ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว ของข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 www.cgd.go.th
มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 20 กันยายน 2554 หลักการและเหตุผล เห็นชอบในหลักการของ ร่างระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจำของ ส่วนราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 20 กันยายน 2554
ผู้มีสิทธิได้รับเงิน พชค. ข้าราชการ 1 ลูกจ้างประจำ 2 ลูกจ้างชั่วคราว 3 ทหารกองประจำการ 4 * พนักงานราชการ ครม.มอบให้สำนักงาน ก.พ. ดำเนินการ
เกณฑ์การได้รับเงิน พชค. (ปรับ 5%) ใช้บังคับตั้งแต่ 1 เมษายน 2554 จนถึง 31 ธันวาคม 2554 ข้อ 5 ของร่างระเบียบฯ (หลักเกณฑ์ ข้อ 6) ข้าราชการและลูกจ้างประจำ ที่ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้าง ไม่ถึงเดือนละ 12,285 บาท ให้รับเงิน พชค. เดือนละ 1,500 บาท แต่ รวมกันแล้วต้องไม่เกิน เดือนละ 12,285 บาท แต่ ถ้ารวมกันแล้ว ไม่ถึงเดือนละ 8,610 บาท ให้ได้รับเงิน พชค. เพิ่มขึ้นอีกจนถึง เดือนละ 8,610 บาท * ปรับเพิ่มขั้นต่ำและขั้นสูงเพิ่มขึ้น 5% จากเดิมขั้นต่ำ 8,200 เป็น 8,610 และเดิมขั้นสูง 11,700 เป็น 12,285
เกณฑ์การได้รับเงิน พชค. (นโยบายรัฐบาล) ใช้บังคับตั้งแต่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป ข้อ 6 ของร่างระเบียบฯ (หลักเกณฑ์ ข้อ 6/1) ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราว วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ที่มีเงินเดือนหรือค่าจ้าง ไม่ถึงเดือนละ 15,000 บาท ให้ได้รับเงิน พชค. เพิ่มขึ้นอีกจนถึง เดือนละ 15,000 บาท
เกณฑ์การได้รับเงิน พชค. (นโยบายรัฐบาล) ใช้บังคับตั้งแต่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป ข้อ 6 ของร่างระเบียบฯ (หลักเกณฑ์ ข้อ 6/2) ข้าราชการและลูกจ้างประจำ วุฒิการศึกษาต่ำกว่า ระดับปริญญาตรี ที่มีเงินเดือนหรือค่าจ้าง ไม่ถึงเดือนละ 12,285 บาท ให้ได้รับเงิน พชค. เดือนละ 1,500 บาท แต่ รวมกันแล้วต้องไม่เกิน เดือนละ 12,285 บาท แต่ ถ้ารวมกันแล้ว ไม่ถึงเดือนละ 9,000 บาท ให้ได้รับเงิน พชค. เพิ่มขึ้นอีกจนถึง เดือนละ 9,000 บาท หลักเกณฑ์คล้ายกับ 1 เม.ย. 54 แต่ปรับอัตราขั้นต่ำจาก 8,610 เป็น 9,000
เกณฑ์การได้รับเงิน พชค. (นโยบายรัฐบาล) ใช้บังคับตั้งแต่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป ข้อ 6 ของร่างระเบียบฯ (หลักเกณฑ์ ข้อ 6/3) ลูกจ้างชั่วคราว วุฒิการศึกษาต่ำกว่า ระดับปริญญาตรี ที่มีค่าจ้าง ไม่ถึงเดือนละ 9,000 บาท ให้ได้รับเงิน พชค. เพิ่มขึ้นจากค่าจ้างอีกจนถึง เดือนละ 9,000 บาท
เกณฑ์การได้รับเงิน พชค. ข้อ 7 ของร่างระเบียบฯ เดิม ใหม่ ยกเลิก ข้อ 7 ของระเบียบฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551) การคำนวณเงินเพิ่ม การครองชีพชั่วคราว ให้คิดจากฐานเงินเดือน หรือค่าจ้างรวมกับเงินตอบแทน พิเศษเต็มขั้นสูง และค่าตอบแทน นอกเหนือจากเงินเดือน เปลี่ยนหลักเกณฑ์ การคำนวณเงินเพิ่ม การครองชีพชั่วคราว ให้คิดจากฐานเงินเดือน หรือค่าจ้างจริง ของผู้มีสิทธิ ใช้บังคับตั้งแต่ 1 เมษายน 2554 จนถึง 31 ธันวาคม 2554 ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา
เกณฑ์การได้รับเงิน พชค. (ปรับ 5%) ใช้บังคับตั้งแต่ 1 เมษายน 2554 จนถึง 31 ธันวาคม 2554 ข้อ 8 ของร่างระเบียบฯ (หลักเกณฑ์ ข้อ 7/1) ทหารกองประจำการ ที่ได้รับเงินเดือนในระดับ พ. 1 เมื่อรวมเงินเดือนกับเบี้ยเลี้ยงประจำแล้ว ไม่ถึงเดือนละ 8,610 บาท ให้ได้รับเงิน พชค. ตามอัตราที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน เดือนละ 8,610 บาท
เกณฑ์การได้รับเงิน พชค. (นโยบายรัฐบาล) ใช้บังคับตั้งแต่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป ข้อ 9 ของร่างระเบียบฯ (หลักเกณฑ์ ข้อ 7/2) ทหารกองประจำการ ที่ได้รับเงินเดือนในระดับ พ. 1 เมื่อรวมเงินเดือนกับเบี้ยเลี้ยงประจำแล้ว ไม่ถึงเดือนละ 9,000 บาท ให้ได้รับเงิน พชค. ตามอัตราที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน เดือนละ 9,000 บาท
การออกคำสั่งการได้รับเงิน พชค. ข้อ 9 ของระเบียบฯ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 ให้ส่วนราชการออกคำสั่งการได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว และให้ส่วนราชการผู้เบิกส่งคำขอเบิกเงินซึ่งตรวจสอบถูกต้องแล้ว มายังกรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัด โดยไม่ต้องส่งสำเนาคำสั่งประกอบคำขอเบิกเงิน
ปัญหาในการปฏิบัติเกี่ยวกับเงิน พชค. ข้อ 12/1 ของระเบียบฯ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 ในกรณีที่ส่วนราชการมีปัญหาในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ให้กระทรวงการคลัง เป็นผู้วินิจฉัย และในกรณีที่ส่วนราชการไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนด ในระเบียบนี้ ให้ส่วนราชการ ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง