การศึกษาชีววิทยา หน้าถัดไป
การศึกษาชีววิทยา ชีววิทยา เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง ดังนั้นการศึกษา ทางชีววิทยาจึงต้องอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific method) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการสืบเสาะแสวงหาความจริง หรือความรู้ต่างๆ ในธรรมชาติของนักวิทยาศาสตร์ นัก ชีววิทยา เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีซึ่งจะเป็นประโยชน์ ต่อการดำรงชีวิตของ มนุษย์ในปัจจุบันและอนาคตต่อไป หน้าถัดไป
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Process) 1. ขั้นตั้งปัญหาที่ได้จากการสังเกต 2. ขั้นตั้งสมมติฐาน 3. ขั้นตรวจสอบสมมติฐาน 4. ขั้นแปรผลและสรุปผลการทดลอง หน้าถัดไป
1.ตั้งปัญหา แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์ชาวอเมริกา ได้กล่าวว่า “การตั้งปัญหานั้นสำคัญกว่าการแก้ปัญหา” หลักการ ต้องสัมพันธ์กับข้อมูลที่มีอยู่กะทัดรัดชัดเจน หน้าถัดไป
2.ตั้งสมมติฐาน ขั้นตั้งสมมติฐาน เป็นการพยายามหาคำตอบหรือคำอธิบาย ซึ่งอาจเกิดจากการคาดคะเนหรือสมมติขึ้นซึ่งอาจเป็นจริงหรือไม่จริงก็ได้ ดังนั้นการตั้งสมมุติฐานต้อง “สัมพันธ์กับปัญหา หารแนวทางการตรวจสอบสมมติฐานได้” และมักอยู่ในรูป ถ้า..................ดังนั้น....................... หน้าถัดไป
3.ขั้นตรวจสอบสมมติฐาน 1.ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น 2.ตัวแปรตาม การตรวจสอบสมมติฐานของนักวิทยาศาสตร์มักใช้ วิธีการทดลอง สำรวจ หรือการค้นคว้าเพิ่มเติมจากผลงานวิจัยที่มีผู้ทำการศึกษามาก่อนแล้ว หรือใช้ทั้ง 3 อย่าง ประกอบกันประเมินดูว่า สมมติฐานที่ตั้งไว้นั้นเป็นจริงได้หรือไม่เพียงใด ตัวแปร (variable) คือ ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการทดลอง ตัวแปรมี 3 ชนิด คือ 1.ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น 2.ตัวแปรตาม 3.ตัวแปรควบคุม หน้าถัดไป
ตัวแปรอิสระ (independent variable) คือ ตัวแปรที่เราต้องการศึกษาโดยผู้ทำการทดลอง เป็นผู้กำหนด เช่น เราจะศึกษาเรื่อง “แสงสว่างมีความ จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชหรือไม่” แสงสว่าง จะต้องเป็นตัวแปรอิสระ หรือถ้าศึกษาเรื่อง “ชนิดของดิน มีอิทธิพลต่อการเจริญงอกงามของต้นกุหลาบหรือไม่” ในที่นี้ตัวแปรอิสระคือ ชนิดของดิน หน้าถัดไป
ตัวแปรตาม (dependent variable) คือ ตัวแปรที่แปรเปลี่ยนไปตามตัวอิสระ เช่น จากตัวอย่างในเรื่องตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม คือ อัตรา การเจริญเติบโตของพืช และอัตราการเจริญงอกงามของ ต้นกุหลาบโดยที่ เมื่อปริมาณแสงสวางเปลี่ยนไป อัตราการ เจริญเติบโตของพืชก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย เมื่อชนิดของดินเปลี่ยนแปลงไป อัตราการเจริญงอก งามของต้นกุหลาบก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย หน้าถัดไป
ตัวแปรควบคุม ตัวแปรที่ต้องควบคุมหรือ ตัวแปรคงที่ สิ่งที่ต้องจัดให้เหมือนกันในการทดลองเพื่อไม่ให้ กระทบผลการทดลอง เช่น เรื่อง “แสงสว่างมีความ จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชหรือไม่” ตัวแปรที่ต้อง ควบคุมตลอดการทดลอง คือ ชนิดของดิน อุณหภูมิ ปริมาณน้ำ ชนิดของพืช ขนาดที่ใช้ในการปลูก ฯลฯ โดยต่างกันเรื่องเดียว คือ เรื่องแสงสว่างที่เป็นตัวแปร อิสระ หน้าถัดไป
4.ขั้นแปรผลและสรุปผลการทดลอง เมื่อจบการทดลอง เราจะได้ข้อมูลหรือผลการทดลองออกมา ผลการทดลองก็คือข้อเท็จจริงจากการทดลองนั่นเอง การแปรผลและสรุปผลการทดลองก็คือการวิเคราะห์ ผลการทดลองนั้นว่ามีความเป็นไปได้ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่อย่างไร เสร็จแล้วจึงแปรผล และสรุปผลการทดลองเพื่อเป็นคำตอบของปัญหาต่อไป หน้าถัดไป
จบบทเรียนแล้วค่ะ เก่งมากเลย...