เทคนิคการประเมินผลการเรียนการสอน (การให้ระดับคะแนน:เกรด) โดย รศ. ดร. ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์
การวัดผล (Measurement) การวัดผลและการประเมินผลการเรียนรู้ การวัดผล (Measurement) การประเมินผล (Evaluation) การประเมินผล (Assessment)
การวัดผล (Measurement) หมายถึง การกำหนดค่าเชิงปริมาณ (Quantitative Description)เป็นตัวเลข การประเมินผล(Evaluation) หมายถึง การตัดสินค่า (Value Judgement) ผลการวัด เป็นเชิงปริมาณ การประเมินผล (Assessment) หมายถึงการตัดสินผลวิเคราะห์ที่ได้จากการวัด ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
Evaluation = Measurement +Value Judgment Assessment = Measurement + Non Measurement (Quantitative) (Qualitative) + Value Judgment
การวัดและการประเมินผลการเรียนการสอน 1. วัดความรู้ด้วยข้อสอบปรนัย และอัตนัย ผลที่ได้เป็นเชิงปริมาณ 2. วัดทักษะจากการประเมินผลกิจกรรมและการปฏิบัติ ด้วยกิจกรรมและแบบฝึก ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ 3. การประเมินอิงเกณฑ์และอิงกลุ่ม 4. ผลการประเมินเป็น ระดับคะแนน เกรดแทนด้วยตัวอักษร หรือตัวเลข
การให้ระดับคะแนน เป็นการตัดสินใจที่จะแปลค่าของคะแนนเป็น สัญญลักษณ์หรือ ตัวเลขหรือ สัญญลักษณ์อื่นๆ ที่สามารถบอกระดับความสามารถในการเรียนรู้
การให้ระดับคะแนน 6 วิธี การให้ระดับคะแนน 6 วิธี วิธีที่ 1 โดยตรงจากคะแนนดิบ วิธีที่ 2 โดยใช้คะแนนร้อยละ วิธีที่ 3 โดยใช้อันดับที่ วิธีที่ 4 โดยการวัดการกระจาย วิธีที่ 5 โดยใช้คะแนนมาตรฐาน วิธีที่ 6 โดยวิธีอิงเกณฑ์ และอิงกลุ่ม
วิธีที่ 1 การให้ระดับคะแนน โดยตรงจากคะแนนดิบ คะแนนดิบ(Raw Score)มีความหมายน้อยมาก เพราะเป็นคะแนนที่เกิดจากการสอบโดยตรง ไม่สามารถตีความหมายให้แน่ชัดว่า นักศึกษามีสภาพการเรียนรู้ดีมากน้อย เพียงใด เพราะไม่มีเกณฑ์เทียบเช่น นักศึกษาได้คะแนนภาษาไทย 40 คะแนน จากคะแนนเต็ม 60 คะแนน
วิธีที่ 2 การให้ระดับคะแนนโดยใช้คะแนนร้อยละ การทำคะแนนดิบให้เป็นร้อยละ จะสามารถเปรียบเทียบกับเกณฑ์ได้ วิธีนี้จะรู้ว่าใครเก่งหรืออ่อนกว่ากัน
ตัวอย่าง 1 วิชาสถิติมีคะแนนเต็มทั้งหมด 300 คะแนน มีนักศึกษาสอบได้คะแนนสูงสุด 270 คะแนน คะแนนต่ำสุด 80 คะแนน จงหาค่าคะแนนร้อยละของ นักศึกษาที่สอบได้คะแนนสูงสุดและต่ำสุด วิธีทำ นักศึกษาได้คะแนนสูงสุดคือ 270 คะแนน นักศึกษาได้คะแนนต่ำสุดคือ 80 คะแนน คะแนนเต็มทั้งหมด 300 คะแนน นักศึกษาที่ได้คะแนนสูงสุด คิดเป็นร้อยละ =90 หรือ 90% นักศึกษาที่ได้คะแนนต่ำสุด คิดเป็นร้อยละ =26.67
วิธีที่ 3 โดยใช้อันดับที่(Ranking) อันดับที่เป็นการแปลงต่ำแหน่งเมื่อเทียบ กับคนอื่นๆ ในกลุ่มเดียวกันหรือคนเดียวกันแต่ต่างวิชา โดยใช้ เปอร์เซนไทล์ ควอไทล์ เดไซล์ ตัวอย่าง กลุ่มที่ 1จันทนาได้คะแนน 50 ได้เปอร์เซนไทล์ ที่ 92 กลุ่มที่ 2 สุดาได้คะแนน 60 ได้เปอร์เซนไทล์ ที่ 80 จงเปรียบเทียบ
วิธีคิด: กลุ่มที่1จันทนาได้คะแนน 50 ได้ เปอร์เซนไทล์ ที่ 92หมายความว่ามีนักศึกษาได้คะแนนน้อยกว่า 50 อยู่ร้อยละ 92 ในขณะที่กลุ่มที่2 สุดา ได้เปอร์เซนไทล์ ที่ 80หมายความว่ามีนักศึกษาได้คะแนนน้อยกว่า 60 อยู่ร้อยละ 80 ดังนั้นจันทนาเก่งกว่าสุดา
หากเป็นคนเดียวกัน เช่น นิดดาได้คะแนนวิชา ภาษาไทย 70 คะแนน ตรงกับ P60 ได้คะแนน วิชาสังคม 65 คะแนน ตรงกับ P73 ดังนั้น นิดดาได้ตำแหน่งในวิชาสังคมดีกว่าภาษาไทย
ตัวอย่างการหาเปอร์เซนไทล์ จงหาค่าเปอร์เซนต์ของคะแนนนักศึกษา 20คน 20 18 16 15 14 11 8 8 6 4
การนำคะแนนที่เป็นร้อยละและเปอร์เซนไทล์ มาช่วยในการตัดสินใจให้เกรดได้ดังนี้(Linn and Miller,2005) A= 95-100% A= 90-100% A= 80-100% A= Percentage Top ลงมา 20% , B=87-94% B=80-89% B=70-79% B = next from A ลงมา 30% C=78-86% C=70-79% C=60-69% C= next from B ลงมา 30% D=69-77% D=60-69% D=50-59% D= next from C ลงมา 15% F=0- 68% F=0-59% F=0-49% F= low 5 % A= Percentage Top ลงมา 10-20% , B= next from A ลงมา 20- 30% C= next from B ลงมา 30-50% D=next from C ลงมา 10-20% F= low 0-10%
ค่ากลาง ฐานนิยม (Mode) คือจำนวนคะแนนที่ซ้ำกัน มากที่สุด มัธยฐาน(Median)คือค่ากึ่งกลางที่มีคะแนนน้อยกว่า มัธยฐานอยู่ 50% และที่มีคะแนนมากกว่า มัธยฐานอยู่ 50% ค่ามัชฌิมเลขคณิตหรือค่าเฉลี่ย(Mean) คือค่ากลางที่ได้จากการรวมค่าข้อมูลทุกตัวแล้วหารด้วยจำนวนข้อมูล ค่ากลาง
ค่าการกระจาย พิสัยคือค่าที่บอกความแตกต่างระหว่างคะแนนสูงสุด กับต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ คือค่าแตกต่างระหว่าง ควอไทล์ที่ 1กับควอไทล์ที่ 3 หรือ P25 กับ P75 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานคือค่าเฉลี่ยของการกระจายของ ข้อมูลทุกตัวจากค่ามัชฌิมเลขคณิตยกกำลังสอง แล้วถอดรากที่สอง
วิธีที่ 4 โดยการวัดค่ากลางและค่าการกระจาย ค่าวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ค่าวัดการกระจาย ฐานนิยม (Mode) พิสัย (Range) มัธยฐาน (Median) ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ (Quartile Deviation) ค่าเฉลี่ย (Mean) หรือ มัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
การตัดเกรดโดยอาศัยค่าการกระจาย มักเป็นการตัดเกรดแบบอิงกลุ่มและ อาศัยการแจกแจงโค้งปกติ วิธีที่4. 1 การตัดเกรดที่พิจารณาค่าพิสัย ตามวิธีของ Douglas จำนวนเกรดได้จากการหาอัตราส่วนระหว่างคะแนนต่ำสุดกับสูงสุดแล้วเทียบตาราง
เกรด 2 ระดับ ผ่าน-ไม่ผ่าน เกรด 3 ระดับ ดี (G) ผ่าน(P) ตก(F) ดีเยี่ยม(H) ผ่าน(S) ตก(F)
วิธีที่ 4.2การตัดเกรดที่อาศัยมัธยฐานและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
วิธีที่5 การให้ระดับคะแนนโดยใช้คะแนนมาตรฐาน
T-score= 5019Z Stanines แบ่งเป็น 9 ช่วง
วิธีที่ 6 การให้ระดับคะแนน โดยผสมผสานระหว่าง อิงเกณฑ์ และอิงกลุ่ม
THE END THANK YOU