หลักการทำงานคอมพิวเตอร์
การทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยหลักๆแล้วการทำงานมี 3 ขั้นตอน คือ . การทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยหลักๆแล้วการทำงานมี 3 ขั้นตอน คือ 1.Input (หน่วยรับข้อมูล) 2.Process(หน่วยประมวลผล) 3.Output (หน่วยแสดงผลลัพธ์ของข้อมูล) 4.Memory (หน่วยความจำ)
ขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ Process Input Output รับข้อมูลเข้า ประมวลผลข้อมูล ส่งออกเป็น ผลลัพธ์ Memory
หน่วยประมวลผล (Central Processing Unit : CPU) หน่วยประมวลผลกลาง หรือไมโครโพรเซสเซอร์มีหน้าที่นำคำสั่งและข้อมูลที่เก็บไว้ใน หน่วยความจำมาแปลความหมาย และกระทำตาม โดยคำสั่งพื้นฐานของ ไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งแทนด้วยรหัสเลขฐานสอง
(Central Processing Unit : CPU) เป็นการรับข้อมูลมา คิดวิเคราะห์ จาก หน่วยความจำ เมื่อ ประมวลผล หรือคิดคำนวณหาผลต่างๆได้และ จึงจะส่งต่อไปยัง Output โดยขั้นตอนนี้มีความสำคัญ เปรียบได้กับ “สมอง” ของคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลการจาก คีย์บอร์ด ที่พิมพ์มา 10+10 หน่วยประมวลผลรับจะข้อมูล 10+10 มาหาคำตอบ เมื่อได้คำตอบ หน่วยประมวลผล จะนำผลลัพธ์ที่ได้ไปแสดงผล ออก ทาง Output
หน่วยประมวลผล (Central Processing Unit : CPU) แบ่งการทำงานได้ 3 หน่วย 1.หน่วยควบคุม (Control Unti) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน ควบคุมการเขียนอ่านข้อมูลระหว่างหน่วยความจำของซีพียู ควบคุมกลไกการทำงาน ทั้งหมดของระบบ ควบคุมจังหวะเวลา โดยมีสัญญาณนาฬิกา เป็นตัวกำหนดจังหวะการทำงาน
2. หน่วยคำนวณ (ALU: Arithmetic and logic unit ) เป็นหน่วยที่มีหน้าที่นำเอาข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสองมาประมวลผลทางคณิตศาสตร์ และตรรกะ เช่น การบวก การลบ การเปรียบเทียบ และ การสลับตัวเลข เป็นต้นการคำนวณทำได้เร็วตามจังหวะการควบคุม ของหน่วยควบคุม
3.หน่วยความจำ (Memory) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง และเก็บผลลัพธ์ที่ได้มาจากการประมวลผลแล้ว เพื่อเตรียม ส่งไปยังหน่วยแสดงผล เป็นหน่วยจัดเก็บข้อมูลที่ทำงานได้รวดเร็วที่สุด ซึ่งสามารถจำแนก ตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภท
1.หน่วยความจำหลัก (Main Memory) หน่วยความจำภายใน (Internal Memory) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ รอม (Read Only Memory - ROM) เป็นหน่วยความจำที่มีโปรแกรมหรือข้อมูลอยู่แล้ว สามารถเรียกออกมาใช้งานได้แต่จะไม่สามารถเขียนเพิ่มเติมได้ ถึงจะไม่มีกระแสไฟฟ้าไปเลี้ยงให้แก่ระบบข้อมูลก็ไม่สูญหายไป
แรม (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น เมื่อใดไม่มีกระแสไฟฟ้ามาเลี้ยงข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำ ชนิดนี้จะหายไปทันที
หน่วยความจำรอง (Secondary Memory) เป็นหน่วยความจําที่สามารถรักษาข้อมูลได้ หลังจากที่ได้ทําการ ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว หน่วยความจํารองมีประโยชน์ต่อระบบฐานข้อมูลเป็นอย่างมาก ถ้าปราศจากหน่วยความจํารองแล้วเราจะไม่สามารถเก็บรักษาข้อมูลเอาไว้ใช้ได้ในอนาคต
การทำงานของหน่วยความจำสำรอง CPU หน่วยควบคุม ALU ข้อมูลเข้า แสดงข้อมูลออก หน่วยความจำหลัก เรียกใช้ บันทึกข้อมูล ความจำสำรอง