แนะนำบริการสนับสนุนการวิจัย (Researcher Service Support) สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 16 กุมภาพันธ์ 2555
โครงสร้างฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศ งานบริการสารนิเทศ งานโสตทัศนวัสดุ ศูนย์สนเทศภาคเหนือ บริการการอ่าน (ยืมคืน / ยืมคืนด้วยตนเอง /บริการจอง /หนังสือสำรอง/ ยืมระหว่าง ห้องสมุด /นำส่งเอกสาร/อ่าน-สำรวจชั้น / บริการวารสารและเอกสาร) บริการสนับสนุนการวิจัย (ตอบคำถามและช่วยการวิจัย/ บริการฝึกอบรม/ บรรณารักษ์พบ นักวิจัย/ Alert/วิเคราะห์การอ้างอิง/ ห้องค้นคว้าบุคคล-กลุ่ม / บริการข่าวสารสนเทศจาก ฐานข้อมูล) บริการพิเศษ (SMS, American Corner, WWW, Self Access Learning, Moral Corner, Best Seller, ห้องศาสตราจารย์สุกิจฯ, บริการนักศึกษากลุ่มพิเศษ) อื่นๆ (กิจกรรมส่งเสริมการใช้สารนิเทศ เช่น ตอบคำถามชิงรางวัล smart reader of the year/ลงทะเบียนบัตรเข้าห้องสมุด / จุดตรวจเข้าออก /ของหายในห้องสมุด /บริการ ล่วงเวลา )
จุดเริ่มต้น “โครงการศูนย์บริการข้อมูลแก่นักวิจัย” สำนักหอสมุดได้กำหนดเป้าหมายการเป็น ห้องสมุดที่สนับสนุนการวิจัย ในแผนพัฒนาสำนักหอสมุดระยะที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) เพื่อตอบสนองการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังนั้นในปี พ.ศ. 2550 สำนักหอสมุดจึงได้ จัดให้มีศูนย์บริการข้อมูล แก่นักวิจัย (Researchers’ Service Center: RSC) สำหรับเป็นแหล่งสนับสนุนนักวิจัย อาจารย์ และนักศึกษาบัณฑิตศึกษา ให้มีการผลิตผล งานวิจัยที่มีคุณภาพ
วัตถุประสงค์ เพื่อให้นักวิจัยสามารถใช้สารนิเทศได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และหลากหลาย ส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรสารนิเทศและบริการของ สำนักหอสมุดอย่างคุ้มค่า ตอบสนองเป้าหมายสำนักหอสมุดในการเป็นห้องสมุดที่ สนับสนุนการวิจัย และตอบสนองยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยในการเป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการวิจัย และมีผลงานวิจัยที่เป็นเลิศ
ขั้นตอนและวิธีดำเนินงาน ขั้นตอนที่ 1 จัดเตรียมบุคลากร ขั้นตอนที่ 2 วางแผนการดำเนินงาน ขั้นตอนที่ 3 จัดเตรียมแหล่งข้อมูล (Provide Resources) ขั้นตอนที่ 4 พัฒนาการให้บริการ (Services Development) ขั้นตอนที่ 5 ประเมินผลการดำเนินงาน
19 กันยายน 2551 ขั้นตอนที่ 1 จัดเตรียมบุคลากร ขั้นตอนที่ 1 จัดเตรียมบุคลากร มีการส่งผู้บริหารและบุคลากรงานบริการสารนิเทศและห้องสมุดคณะไปศึกษาดูงานการจัดบริการเพื่อการวิจัยที่มหาวิทยาลัยในประเทศออสเตรเลีย ในเดือนกรกฎาคม 2550 เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานการสนับสนุนวิจัยของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ มีการถ่ายทอดความรู้แก่คณะทำงานและบุคลากรห้องสมุดในเวทีการจัดการองค์ความรู้ (KM Forum) 19 กันยายน 2551
ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนและดำเนินงาน แต่งตั้งคณะทำงานนำร่องโครงการบริการข้อมูลนักวิจัย 3 กลุ่มสาขาวิชา มีการประชุม การรายงานผลการดำเนินการในแต่ละสาขาวิชา เพื่อแลกเปลี่ยนเทคนิคและวิธีการการพบนักวิจัย ตลอดจนการรายงานปัญหาที่ประสบ และการหาแนวทางแก้ไข