ประเพณีของชาวสุรินทร์ จัดทำโดย นางสาวอัจฉราพรรณ เปียยก เลขที่ 3 นางสาวศุภรัตน์ บำรุงตน เลขที่ 10 นางสาวจิรนันท์ ปิธิระโจ เลขที่ 17 นางสาวโยธกา พะนิรัมย์ เลขที่ 23 นางสาวศักดิ์ ประดับ เลขที่ 31 นำเสนอ คุณครูประใพวรรณ สมจันทร์
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ประเพณีพื้นบ้านของชาวสุรินทร์ส่วนใหญ่เป็นมรดกที่ตกทอดมาจาก บรรพบุรุษสู่ลูกหลานมีการประพฤติปฏิบัติมาหลายชั่วอายุคน ซึ่งจังหวัดสุรินทร์ก็มีชนเผ่า พื้นเมืองที่หลากหลายและแต่ละชนเผ่าก็มีประเพณีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไปอาทิเช่น ประเพณีแซนโฎนตา ซึ่งเป็นประเพณีที่ชาวสุรินทร์ชนเผ่าเขมรสืบทอดกันมาช้านานแล้วเป็น การแสดงออกถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ งานช้างสุรินทร์ เป็นประเพณีของชนเผ่ากูย ในสุรินทร์ ซึ่งชนเผ่านี้มีความเชี่ยวชาญในการจับช้าง เลี้ยงช้าง และฝึกช้างมาแต่อดีต ประเพณีบวชนาคแห่ช้าง เป็นประเพณีที่จัดขึ้นในวันขึ้น 13-15ค่ำเดือน 6 จะจัดขึ้นที่ อำเภอท่าตูมโดยจะมีกระบวนการแห่แหนบรรดานาคด้วยขบวนช้างกว่า50เชือก ข้ามลำ น้ำมูลอย่างเอิกเกริก ประเพณีโกนจุก เป็นประเพณีที่ชาวสุรินทร์ในอดีตนิยมไว้จุกให้กับ เด็กๆ เนื่องจากมีความเชื่อว่า ผม จุกตรงกลางกระหม่อมช่วยกันไม่ให้กระหม่อมที่บางโดน น้ำค้างซึ่งอาจทำให้เด็กเป็นหวัดได้ และยังมีอีกหลายประเพณีที่เกี่ยวกับความเชื่อดั้งเดิม ของชาวสุรินทร์
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ประเพณีของชาวสุรินทร์ 2. เพื่อฝึกทักษะกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม 3. เพื่อสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมของชุมชนคนสุรินทร์
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงงาน 1. บุคคลจากต่างถิ่นได้รู้ถึงประเพณีวัฒนธรรมของชาวสุรินทร์2. สมาชิกในกลุ่มเกิดทักษะกระบวนการทำงาน 3. ได้สืบทอดประเพณีวัฒนธรรมของชุมชนให้อยู่กับชาวสุรินทร์สืบไป
วิธีการดำเนินการ ในการทำงานจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ในรูปแบบการนำเสนอ Power point เรื่องประเพณีของชาวสุรินทร์นี้ คณะผู้จัดทำได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1.ทางคณะผู้จัดทำโครงงาน ได้ประชุมปรึกษากันและตัดสินใจเลือกทำโครงงานใน หัวข้อ “ประเพณีของชาวสุรินทร์” 2.ศึกษาค้นคว้าและเก็บรวมรวบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ คือ ประเพณีของ ชาวสุรินทร์ว่ามีเนื้อหามากน้อยเพียงใดและต้องศึกษาคว้าเพิ่มเติมเพียงใดจากเว็บไซด์ ต่างๆและเก็บข้อมูลไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาต่อไป 3.นำเนื้อหาที่ได้มาลงมือปฏิบัติในโปรแกรมนำเสนอ Power point 4.ตรวจสอบเนื้อหาสาระของเรื่องและข้อผิดพลาดของรายงาน 5.อภิปรายนำเสนอต่อคุณครูที่ปรึกษาโครงงานและเพื่อนร่วมชั้นเรียน
ประเพณีบุญวันสารท(แซนโฎนตา) ประเพณีโดน ตาเป็นประเพณีหนึ่งที่มี ความสำคัญที่ปฏิบัติทอดกันมา อย่างช้านานของชน เผ่าเขมรเป็นการแสดงออก ถึงความกตัญญูต่อผู้มี พระ คุณ สะท้อนให้เห็นถึงความรักความกตัญญู ของสมาชิกในครอบครัว
ประเพณีงานแสดงช้าง จังหวัดสุรินทร์ เป็นถิ่นฐานของชาวไทยเชื้อชาติสายกูย เป็นขนเผ่าที่เชี่ยวชาญการจับช้าง เลี้ยงช้าง และฝึกช้างมาแต่อดีตกาล แม้วันนี้การคล้อง ช้างป่าจะยุติไปแล้วแต่พวกเขายังเลี้ยงช้างไว้ดั่งสัตว์เลี้ยงของครอบครัว ชาวสุรินทร์ได้เคยทำชื่อเสียงให้แต่ประเทศไทยมาแล้ว และเมื่อ"การแสดง ของช้าง" ได้ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 2503 ทำให้นามของจังหวัดสุรินทร์ เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักท่องเที่ยวทั้งไทยและชาวต่างประเทศ
งานประเพณีบวชนาคแห่ช้าง ประเพณี บวชช้าง จัดขึ้นในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 6 (ราวกลางเดือน พฤษภาคมของทุกปี) ณ วัดแจ้งสว่าง บ้านตากลาง อ.ท่าตูมจะมีการแห่แหน บรรดานาคด้วยขบวนช้างกว่า 50 เชือก ข้ามลำน้ำมูลกันอย่างเอิกเกริก, พิธีโกนผมนาค
ประเพณีโกนจุก ชาวสุรินทร์ ในอดีตนิยมไว้ผมให้กับเด็กๆ เนื่องจากมีความเชื่อว่า ผม จุกตรงกระหม่อมช่วยกัน ไม่ให้ กระหม่อมที่บาง โดนน้ำค้างซึ่งอาจทำให้เด็ก เป็นหวัดได้ พออายุประมาณ 9,11,13 ขวบ ซึ่งโต แล้วต้องทำพิธีตัดจุกออก เสียพิธีโกนจุกจึงมีขึ้น
บรรณานุกรม http://detailraum.blogspot.com/ http://www.youtube.com/watch?v=0hMKv- 5y11E&feature=relmfu http://www.youtube.com/watch?v=azIlEWnfRDs&feature=r elmfu http://202.143.165.36/~klamore/1.html http://www.openbase.in.th/node/3942 http://www.youtube.com/watch?v=I3QEsjiOfKc http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0 %B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B 8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3
จบการนำเสนอแล้วค่ะ