การพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกร เป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) โดย นายประสงค์ ประไพตระกูล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเกษตรกร บรรยายในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ระดับประเทศ วันที่ 7 มีนาคม 2556 ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร(พืชสวน) จ.สมุทรสาคร 04/04/60
ความสำคัญของภาคเกษตร 04/04/60
ความสำคัญของภาคเกษตร 04/04/60
ความสำคัญของภาคเกษตร 04/04/60
ความสำคัญของภาคเกษตร 04/04/60
ปัญหาของเกษตรกรไทย - ภาคเกษตรไม่สามารถเร่งพัฒนาผลิตภาพการผลิตได้ทันต่อสภาพการแข่งขันในตลาดโลกที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ - ความเข้มแข็งของภาคเกษตรไทยมีแนวโน้มลดลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา - การส่งออกหลักของภาคเกษตรยังคงอยู่ในรูปของสินค้าขั้นปฐม - เกษตรกรส่วนใหญ่ยังประสบปัญหาหนี้สินและความยากจน โดยในปี 2550 ประเทศไทยมีคนยากจน ทั้งสิ้น 5.4 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นเกษตรกร ร้อยละ 56.9 - การขาดสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน : ภาคการเกษตร - มีการอพยพเข้าสู่นอกภาคเกษตรทั้งในรูปของการเคลื่อนย้ายแบบชั่วคราวและถาวร
สถานการณ์ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จำนวน 20,242 กลุ่ม สมาชิก จำนวน 515,950 คน คิดเป็นร้อยละ 9.5 ของประชากรภาคการเกษตรทั้งหมด (5.44 ล้านคน)
การพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ให้เป็น Smart Farmer 1.สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันภายในองค์กรและชุมชน โดยใช้กระบวนการกลุ่ม 2.การเชื่อมโยงเครือข่าย 3. การมีส่วนร่วม 4.การเสริมสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5.การจัดการกับทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น ในท้องถิ่นอย่างชาญฉลาด 6.การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมบนฐานความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
Smart Farmer คือใคร? Smart Farmer หรือเกษตรกรปราดเปรื่อง คือ บุคคลที่มี ความภูมิใจในการเป็นเกษตรกร มีความรอบรู้ในระบบการผลิตด้านการเกษตรแต่ละสาขา มีความสามารถในการวิเคราะห์ เชื่อมโยงและบริหารจัดการการผลิตและการตลาด โดยใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ คำนึงถึงคุณภาพและความปลอดภัย ของผู้บริโภค สังคมและสิ่งแวดล้อม
คุณสมบัติ ของ Smart Farmer 1. มีความรู้ในเรื่องที่ทำอยู่ 2. มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ๓. มีความตระหนักถึงคุณภาพสินค้าและความปลอดภัยของผู้บริโภค ๔. มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม / สังคม ๕. มีความภูมิใจในความเป็นเกษตรกร ๖. มีการบริหารจัดการผลผลิตและการตลาด
แนวทางการขับเคลื่อนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ให้เป็น Smart Farmer ประกอบด้วย 5 แนวทาง คือ 1) แต่งตั้งคณะทำงานการขับเคลื่อนนโยบาย Smart Farmer และ Smart Officer ของกรมส่งเสริมการเกษตร/เขต/จังหวัด 2) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจการขับเคลื่อนนโยบาย Smart Farmer และ Smart Officer ของกรมส่งเสริมการเกษตร 3) การสำรวจ จำแนกและปรับปรุงฐานข้อมูลเกษตรกรเพื่อจัดทำฐานข้อมูล Smart Farmer และ Smart Officer 4) การคัดเลือกเกษตรกรต้นแบบที่มีคุณสมบัติการเป็น Smart Farmer 5) ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรและองค์กรเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง โดยจัดให้การศึกษา อบรมพัฒนาศักยภาพของเกษตรกร ภายใต้โครงการ/กิจกรรม ที่ดำเนินการอยู่แล้ว เพื่อให้บรรลุผลตามคุณสมบัติที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด
การดำเนินงานที่สนับสนุนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ปี 2556 1.กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 1.1 พัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกร (1 อำเภอ 1 กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรต้นแบบ) 1) อบรมวิทยากรเกษตรกรในการถ่ายทอดความรู้ 2) จัดทำสื่อการถ่ายทอดความรู้ 3) จัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนายกระดับกลุ่ม 2. เอกสารวิชาการ เรื่องการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรเกษตรกรและเคหกิจเกษตร 3.ชุมนุมแม่บ้านเกษตรกรและแสดงนิทรรศการและสินค้ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ระดับเขต 1) ชุมนุมแม่บ้านเกษตรกรระดับเขต 2) จัดงานแสดงนิทรรศการและสินค้ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 4. การสัมมนาเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับประเทศ
สวัสดี