ระบบข้อสอบออนไลน์
ข้อมูลผู้จัดทำ หัวข้อโครงงาน ระบบข้อสอบออนไลน์ หัวข้อโครงงาน ระบบข้อสอบออนไลน์ นิสิต นาย ปวเรศ ชาวเวียง รหัสประจำตัว 54160258 อาจารย์ที่ปรึกษา นายประจักษ์ จิตเงินมะดัน กรรมการพิจารณาโครงงาน นายประจักษ์ จิตเงิน มะดัน ระดับการศึกษา วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาควิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาการ สารสนเทศ มหาวิทยาลัย บูรพา ปีการศึกษา 2556
สารบัญ 1.ที่มาของปัญหา 2.วัตถุประสงค์ของโครงงาน 3.แนวทางพัฒนาโครงการ 4.ขอบเขตของโครงงาน 5. ประโยชน์ที่คาดว่าได้รับ 6. ทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน 7. เวลาที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน 8. อ้างอิง
ที่มาของปัญหา ในการทำข้อสอบแบบดังเดิมนั้นอาจจะมีการทุจริตในขณะที่ทำข้อสอบ เนื่องจากผู้คุมสอบนั้นไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง การตรวจสอบแบบเลือกตอบแบบดังเดิมนั้นอาจมีข้อผิดพลาดในตรวจข้อสอบได้ การออกข้อสอบแบบดังเดิมนั้นมีขั้นตอนที่มากกว่าเนื่องจากต้องออกข้อสอบแล้วนำไปพิมพ์และยังต้องส่งไปถ่ายเอกสารจึงมีขั้นตอนการทำงานที่มากกว่า
วัตถุประสงค์ของโครงงาน เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานการออกข้อสอบแบบเดิม ให้มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ง่ายต่อการค้นหา เพื่อลดการทุจริตในการทำข้อสอบ เนื่องจากระบบสามารถสุ่มข้อสอบได้ เพื่อให้การสร้างข้อสอบและการทำข้อสอบมีความสะดวกและมีประสิทธิภาพมายิ่งขึ้น เพื่อให้นักศึกษาสามารถทราบผลการสอบได้ทันที เมื่อทำข้อสอบเสร็จ
แนวทางพัฒนาโครงการ ระบบข้อสอบออนไลน์นั้น จะทำการพัฒนาภายใต้หลักการของการออกข้อสอบในรูปแบบต่างๆเป็นพื้นฐาน โดยข้อสอบที่ใช้จะเป็นข้อสอบแบบอัตนัยและข้อสอบแบบเลือกตอบ โดยการสร้างข้อสอบนั้นจะต้องมีหลักในการสร้างดังนี้ 1. ข้อสอบอัตนัยหรือความเรียง (Subjective or Essay Test) ลักษณะทั่วไป เป็นข้อสอบที่มีเฉพาะ คำถาม แล้วให้เขียนตอบอย่าง เสรี หลักในการสร้าง 1. เขียนคำชี้แจงเกี่ยวกับวิธีการตอบให้ชัดเจน 2. ควรเขียนคำถามให้ชัดเจน และควรใช้คำถามให้ใช้ความคิด เช่น จงอธิบาย จงวิเคราะห์ 3. กำหนดเวลาให้ตอบนานพอสมควร
แนวทางพัฒนาโครงการ(ต่อ) 2. ข้อสอบเลือกตอบ (Multiple Choice Test) ลักษณะทั่วไปคำถามแบบเลือกตอบจะประกอบด้วยตัวเลือกที่เป็นคำตอบถูกและตัวเลือกที่เป็นตัวลวง และคำถามแบบเลือกตอบที่ดี นิยมใช้ตัวเลือกที่ใกล้เคียงกันดูเผิน ๆ จะเห็นว่าทุกตัวเลือกถูกหมด หลักในการสร้าง 1. เขียนตอนนำให้เป็นประโยคคำถามสมบูรณ์ อาจใส่เครื่องหมายปรัศนี (?) 2. เน้นเรื่องจะถามให้ชัดเจนและตรงจุดไม่คลุมเครือ 3. ควรถามในเรื่องที่มีคุณค่าต่อการวัด 4. หลีกเลี่ยงคำถามปฏิเสธ 5. ควรมีตัวเลือก 4-5 ตัว
แนวทางพัฒนาโครงการ(ต่อ) แนวทางในการป้องกันการทุจริตข้อสอบ มีการตัดการเชื่อมอินเตอร์เน็ตเพื่อการค้นหาข้อมูล มีการป้องกันการเสียบแฟลชไดฟ์ มีการสุ่มข้อสอบเพื่อป้องกันการทุจริต
ขอบเขตของโครงงาน ระบบข้อสอบออนไลน์ นี้ แบ่งขอบเขตออกเป็น 2ส่วนดังนี้ - ส่วนของนักศึกษา เป็นส่วนสำหรับให้นักศึกษาสามารถจัดการข้อมูลส่วนตัวของตนเองได้แล้วยังสามารถเข้ามาทำข้อสอบ ดูผลการสอบที่นักศึกษาได้ทำไป - ส่วนของอาจารย์ เป็นส่วนที่ให้อาจารย์สามรถเข้าสู่ระบบเพื่อจัดการข้อสอบและยังสามารถตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาได้
ประโยชน์ที่คาดว่าได้รับ มีความสะดวกในการสร้างของสอบมากยิ่งขึ้นและยังช่วยขั้นตอนในการสร้างข้อสอบให้กับอาจารย์ มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ สามารถค้นหาข้อมูลได้ง่าย และรวดเร็ว สามารถลดการทุจริตในการสอบของนักศึกษา นักศึกษาสามารถทราบผลการสอบได้ทันที การประเมินผลเป็นไปอย่างรวดเร็ว และได้ข้อมูลที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน ด้านฮาร์ดแวร์ คอมพิวเตอร์ เครื่อง Server ด้านซอฟต์แวร์ โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล MySQL Notepad ++ Macromedia Dream weaver Editplus
เวลาที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน ขั้นตอนดำเนินงาน เดือน พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. 1.เก็บรวบรวมข้อมูล 2.วิเคราะห์ข้อมูล 3.การสรุปผลการศึกษา 4.การเขียนรายงานการวิจัย 5.การทำผลงานนำเสนอการวิจัย
อ้างอิง ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ เทคนิคการออกข้อสอบให้ดี มีคุณภาพ ค้นหาเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2556 แหล่งที่มา http://rsuartdesign.blogspot.com/2010/12/blog-post.html เยาวเรศ จันทะแสน หลักการในการสร้างแบบทดสอบต่างๆ ค้นหาเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2556 แหล่งที่มา http://reg.ksu.ac.th/teacher/yahvaret/lession3.html
จบการนำเสนอ ขอบคุณครับ จบการนำเสนอ ขอบคุณครับ