้เห็นได้ว่านาย ม. ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอธิบดีกรมการปกครอง มีความรู้ความสามารถดีกว่าผู้ร้องทุกข์อย่างไร 14
7. ร้องทุกข์ฟังขึ้นช่วยลดความคับข้องใจ กรณีที่ ๓๑ ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งคัดเลือก ผอ.สำนักงานพุทธฯจังหวัดที่มิชอบ รวม 13 ตำแหน่ง - ผู้ร้องทุกข์ 4 ราย ร้องทุกข์ว่า กระบวนการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้ง ผอ.พุทธศาสนาจังหวัด 13 ตำแหน่ง ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม โดยคุณสมบัติของผู้สมัครแตกต่างกันแต่ใช้กระบวนการคัดเลือกอย่างเดียวกัน - พิเคราะห์ว่าเป็นการกระทำที่เป็นการปฏิบัติต่อบุคคลที่มีความแตกต่างกันในสาระสำคัญเป็นอย่างเดียวกัน เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผลการคัดเลือกจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย 51
8. เรื่องร้องทุกข์ที่ฟังไม่ขึ้น กรณีที่ ๓๒ ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งที่บิดเบือนการใช้อำนาจ และใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ นักวิชาการศึกษา 7 ว.รายหนึ่ง ของ สอศ.ร้องทุกข์ต่อ ก.พ.ค. กรณี ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการคัดเลือก กำหนดตำแหน่งนักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ จำนวน 2 ตำแหน่งซ้อนกัน พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า ตำแหน่ง 8 ว เลขที่ 403 เป็นตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มมาตรฐานการเรียนการสอนเดิม ซึ่งเกษียณอายุก่อนกำหนด ทำให้ตำแหน่งว่างลง เมื่อ ก.พ. เห็นชอบให้แบ่งกลุ่มงานใหม่ นำเลขที่ 403 มาใช้คัดเลือกในตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มมาตรฐานอาชีวศึกษาอุตสาหกรรม ซึ่งหัวหน้าเก่าเลขที่ 368 ยังนั่งอยู่ การนำ 403 มาทับซ้อน 368 จึงไม่ชอบ 16
8. เรื่องร้องทุกข์ที่ฟังไม่ขึ้น กรณีที่ ๓๓ คะแนนประเมินสูงดีเด่นถึง ๙๒.๕% ทำไมไม่ได้รับพิจารณาความดีความชอบ ร้องว่าได้ครึ่งขั้นในครึ่งปีหลังของปีงบฯ๒๕๕๒ ทั้งที่ผลประเมินดีเด่น(๙๒.๕%)ไม่เป็นธรรม ทั้งในทางปฏิบัติ ข้าราชการส่วนใหญ่มักได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนหนึ่งขั้นสำหรับครึ่งปีหลัง พบว่า ได้คะแนนสูง แต่เป็นลำดับสุดท้าย, สั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดอื่น ไม่ยอมไป, มีข้าราชการอีก ๑๗ คนก็ได้ครึ่งขั้น และไม่มีหลักเกณฑ์ ก.พ.ให้ข้าราชการทุกคนต้องได้หนึ่งขั้นสำหรับครึ่งปีหลัง วินิจฉัยว่า ฟังไม่ขึ้น ให้ยกคำร้องทุกข์ 17
8. เรื่องร้องทุกข์ที่ฟังไม่ขึ้น กรณีที่ ๓๓ กรณีคะแนนประเมินสูงถึง ๙๒.๕% ทำไมไม่ได้รับพิจารณาความดีความชอบ ร้องว่าได้ครึ่งขั้นในครึ่งปีหลังของปีงบฯ๒๕๕๒ ทั้งที่ผลประเมินดีเด่น(๙๒.๕%)ไม่เป็นธรรม ทั้งในทางปฏิบัติ ข้าราชการส่วนใหญ่มักได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนหนึ่งขั้นสำหรับครึ่งปีหลัง พบว่า ได้คะแนนสูง แต่เป็นลำดับสุดท้าย, สั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดอื่น ไม่ยอมไป, มีข้าราชการอีก ๑๗ คนก็ได้ครึ่งขั้น และไม่มีหลักเกณฑ์ ก.พ.ให้ข้าราชการทุกคนต้องได้หนึ่งขั้นสำหรับครึ่งปีหลัง วินิจฉัยว่า ฟังไม่ขึ้น ให้ยกคำร้องทุกข์ 18
8. เรื่องร้องทุกข์ที่ฟังไม่ขึ้น กรณีที่ ๓๔ ยกคำร้องทุกข์อดีตปลัดกระทรวง โดยนายกรัฐมนตรีใช้คำสั่งชอบ อดีตปลัดกระทรวงร้องถูกโยก เป็น ทปษ.นรม.ฝ่ายข้าราชการประจำ ไม่เป็นธรรม และไม่ชอบด้วยกฎหมาย วินิจฉัยว่า นรม.ใช้อำนาจหน้าที่ ตาม ม.๑๑(๔) พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ก.พ.ค. ตรวจสอบจากข้อเท็จจริงแล้ว ยังไม่อาจชี้ว่าเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ และไม่เป็นไปตามระบบคุณธรรม คำร้องทุกข์จึงไม่อาจรับฟังได้ 19
ประเด็นที่วินิจฉัยข้อแรก การดำเนินการคัดเลือก ถูกต้องตามกฎหมาย หรือไม่ 8. เรื่องร้องทุกข์ที่ฟังไม่ขึ้น กรณีที่ ๓๕ ตำแหน่งที่ครองปรับระดับสูงขึ้น ก.คัดเลือกให้คะแนน ลำดับที่หนึ่ง แต่ปลัดกลับแต่งตั้งลำดับที่สอง ประเด็นที่วินิจฉัยข้อแรก การดำเนินการคัดเลือก ถูกต้องตามกฎหมาย หรือไม่ การแต่งตั้งประเภทอำนวยการระดับสูง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน 2551 ม.57 (5) ให้ปลัดกระทรวงเป็นผู้แต่งตั้ง และ ม. 63 การเลื่อนให้ดำรงตำแหน่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. และขณะที่ยังไม่ได้ออกกฎ ให้เป็นไปตามหนังสือ ก.พ. ที่ นร 1006/ว 7 ลงวันที่ 6 มีค. 2552 การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งอำนวยการระดับสูง ให้ใช้หลักเกณฑ์ที่กำหนดในหนังสือก.พ. ที่ นร 0708.1/ว 22 ลงวันที่ 30 กย. 2540 คือมีคณะ ก.คัดเลือกเสนอ 3 ชื่อ ต่อ 1 ตำแหน่ง 20
8. เรื่องร้องทุกข์ที่ฟังไม่ขึ้น กรณีที่ ๓๕ ตำแหน่งที่ครองได้ปรับระดับสูงขึ้น ก.คัดเลือกให้คะแนนที่๑ แต่ปลัดแต่งตั้งที่๒ (ต่อ) ปลัดกระทรวงเลือกได้จาก 3 ชื่อ ที่คณะกรรมการเสนอ ซึ่งกรณีนี้เป็นไปตามกฎที่ ก.พ. กำหนด ประเด็นที่ 2 การแต่งตั้ง เป็นการเลือกปฏิบัติ และไม่เป็นไปตามระบบคุณธรรมหรือไม่ ปลัดกระทรวงได้คำนึงถึงประโยชน์ราชการพึงได้รับ ก.พ.วางหลัก ไม่จำเป็นต้องเลื่อนแต่เฉพาะผู้ครองตำแหน่ง หากตำแหน่งได้ปรับระดับสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณคุณภาพของตำแหน่งมิใช่ตัวบุคคล ก.พ.ค. จึงวินิจฉัยให้ยกคำร้องทุกข์ 21
8.เรื่องร้องทุกข์ที่ฟังไม่ขึ้น กรณีที่ ๓๖ แต่งตั้งไม่เป็นธรรมเพราะไม่สนองรัฐมนตรี ประเด็นแรกที่วินิจฉัยคือ รมช.สั่งให้กรมต้องนำเรียนรมช.เพื่อทราบก่อน จึงจะโอนงบประมาณได้ เป็นการกระทำที่ก้าวก่ายข้าราชการประจำ ขัดต่อรธน. 2550 ม.268 ม.266 (1) และระเบียบ ก.คลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ พ.ศ. 2549 ข้อ 9 หรือไม่ พิเคราะห์ ว่าใช้อำนาจทางการบริหารของรมช.สั่ง หรือปฎิบัติราชการตามที่รมว.มอบหมาย ตาม ม.๒๐ แห่งพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่๕) พ.ศ.๒๕๔๕ 22
8.เรื่องร้องทุกข์ที่ฟังไม่ขึ้น กรณีที่๓๖ แต่งตั้งไม่เป็นธรรม เพราะไม่สนองรัฐมนตรี (ต่อ) ประเด็นที่สองต้องวินิจฉัย คือการแต่งตั้งให้อธิบดีไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการ เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ทำได้ เพราะการโอนไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารระดับสูงในประเภทและระดับเดียวกัน ในกระทรวงเดียวกัน กระทำได้ตามหนังสือก.พ.ที่นร.๑๐๐๖/ว๔ ลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 23
8.เรื่องร้องทุกข์ที่ฟังไม่ขึ้น กรณีที่ ๓๗ แต่งตั้งไม่เป็นธรรม และขอให้ ลงโทษผู้บังคับบัญชา พิเคราะห์ว่าปลัดกระทรวงใช้อำนาจตามกฎหมายในการแต่งตั้งอธิบดีผู้ร้องทุกข์ไป รักษาการผู้ตรวจราชการกระทรวงได้ แต่ไม่อาจอาศัยอำนาจตามความในม.๔๖ และม.๔๙แห่งพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ มีคำสั่งให้ ผตร.รายหนึ่ง ไป รก.อธิบดีได้ เพราะเป็นอำนาจของรัฐมนตรี แม้ได้ยกเลิกคำสั่งแล้วก็ตาม ก็ไม่มีผลทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของผู้รักษาราชการแทนอธิบดีเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย 24
8.เรื่องร้องทุกข์ที่ฟังไม่ขึ้น กรณีที่ ๓๗ แต่งตั้งไม่เป็นธรรม และขอให้ลงโทษผู้บังคับบัญชา - ต่อ อธิบดีร้องถูกปลัดกระทรวงแต่งตั้งไปรก.ผตร.และยังให้ ผตร.มา รก.อธิบดี แทนผู้ร้องทุกข์และร้องให้ลงโทษปลัดกระทรวงที่อาฆาตและใช้ดุลพินิจมิชอบ ประเด็นที่ขอให้ ก.พ.ค.พิจารณาลงโทษปลัดกระทรวงฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และมีเจตนาฝ่าฝืนจริยธรรมนั้น เห็นว่าคำร้องทุกข์ดังกล่าวเป็นการกล่าวหาว่าข้าราชการกระทำผิดวินัย ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ ก.พ.ค.จะวินิจฉัย 25
8. เรื่องร้องทุกข์ที่ฟังไม่ขึ้น กรณีที่ ๓๘ ร้องปลัดฯย้ายน้องสาวเป็นผอ 8.เรื่องร้องทุกข์ที่ฟังไม่ขึ้น กรณีที่ ๓๘ ร้องปลัดฯย้ายน้องสาวเป็นผอ.สำนัก - ผู้เชี่ยวชาญร้องปลัดกระทรวงสั่งย้ายน้องสาวที่เป็นผอ.สำนักหนึ่งไปอีกสำนักหนึ่งในกรมเดียวกัน ทั้งที่ผู้ร้องขอตำแหน่งนี้แต่ไม่ได้ - ข้อเท็จจริงพบว่า เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายตามหนังสือ ก.พ.ที่นร 0708/ว 9วันที่ 12 พค.2535 ให้อำนาจปลัดฯเป็นผู้สั่งย้ายโดยยึดเหตุผลและความจำเป็น โดยอธิบดีเสนอผ่านคณะผู้บริหารซึ่งได้หารือและเห็นชอบเสนอปลัดออกคำสั่ง 26
8. เรื่องร้องทุกข์ที่ฟังไม่ขึ้น กรณีที่ ๓๘ ร้องปลัดฯย้ายน้องสาวเป็นผอ 8.เรื่องร้องทุกข์ที่ฟังไม่ขึ้น กรณีที่ ๓๘ ร้องปลัดฯย้ายน้องสาวเป็นผอ.สำนัก -ต่อ แม้ผู้ร้องมีสิทธิได้รับการพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งที่ตนมีคุณสมบัติ แต่ก็มิใช่สิทธิตามกฎหมายอันจะพึงเรียกร้องให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาแต่งตั้งให้ตนดำรงตำแหน่งได้ และเมื่อไม่ได้รับการแต่งตั้ง สิทธิประโยชน์ในฐานะการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญของผู้ร้องทุกข์ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแต่อย่างใด 27
8. เรื่องร้องทุกข์ที่ฟังไม่ขึ้น กรณีที่ ๓๙ ร้องทุกข์ถูกปลัดฯสอบวินัยซ้ำ ผู้ตรวจราชการกรมรายหนึ่ง ร้องถูกปลัด แต่งตั้ง ก.สอบวินัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะกรมได้ตั้ง ก.สืบข้อเท็จจริง และ ได้ว่ากล่าวตักเตือนแล้ว และต่อมาได้รับการล้างมลทิน ดังนั้นการแต่งตั้ง ก.สอบวินัยจึงเป็นการดำเนินการทางวินัยซ้ำ ข้อเท็จจริงอธิบดีเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย จึงว่ากล่าวตักเตือนต่อมาปลัดฯได้รับหนังสือร้องจากนาย ส. และเห็นว่าการดำเนินการของกรม เป็นการดำเนินการเบื้องต้นก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการดำเนินการทางแต่งตั้ง ก.สอบสวน จึงสั่งสอบ จึงไม่เป็นการดำเนินการทางวินัยซ้ำแต่อย่างใด กรณีจึงถือว่าผู้ร้องทุกข์ยังไม่ได้รับผลจากม. 6 แห่ง พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ ดังนั้นปลัดฯจึงมีอำนาจในการแต่งตั้งคณะ ก.สอบสวนทางวินัยแก่ผู้ร้องทุกข์ได้ 28
9. ร้องทุกข์ที่ขอให้มีการเยียวยา กรณีที่ ๔๐ ให้เยียวยาหัวหน้า สร.ที่ รมว.สั่งไปช่วยราชการที่อื่น โดยไม่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง ให้หาตำแหน่งใหม่ในโอกาสแรก รมว.สั่งให้หัวหน้าสร.ไปช่วยราชการที่ สป. และให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทนผู้ร้องทุกข์ วินิจฉัยว่าการเบิกจ่ายเงินประจำตำแหน่งและค่าตอบแทนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ คือไม่ได้ปฏิบัติงานก็จ่ายไม่ได้ จึงยกคำร้องทุกข์ โดยมีข้อสังเกต ให้หาตำแหน่งในระดับเดียวกันในโอกาสแรกที่มีตำแหน่งว่างลง เพื่อเป็นการเยียวยา 29
9.ร้องทุกข์ที่ช่วยเยียวยา ลดความคับข้องใจบางส่วน กรณีที่ ๔๑ เยียวยากรณีศาลปกครองเพิกถอนคำสั่งเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น ผู้ร้องทุกข์สองราย ได้รับคัดเลือกครั้งที่๑ ให้เป็น๘ว.แต่มีผู้ไปฟ้องศาลปกครองให้ยกเลิกคำสั่ง ซึ่งกระทรวงได้อุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดไว้ ไปสมัครคัดเลือกครั้งที่ ๒ ทั้งที่เป็น ๘ว. กระทรวงคัดเลือกไว้แต่ไม่แต่งตั้ง เพราะเป็นกรณีตาม ว.๑๐ ปี๒๕๔๘ ซึ่งผู้สมัครต้องเป็นระดับ ๗ ก.พ.ค.วินิจฉัยยกคำร้อง และให้เยียวยากรณีศาลปกครองเพิกถอนคำสั่ง โดยให้กลับไประดับเดิมในตำแหน่งเฉพาะตัว (ฉ) โดยได้สิทธิ์และประโยชน์เดิม ต้องติดตามผลที่ผู้ร้องทุกข์ไปฟ้องศาลปกครองชั้นต้น 30
10. ร้องทุกข์ที่สั่งไม่รับไว้พิจารณา กรณีที่ ๔๒ ข้าราชการบรรจุใหม่ไม่ผ่านการทดลองปฏิบัติราชการ ไม่มีสิทธิร้องทุกข์ต่อ ก.พ.ค. ร้องว่าอธิบดีสั่งให้ออกจากราชการ เนื่องจากผลการทดลองงานต่ำกว่าเกณฑ์, ประเมินไม่เป็นธรรม ไม่สมเหตุผล, ทั้งงานที่มอบ ก็ยากเกินกว่าตำแหน่งในระดับนี้ - ผู้ร้องทุกข์ไม่มีสถานภาพเป็นข้าราชการพลเรือน สามัญ จึงไม่มีสิทธิร้องทุกข์ตาม ม. ๑๒๒ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ.ค. ไม่อาจรับไว้พิจารณา และสั่งจำหน่าย 31
10. ร้องทุกข์ที่ ก.พ.ค.สั่งไม่รับไว้พิจารณา กรณีที่ ๔๓ คุณสมบัติไม่ตรงตามมาตรฐานตำแหน่งตามหนังสือเวียน ก.พ. จะร้องทุกข์ว่าต้นเหตุมาจากผู้บังคับบัญชาไม่ได้ ร้องปลัดฯ แจ้งหนังสือตอบข้อหารือจาก ก.พ.ในเรื่องมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน ๒๕๕๑ ทำให้ตนขาดคุณสมบัติ สั่งไม่รับไว้พิจารณา เพราะเหตุแห่งทุกข์มิใช่ผู้บังคับบัญชา - หากต้นเหตุแห่งทุกข์มาจาก สำนักงาน ก.พ. ควรร้องไปที่ ก.พ. ขอให้ทบทวน 32
10. ร้องทุกข์ที่ ก.พ.ค.สั่งไม่รับไว้พิจารณา กรณีที่ ๔๔ ร้องทุกข์ต้องยื่นภายใน 30 วัน นับแต่วันรู้หรือควรรู้เหตุคับข้องใจ ผชช.ร้องว่า เมื่อ 22 ต.ค.52 รมว.ได้แต่งตั้งรองอธิบดีคนหนึ่งให้ รก.ทปษ.ระดับผู้ทรงคุณวุฒิ โดยใช้อำนาจไม่โปร่งใส เนื่องจากไม่แจ้งเวียน แต่ร้อง 1ก.พ.53 สั่งไม่รับเพราะต้องยื่นภายใน 30 วัน นับแต่วันรู้หรือควรรู้ การแต่งตั้งรก.เป็นมาตรการภายใน มิใช่คำสั่งทางปกครอง จะร้องขอให้เพิกถอนไม่ได้ กฎหมายให้อำนาจผู้บังคับบัญชาสั่งได้ เพื่อความต่อเนื่องของการบริหารงาน 33
10.ร้องทุกข์ที่ ก.พ.ค.สั่งไม่รับไว้พิจารณา กรณีที่ ๔๕ ก.พ.ค.ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์สำหรับพนักงานราชการ พนักงานราชการ พยาบาลวิชาชีพ ถูกอธิบดีสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ตามข้อ 26 ของระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 กรณีทะเลาะวิวาท ต้องอุทธรณ์ต่ออธิบดีตาม ม.44 พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติฯ โดยยื่นต่อผู้ทำคำสั่งภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบ ไม่สามารถอุทธรณ์ต่อ ก.พ.ค. จึงสั่งไม่รับ แต่รายนี้คำสั่งอธิบดีไม่ระบุให้อุทธรณ์ไว้ จึงขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต่ออธิบดีเป็น 1 ปี 34
10.ร้องทุกข์ที่ ก.พ.ค.สั่งไม่รับไว้พิจารณา กรณีที่ ๔๖ อยากร้องทุกข์ต้องเปิดเผยชื่อ มิฉะนั้นเป็นเพียงร้องเรียนหรือบัตรสนเท่ห์ ร้องทุกข์ว่า รมว.สั่งเลื่อนข้าราชการรายอื่นในตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรี โดยไม่ถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนดไว้ ขอให้ปกปิดเป็นความลับ เกรงอันตรายต่อชีวิต ข้อเท็จจริง : เกินระยะเวลา ๓๐ วัน, ขาดสาระ สำคัญที่อธิบายต้นเหตุแห่งทุกข์, การขอปกปิดชื่อของผู้ร้องทุกข์ ทำให้ไม่เปิดโอกาสคู่กรณีชี้แจงในขั้นแสวงหาข้อเท็จจริง ของระบบไต่สวน จึงวินิจฉัยไม่รับ และ จำหน่ายออกจากสารบบ 35
10.ร้องทุกข์ที่ ก.พ.ค.สั่งไม่รับไว้พิจารณา กรณีที่ ๔๗ ไม่รับเรื่องร้องทุกข์ ที่กรณีอาจใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ หลังรู้ผลการดำเนินการทางวินัยไม่ร้ายแรง ผู้ร้องทุกข์ 2 รายร้องว่า การแต่งตั้งกรรมการสอบสวน ไม่เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย เลือกปฏิบัติชัดแจ้ง และมีการแทรกแซงโดยผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง - ม.๑๒๒ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน ๒๕๕๑ ระบุไว้ ร้องทุกข์ต้องมิใช่กรณีที่มีสิทธิอุทธรณ์ทางวินัยตามหมวด 9 หากร้องทุกข์ในขณะกระบวนการวินัยยังไม่แล้วเสร็จ อาจเป็นอุปสรรคในการสอบสวน - การแต่งตั้งก.สอบสวน เป็นการเตรียมการเพื่อให้มีคำสั่งทางปกครองตาม ม. 5 แห่งพ.ร.บ.วิธีปฏิบัติฯ 2539 ทั้ง ก.พ.ค. ตรวจสอบแล้วไม่ปรากฏว่าการแต่งตั้งไม่ชอบ 36
10.ร้องทุกข์ที่ ก.พ.ค.สั่งไม่รับไว้พิจารณา กรณีที่ ๔๘ ไม่รับเรื่องที่นายอำเภอ 37 จาก 41 ราย ร้องขอความเป็นธรรมจากการถูกยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งไม่ชอบ ปลัดกระทรวงและนอภ. 37จาก 41 ราย ร้องขอความเป็นธรรมในการยกเลิกคำสั่งที่ มท 28/2553 ลงวันที่ 15 มค. 2553 ที่ได้แต่งตั้งผู้ได้รับการคัดเลือกนายอำเภอประเภทอำนวยการระดับสูง - พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน 2551 ม.123 วรรคสาม เมื่อ ก.พ.ค.ได้วินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์แล้วให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าสังกัด ดำเนินการตามคำวินิจฉัย 37
10.ร้องทุกข์ที่ ก.พ.ค.สั่งไม่รับไว้พิจารณา กรณีที่ ๔๘ ไม่รับเรื่องที่นายอำเภอ 37 จาก 41 ราย ร้องขอ ความเป็นธรรมจากการถูกยกเลิกคำสั่งไม่ชอบ (ต่อ) ข้อ 56 ของ กฎ ก.พ.ค.ว่าด้วยการร้องทุกข์ฯ พ.ศ. 2551 “เมื่อได้วินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ และดำเนินการตาม ข้อ 54 วรรคสองแล้ว ให้แจ้งคู่กรณีทราบเป็นหนังสือโดยเร็ว คำวินิจฉัย นั้น ให้เป็นที่สุด” 38
10.ร้องทุกข์ที่ ก.พ.ค.สั่งไม่รับไว้พิจารณา กรณีที่๔๘ ไม่รับเรื่องที่นอภ.37 จาก 41 ราย ร้องขอความเป็นธรรมจากการถูกยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งไม่ชอบ (ต่อ) สำนักงาน ก.พ. ได้ออกหนังสือเวียน ที่ นร.1008/ว.46 ลงวันที่ 30 กย. 2553 เรื่อง แนวทางการดำเนินการกรณี ก.พ.ค. มีคำวินิจฉัยหรือ ก.พ. มีมติให้ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งฯ คำสั่ง ก.พ.ค. ยกเลิกนายอำเภอ 4 1 ตำแหน่ง มิใช่การลงโทษผู้ได้รับคัดเลือก หากนายอำเภอกลุ่มนี้ไม่เห็นด้วย ก็สามารถฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นต่อไปได้ภายใน 90 วัน 39
10.ร้องทุกข์ที่ ก.พ.ค.สั่งไม่รับไว้พิจารณา กรณีที่ ๔๙ ต้นเหตุแห่งทุกข์เกิดจากอธิบดี ร้องต่อปลัดกระทรวงซึ่งพิจารณาถึงที่สุดแล้ว หากไม่เห็นด้วย ต้องฟ้องศาลปกครอง กรมสั่งให้ผู้ร้องทุกข์ไปดำรงตำแหน่งนักวิชาการ ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ รวมทั้งจัดตำแหน่งอย่างไม่มีมาตรฐานถึง 3 แบบ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเลือกปฏิบัติ เดิมยื่นผิดที่ โดยยื่นไปที่ ก.พ.ค.แล้วได้รับแจ้งให้ไปยื่นต่อปลัดกระทรวง เพราะต้นเหตุแห่งทุกข์เป็นอธิบดี ไปยื่นที่ปลัด ต่อมารองปลัด รก.ปลัดเป็นผู้ตอบโดยใช้เวลานาน 412 วัน 40
10.ร้องทุกข์ที่ ก.พ.ค.สั่งไม่รับไว้พิจารณา กรณีที่ ๔๙ ต้นเหตุแห่งทุกข์เกิดจากอธิบดี ร้องต่อปลัดกระทรวงพิจารณาถึงที่สุดแล้ว หากไม่เห็นด้วย ต้องฟ้องศาลปกครอง (ต่อ) คำวินิจฉัยร้องทุกข์ของปลัดกระทรวงเป็นที่สุด ตามข้อ 25 วรรคสาม ของกฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์ฯ พ.ศ. 2551 จึงวินิจฉัยไม่รับเรื่องร้องทุกข์กรณีนี้ไว้พิจารณา ให้ไปฟ้องศาลปกครองชั้นต้น 41
10. ร้องทุกข์ที่ ก. พ. ค. สั่งไม่รับไว้พิจารณา กรณีที่ ๕๐ ก. พ. ค 10.ร้องทุกข์ที่ ก.พ.ค.สั่งไม่รับไว้พิจารณา กรณีที่ ๕๐ ก.พ.ค.ไม่รับเรื่องคับข้องใจที่มาจากกฎหรือหนังสือเวียน ก.พ.ไว้พิจารณา นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ กรมอุทยานฯ กับพวก ๒๑ ราย ได้มีหนังสือถึงเลขาธิการ ก.พ.ร. ขอความเป็นธรรม รวม ๒ ประเด็น (๑) การที่กรม ไม่ปฏิบัติตามหนังสือเวียนของ ก.พ ว. ๒๕ ลงวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๒ ทำให้ผู้ร้องกับพวกเสียสิทธิอันควรได้รับในการเลื่อนตำแหน่ง เป็นนักวิชาการ ชำนาญการพิเศษ นับตั้งแต่วันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๒ ทำให้เสียรายได้จากการที่ไม่มีตำแหน่งชำนาญการพิเศษรองรับ ก.พ.ค.เห็นว่า สาระสำคัญของร้องทุกข์ มีเหตุจากอธิบดีจึงต้องร้องทุกข์ต่อปลัดกระทรวง หากผลเป็นประการใด และผู้ร้องทุกข์ไม่เห็นด้วย ก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองต่อไป จึงวินิจฉัยไม่รับเรื่องร้องทุกข์นี้ไว้พิจารณา 42
คำวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์ใหม่ล่าสุดในครึ่งปีหลัง ปี2554 44
10.ร้องทุกข์ที่ ก.พ.ค.สั่งไม่รับไว้พิจารณา กรณี51 ร้องทุกข์ผิดตัว ข้าราชการสังกัดสำนักงานรัฐมนตรี ต้นเหตุแห่งทุกข์คือรัฐมนตรี - นักจัดการงานทั่วไป สังกัดสร.กระทรวงทรัพยากรฯ ได้ร้องทุกข์ต่อ ก.พ.ค.ว่า ปลัดกระทรวงฯ ไม่พิจารณาให้ผู้ร้องทุกข์เข้าร่วมมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ (โครงการเกษียณก่อนกำหนด) ปีงบประมาณ 2553 - การบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 57 (4) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 บัญญัติให้การบรรจุและแต่งตั้งในสำนักงานรัฐมนตรี ให้รมว.เจ้าสังกัดเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง และตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 2 บัญญัติว่า สร.ซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของ สร.ขึ้นตรงต่อ รมว. - วินิจฉัยไม่รับเรื่องร้องทุกข์ไว้พิจารณา 45
9.ร้องทุกข์ที่ฟังขึ้นบางส่วนและให้ยกเลิกคำสั่งบางส่วน กรณีที่52 ยกเลิกการคัดเลือก 7 จาก 25 ตำแหน่ง ชำนาญการพิเศษ ของสำนักงบประมาณ นักวิเคราะห์ชำนาญการ 2 ราย ได้ร้องทุกข์ กรณีสงป.คัดเลือกบุคคลเข้ารับการประเมินผลงานเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งชำนาญการพิเศษ จำนวน 25 ตำแหน่ง โดยไม่ปรากฏหลักเกณฑ์ที่แน่ชัดและไม่ได้ให้เหตุผลประกอบ เป็นการกระทำที่ไม่โปร่งใสเป็นธรรม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ข้อเท็จจริง มีการใช้คะแนนดิบ แล้วมาใช้คะแนนโหวต โดยพิจารณารอบแรกได้19ราย ซึ่งได้ตัด2คนที่ความประพฤติไม่เหมาะสม รอบสองคัดได้อีก 6 ราย จากนั้นไปเสนอ ผอ. สงป. ซึ่งขอให้ทบทวนสัดส่วนกลุ่มบุคคลให้เหมาะกับงาน ดังนั้นในรอบ3 จึงมาโหวตใหม่ โดย1ใน2รายที่ถูกตัดเพราะความประพฤติ ได้กลับเข้ามา และบุคคลที่ได้คะแนนโหวตสูงกลับถูกตัดโดยไม่มีเหตุผล โดยไปเลือกบุคคลที่ได้คะแนนโหวตต่ำกว่าเข้ามาแทน 46
9.ร้องทุกข์ที่ให้ยกเลิกคำสั่งบางส่วน กรณีที่ 52 ยกเลิกการคัดเลือก 7 จาก 25 ตำแหน่งชำนาญการพิเศษ ของสำนักงบประมาณ (ต่อ) ประเด็นแรก การที่คณะกรรมการคัดเลือกกำหนดองค์ประกอบในการให้คะแนน และกรรมการแต่ละคนให้คะแนน แล้วนำคะแนนมารวมกัน พร้อมกับหาคะแนนโหวต แล้วเรียงลำดับตามคะแนนโหวตนั้น ขัดกับเกณฑ์ตามประกาศ อ.ก.พ. สำนักงบประมาณ ลงวันที่ 9 กันยายน 2552 ข้อ 4 (1) หรือไม่ เห็นว่าเป็นการดำเนินการที่ไม่ขัดกับเกณฑ์การตัดสิน จึงเป็นการดำเนินการที่ชอบแล้ว 47
9.ร้องทุกข์ที่ให้ยกเลิกคำสั่งบางส่วน กรณีที่ 52 ยกเลิกการคัดเลือก 7 จาก 25 ตำแหน่งชำนาญการพิเศษ ของสำนักงบประมาณ (ต่อ) ประเด็นสอง การที่ผอ.สงป.ให้คณะกรรมการฯทบทวนสัดส่วนของผู้ได้รับคัดเลือก ทำได้หรือไม่ เห็นว่าเป็นไปตามหนังสือเวียน ว. 10 ให้อำนาจผู้มีอำนาจสั่งบรรจุให้ความเห็นชอบ จึงทำได้ในการปรับสัดส่วน 48
9.ร้องทุกข์ที่ให้ยกเลิกคำสั่งบางส่วน กรณีที่ 52 ยกเลิกการคัดเลือก 7 จาก 25 ตำแหน่งชำนาญการพิเศษ ของสำนักงบประมาณ (ต่อ) แต่การพิจารณารอบ 2 และรอบ 3 ใช้ดุลพินิจมิชอบ ทำให้นางสาว ป. ที่ควรได้ในรอบสอง กลับไปหยิบ นาง น.ที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และนาย ว.และนาย จ.ซึ่งถูกกรรมการคัดออกเพราะคุณสมบัติไม่เหมาะสม กลับพบว่า นาย ว.ได้รับคัดเลือกกลับเข้ามาใหม่ แต่ตัด นาย จ. โดยไม่มีเหตุผล วินิจฉัยให้ยกเลิกเฉพาะ 7 จาก25 ตำแหน่ง ให้ไปคัดเลือกใหม่ ส่วน 18 รายเห็นชอบให้ใช้ผลการคัดเลือกจากรอบแรกที่ดำเนินการโดยชอบ 49
3.เรื่องอุทธรณ์ที่ฟังไม่ขึ้น ให้ยกอุทธรณ์ กรณีที่ 53 ยกอุทธรณ์รับเงินเพื่อนข้าราชการฝากซื้อทองแล้วไม่ส่งมอบทอง ข้าราชการรายหนึ่ง อุทธรณ์กรณีถูกลงโทษไล่ออก เหตุจากรับฝากซื้อทองจากเพื่อนข้าราชการรวม8คน 11ครั้ง น้ำหนัก555บาท มูลค่า4.5ล้านบาท โดยไม่ส่งมอบทอง อ้างว่าได้จ่ายเงินให้นาง ร. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่รับฝากอีกทอดหนึ่งแล้ว แต่ถูกฉ้อโกงจึงไม่ส่งมอบทองให้เพื่อนที่สั่งซื้อ ผู้เสียหายได้ฟ้องศาลอาญารวม7คดี ซึ่งคดีมีทั้งสั่งลงโทษจำคุกซึ่งอยู่ระหว่างอุทธรณ์ และบางคดีถอนฟ้องเพราะยอมจ่ายคืน กรมสอบวินัยอย่างร้ายแรง และได้ออกคำสั่งไล่ออกตามมติที่ประชุม อ.ก.พ.กรม วันที่ 2 กรกฎาคม 2552 ฐานไม่รักษาชื่อเสียงและเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการ ประพฤติชั่วร้ายแรงตามมาตรา 98 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 50
3.เรื่องอุทธรณ์ที่ฟังไม่ขึ้น ให้ยกอุทธรณ์ กรณีที่ 53 ยกอุทธรณ์รับเงินเพื่อนข้าราชการฝากซื้อทองแล้วไม่ส่งมอบทอง (ต่อ) หลังจากนั้นกรมได้ส่งหนังสือ แจ้งว่าหลังหารือ คณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งได้ตีความว่า การประชุม อ.ก.พ.กรมครั้งนั้นไม่ชอบ จึงยกเลิกคำสั่งไล่ออกเดิมแล้วได้ประชุม อ.ก.พ.กรมใหม่คือ แล้วได้ออกคำสั่งไล่ออกใหม่ โดยให้มีผลอย่างเดิมคือ ตั้งแต่วันที่ 4 กย. 2552 กรณีนี้ได้นำหารือ ก.พ.ค.ซึ่งมีมติให้เรียกคู่กรณีมาตกลง คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์จึงได้เรียกคู่กรณีมา โดยผู้อุทธรณ์ขอดำเนินการต่อไป 51
3.เรื่องอุทธรณ์ที่ฟังไม่ขึ้น ให้ยกอุทธรณ์ กรณีที่ 53 ยกอุทธรณ์รับเงินเพื่อนข้าราชการ ฝากซื้อทองแล้วไม่ส่งมอบทอง (ต่อ) ประเด็นวินิจฉัยที่ 1 กระบวนการสอบวินัยดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ พิเคราะห์แล้วเห็นว่ากรมได้ออกคำสั่งแต่งตั้ง กรรมการสอบวินัยอย่างร้ายแรง และได้ส่ง สว.3 ให้ผู้อุทธรณ์มีโอกาสโต้แย้งแล้ว เวลาที่ใช้สอบสวนทั้งสิ้น 166 วัน กระบวนการสอบสวนชอบด้วยกฎหมาย ประเด็นวินิจฉัยที่ 2 คำสั่งลงโทษของคู่กรณีในอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ได้ประชุม อ.ก.พ.กรมใหม่ แล้วออกคำสั่ง ไล่ออกใหม่ จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว 52
3.เรื่องอุทธรณ์ที่ฟังไม่ขึ้น ให้ยกอุทธรณ์ กรณีที่53 ยกอุทธรณ์รับเงินเพื่อนข้าราชการ ฝากซื้อทองแล้วไม่ส่งมอบทอง (ต่อ) ประเด็นวินิจฉัยที่ 3 ผู้อุทธรณ์กระทำผิดวินัยหรือไม่ และการลงโทษเหมาะสมหรือไม่ ผู้อุทธรณ์รับเงินไว้จริง จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่คืนเงินให้ผู้ฝากสั่งซื้อทองครบทุกราย ดังนั้นจึงมีพฤติการณ์ฉ้อโกงฐานไม่รักษาชื่อเสียงและเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการ ประพฤติชั่วร้ายแรงตาม ม. 98 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 เหมาะสมกับความผิด ก.พ.ค.จึงวินิจฉัย ยกอุทธรณ์ 53
3.เรื่องอุทธรณ์ที่ฟังไม่ขึ้น ให้ยกอุทธรณ์ กรณีที่ 54 ถ่าย-แพร่ภาพวีดีโอลามกอนาจาร ปลดออก นักวิชาการ 6 ว รายหนึ่งอุทธรณ์คำสั่งอธิบดีที่สั่งลงโทษปลดออกจากราชการฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ตามมาตรา 98 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. 2535 กรณีได้เผยแพร่ภาพอนาจาร และพาหญิงที่อยู่กินฉันสามีภรรยาไปมีเพศสัมพันธ์กับชายอื่นต่อหน้าตนเอง และถ่ายทำวีดีโอไว้ ต่อมาคลิปวีดีโอถูกเผยแพร่ต่อสาธารณะ โดยผู้อุทธรณ์อ้างว่าการสอบสวนให้ความสำคัญน้อยมากกับการตรวจสอบพยานหลักฐานที่เป็นประโยชน์กับผู้อุทธรณ์ ไม่เปิดโอกาสให้ผู้อุทธรณ์ได้ชี้แจงพยานหลักฐานอย่างเพียงพอ และคำสั่งลงโทษไม่เป็นธรรมกับผู้อุทธรณ์ 54
3.เรื่องอุทธรณ์ที่ฟังไม่ขึ้น ให้ยกอุทธรณ์ กรณีที่ 54 ปลดออก ถ่าย-แพร่ภาพวีดีโอ ลามกอนาจาร ประเด็นวินิจฉัยที่ 1 การออกคำสั่งได้ทำถูกต้องตามขั้นตอน และวิธีการอันเป็นสาระสำคัญ โดยให้โอกาสแก้ข้อกล่าวหาอย่างเพียงพอหรือไม่ เห็นว่า ได้แจ้งแบบ สว. 2 และข้อสรุป ตามแบบ สว.3 โดยผู้อุทธรณ์ได้ลงลายมือชื่อรับทราบแล้ว และผู้อุทธรณ์ได้มีหนังสือถึงประธานคณะกรรมการสอบสวนโต้แย้งคัดค้านข้อกล่าวหา และสรุปหลักฐานที่สนับสนุนข้อคัดค้านดังกล่าวด้วย อันแสดง ว่าได้ให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจง และนำสืบแก้ข้อกล่าวหาอย่างเพียงพอแล้ว 55
3.เรื่องอุทธรณ์ที่ฟังไม่ขึ้น ให้ยกอุทธรณ์ กรณีที่ 54 ปลดออก แพร่ภาพวีดีโอลามกอนาจาร - ต่อ ประเด็นที่2ผู้อุทธรณ์ได้กระทำผิดวินัยตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ ผู้อุทธรณ์ได้เรียกนาย น. และนางสาว ก. ซึ่งบุคคลทั่วไปเข้าใจว่าเป็นภรรยา ให้มีเพศสัมพันธ์กันต่อหน้าในห้องพักแล้วบันทึกวีดีโอยาว 10 นาที คลิปได้ถูกเผยแพร่ไป ทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลทั้งสองและส่วนราชการ การกระทำเป็นการทำให้เสื่อมเสียทางจริยธรรมและเป็นความบกพร่องในศีลธรรมอันดี การที่ต่อมามีการนำภาพที่บันทึกไว้ออกเผยแพร่ทางเว็บไซต์ ย่อมเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงทั้งต่อบุคคลในภาพ รวมทั้งต่อหน่วยงานราชการ การกระทำเพียงเท่านี้ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าผู้อุทธรณ์ได้นำวีดีโอที่บันทึกไว้ออกเผยแพร่หรือไม่ 56
3.เรื่องอุทธรณ์ที่ฟังไม่ขึ้น ให้ยกอุทธรณ์ กรณีที่54 ปลดออก ถ่าย-แพร่ภาพวีดีโอ ลามกอนาจาร - ต่อ การที่คณะกรรมการสอบสวนงดสอบสวนพยานที่ผู้อุทธรณ์อ้างเพื่อยืนยันว่าตนไม่ได้เป็นผู้เผยแพร่ภาพ จึงไม่ทำให้พยานหลักฐานที่มีอยู่ไม่พอฟังว่าผู้อุทธรณ์เป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงแต่เพียงใด เห็นว่าประพฤติชั่วตามที่กรมสั่งลงโทษปลดออกเหมาะสมแล้ว วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ แต่ให้แก้ในส่วนการเผยแพร่ที่ไม่มีข้อเท็จจริงว่าใครเป็นผู้นำไปเผยแพร่ในเว็บของกรม 57
3.เรื่องอุทธรณ์ที่ฟังไม่ขึ้น ให้ยกอุทธรณ์ กรณีที่ 55 รูดบัตรเครดิตผู้อื่นซื้อสินค้า ปลดออก พยาบาลรายหนึ่ง อุทธรณ์ ถูกผวจ.โดยมติ อ.ก.พ. สธ. สั่งเพิ่มโทษจากลดขั้นเงินเดือน ๑ ขั้น เป็นปลดออก ฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ตามม. ๙๘ วรรคสอง แห่งพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ กรณีนำเอาบัตรเครดิตของผู้อื่นไปใช้จ่าย ผู้อุทธรณ์สารภาพในชั้นสอบสวน ว่าได้ใช้บัตรเครดิตจ.ธุรการในโรงพยาบาลเดียวกันและได้ชดใช้เงินแล้ว ขอลดโทษ เห็นว่าการปลอมลายมือชื่อผู้อื่นไปหาประโยชน์ ซึ่งตามมติ ครม. ที่ นร 0505/ว 197 ลงวันที่ 17 พ.ย.2548 ให้ถือว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง และลงโทษอย่างน้อยปลดออกจากราชการ วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ 58
3.เรื่องอุทธรณ์ที่ฟังไม่ขึ้น ให้ยกอุทธรณ์ กรณีที่ 56 ตัดเงินเดือน 5 % 3 เดือน เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการ - จพง.ป่าไม้อาวุโส อุทธรณ์ถูกอธิบดี สั่งลงโทษตัดเงินเดือน 5 % 3 เดือน ฐานไม่อุตสาหะฯ ตาม ม. 84 วรรคหนึ่ง แห่งพ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 กรณีเมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง จ.บริหารงานป่าไม้ 7 ทำหน้าที่ หน.ด่านป่าไม้จังหวัด ได้รับคำขอออกใบเบิกทางนำไม้เคลื่อนที่ ได้สั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตรวจสอบไม้ ซึ่งได้รับบันทึกในวันนั้นว่า ได้ตรวจสอบถูกต้องผู้จึงลงนามอนุญาต แต่ไม่รอบคอบเกิดความผิดพลาด ไม้ที่อนุญาตเป็นไม้พะยูงท่อน มิใช่ไม้เหลี่ยม - ข้อเท็จจริงพบว่าไม้ที่ตรวจนับใหม่มีจำนวนไม้เพิ่มขึ้น 12 ท่อน และมีปริมาตรเพิ่มขึ้น 60 ลูกบาศก์เมตร แยกเป็นไม้ท่อน 1,554 ท่อน และไม้พะยูงแปรรูป จำนวน 122 เหลี่ยม เห็นได้ว่าส่วนใหญ่เป็นไม้ท่อนมิใช่ไม้แปรรูป 59
3.เรื่องอุทธรณ์ที่ฟังไม่ขึ้น ให้ยกอุทธรณ์ กรณีที่ 56 ตัดเงินเดือน 5 % 3 เดือน เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการ พบความไม่รอบคอบอื่นอีก การ “สุ่มตรวจ”ไม้ ในข้อ 16.1 ของระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการนำไม้ฯเคลื่อนที่ พ.ศ. 2545 ให้ตรวจสอบไม้โดยวิธีสุ่มตรวจ แต่ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนไม้ กรณีนี้สุ่มตรวจเพียง 1 คันรถ ซึ่ง20% ต้องสุ่มตรวจ 2.6 คันรถ อีกทั้งมีรอยลบหมึกขาว แต่ระเบียบให้จำเป็นต้องแก้ไขให้ขีดฆ่าและประทับตราแล้วเขียนใหม่ และให้ผู้อนุญาตลงนาม แต่ไม่ปรากฎว่าผู้อุทธรณ์ได้ตรวจสอบ ก.พ.ค. พิเคราะห์แล้วเห็นว่า การที่ผู้บังคับบัญชา มีคำสั่งลงโทษตัดเงินเดือนผู้อุทธรณ์ 5 % เป็นเวลา 3 เดือน เหมาะสมแล้ว อุทธรณ์ฟังไม่ขึ้น จึงวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ 60
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม http://www.charuaypontorranin.com email: mtorranin@yahoo.com 61