งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ดร.ธ.ธง พวงสุวรรณ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

2 ลักษณะแบบทดสอบหลายตัวเลือกที่ดี
ข้อคำถามที่เป็นส่วนนำนั้น ควรใช้ภาษาที่ชัดเจน กระทัดรัดได้ใจความ และเรื่องที่ถามควรเป็นเรื่องที่สำคัญเพียงเรื่องเดียวในแต่ละข้อ ตัวคำถามควรใช้ข้อความในเชิงบวก หลีกเลี่ยงการใช้ข้อความเชิงปฏิเสธ แต่ถ้าจำเป็นต้องใชก็ควรขีดเส้นใต้หรือเขียนเป็นตัวเน้นคำที่เป็นปฏิเสธเพื่อให้เห็นชัดเจน และเป็นการเน้นตัวคำถามด้วย ข้อกระทงแต่ละข้อ ควรเป็นอิสระหรือแยกขาดจากกัน ไม่ขึ้นอยู่กับข้ออื่นๆ ในแบบทกสอบชุดนั้นๆ

3 ลักษณะแบบทดสอบหลายตัวเลือกที่ดี
ถ้าข้อคำถามข้อใดที่ต้องอาศัยกราฟ ตาราง ฯลฯ ตัวคำถามและตัวเลือกจะต้องหาจากข้อมูลหรือมีความเกี่ยวเนื่องที่มาจากกราฟหรือตารางประกอบนั้นๆ คำที่จะให้ความหมาย ควรให้อยู่ในตัวคำถาม ส่วนคำจำกัดความให้อยู่ในตัวเลือก ควรหลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลือกประเภท “ถูกทุกข้อ” หรือ “ทุกข้อที่กล่าวมาข้างต้น” หรือ “คำตอบถูกไม่ได้ให้ไว้”

4 ลักษณะแบบทดสอบหลายตัวเลือกที่ดี
การเขียนคำถาม จะต้องระวังไม่ให้คำตอบของข้อหนึ่งสามารถได้มาจากคำถามของอีกข้อหนึ่ง ลักษณะของข้อคำถาม จะต้องไม่ก่อให้เกิดการชี้แนะคำตอบ การจัดเรียงตำแหน่งตัวเลือกที่ถูกของข้อต่างๆ ควรอยู่ในลักษณะสุ่ม

5 ลักษณะแบบทดสอบหลายตัวเลือกที่ดี
ตัวเลือกที่ถูก ควรจะกระจายไปยังลำดับที่ ก ข ค ง หรือ จ ในจำนวนที่ไม่แตกต่างกันนัก การจัดเรียงข้อกระทงความ และการดำเนินการจัดพิมพ์ควรให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน ข้อคำถามข้อหนึ่งควรจะสิ้นสุดในหน้าเดียวกัน ไม่ควรที่จะมีคำถามและตัวเลือกของข้อเดียวกันไปอยู่แยกกันคนละหน้าเพราะจะทำให้ผู้ตอบสับสน

6 หลักในการสร้างแบบทดสอบอัตนัย
เขียนคำสั่งหรือคำชี้แจงให้ชัดเจนว่า แบบทดสอบนั้นต้องการให้ผู้ตอบทำอย่างไร มีเกณฑ์ในการตรวจให้คะแนนอย่างไร ควรถามเฉพาะเรื่องที่สำคัญๆ และเป็นเรื่องที่แบบทดสอบปรนัยอื่นๆ วัดได้ไม่ดีเท่า ควรระบุให้ชัดเจนว่า แบบทดสอบนั้นเป็นแบบจำกัดคำตอบหรือไม่ เพื่อผู้ตอบจะได้วางแผนการตอบได้ถูกต้อง

7 หลักในการสร้างแบบทดสอบอัตนัย
ควรกำหนดขอบเขตของคำถาม เพื่อให้ผู้ตอบเข้าใจจุดมุ่งหมายในการวัดและสามารถตอบได้ตรงประเด็นการวัด เขียนคำถามโดยพิจารณาระดับความยากง่ายและจำนวนข้อให้เหมาะสมกับเวลาที่กำหนดให้เพื่อให้ผู้ตอบสามารถจะตอบได้ครบทุกข้อ ควรกำหนดคะแนนและหลักเกณฑ์ในการให้คะแนนของแต่ละข้อไว้ด้วย

8 หลักในการสร้างแบบทดสอบอัตนัย
ไม่ควรให้มีการเลือกตอบเป็นบางข้อ เพราะอาจมีการได้เปรียบกันเนื่องจากข้อสอบแต่ละข้อมีความยากง่ายไม่เท่ากันและวัดเนื้อหาแตกต่างกัน ไม่ควรถามเรื่องที่ผู้เรียนเคยทำหรือเคยอภิปรายมาก่อน เพราะจะเป็นการวัดความจำ ควรถามในเรื่องที่ผู้เรียนต้องพยายามนำกฎเกณฑ์หรือความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ เขียนคำถามให้ชัดเจนและมีลักษณะเฉพาะเจาะจงว่าให้ต้องการให้ตอบอย่างไร หรือในแง่ใด

9 หลักในการสร้างแบบทดสอบอัตนัย
ถ้าเป็นคำถามที่เป็นประเด็นขัดแย้ง ยังหาข้อยุติไม่ได้ควรมุ่งทดสอบความสามารถในการหาหลักฐานมายืนยันมากกว่าทดสอบอย่างอื่น ไม่ควรจะเน้นว่าถูกหรือผิด ใช่หรือม่ใช่ ควรจะทดสอบการหาเหตุผลมาอธิบายหรือสนับสนุนมากกว่า พยายามใช้คำถามหลายๆ แบบหลีกเลี่ยงคำถามประเภทวัดความรู้ ความจำ ควรใช้คำถามที่วัดสมรรถภาพขั้นสูง

10 หลักในการสร้างแบบทดสอบอัตนัย
พยายามเขียนข้อสอบให้มีจำนวนมากข้อ โดยจำกัดให้ตอบสั้นๆ เพื่อจะได้วัดได้ครอบคลุมเนื้อหาซึ่งจะทำให้แบบทดสอบมีความเชื่อมั่นสูงขึ้น เมื่อเขียนคำถามแล้ว ควรเขียนคำตอบด้วยเพื่อเป็นการตรวจสอบความชัดเจนของคำถาม ถ้าไม่ชัดเจนจะได้ปรับปรุงแก้ไขให้ชัดเจนก่อนนำไปใช้จริง ถ้าแบบทดสอบมีจำนวนข้อหลายข้อ ควรจะเรียงลำดับจากง่ายไปหายากเพื่อกระตุ้น จูงใจหรือยั่วยุให้ผู้ตอบอยากตอบมากขึ้น


ดาวน์โหลด ppt การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google