นาวาโทสมบูรณ์ เจิมสุจริต E.T. Nurse สามสบาย 2011 นาวาโทสมบูรณ์ เจิมสุจริต E.T. Nurse
สามสบาย 2011 หลักการและเหตุผล แผลกดทับเป็นปัญหาใหญ่ของผู้ป่วยทั้งร่างกายและจิตใจ รวมถึงการสูญเสียภาพลักษณ์ ญาติและผู้ดูแล เสียเวลา/ค่าใช้จ่ายในการทำแผลแต่ละครั้งเมื่อมาพบแพทย์ตามนัด พยาบาล E.T.Nurse และพยาบาลห้องตรวจโรคศัลยกรรม ที่ทำแผลผู้ป่วยแผลกดทับในแต่ละครั้ง นอกจากการประเมินแผล ทำความสะอาดแผลแล้ว การให้ความรู้ผู้ป่วยและญาติเรื่อง การดูแลแผลกดทับเป็นบทบาทหนึ่งที่ช่วยให้แผลกดทับหายเร็วขึ้น (แรงกดทับ 32mmHg ติดต่อนานกว่า 2ชั่วโมงทำให้เกิดแผลกดทับ ดร. ยุวดี เกตุสัมพันธ์ และคณะ 2552)
สามสบาย 2011 ผู้ป่วยที่มีอาการทางสมองเป็นอัมพาตของขาทั้งสองข้างหรือผู้ป่วยสูงอายุ เวลานั่งนานๆมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดแผลกดทับที่ก้นกบ(Ischial Tuberosity)ได้ขณะที่ผู้ป่วยนั่ง จากการสอบถามปัญหาผู้ป่วยที่มีแผลกดทับที่ก้นกบ (Ischial Tuberosity) ในขณะนั่งว่ามีอุปกรณ์ที่ช่วยลดแรงกดทับหรือไม่ จากปัญหาของผู้ป่วยไม่สามารถจัดซื้อได้เนื่องจากมีราคาแพง เพราะผลิตจากต่างประเทศ
สามสบาย 2011 การคิดนวัตกรรม (สามสบาย 2011) เพื่อช่วยในการลดแรงกดทับก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกัน การเกิดแผลกดทับที่ก้นกบ (Ischial Tuberosity) เมื่อเกิดแผลกดทับที่ก้นกบ(Ischial Tuberosity)แล้วจะช่วยให้การหายของแผลเร็วขึ้น เวลานั่งรู้สึกเย็นสบาย การทำใช้ฝีมือในการตัดเย็บจากภูมิปัญญาชาวบ้าน และ ลูกโป่งที่มีขายทั่วไป ราคาไม่แพง
สามสบาย 2011 วัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับที่ก้นกบ(Ischial Tuberosity) เพื่อช่วยลดแรงกดทับทำให้แผลกดทับที่ก้นกบ(Ischial Tuberosity)หายเร็วขึ้น ความสุขสบายในขณะนั่ง
สามสบาย 2011 วิธีดำเนินการ พยาบาล E.T.Nurseและพยาบาลห้องตรวจโรคศัลยกรรมได้สอบถามปัญหาผู้ป่วยที่มีแผลกดทับที่ก้นกบ (Ischial Tuberosity) ในขณะนั่งว่ามีอุปกรณ์ที่ช่วยลดแรงกดทับหรือไม่ จากปัญหาในการจัดซื้อในราคาแพงผู้ป่วยไม่สามารถจัดซื้อได้
สามสบาย 2011 อุปกรณ์ที่ใช้ ผ้าใบกันน้ำประมาณ 1 ตารางเมตร70 บาท ค่าตัดเย็บ 250 บาท รวม 320 บาท ลูกโป่ง เบอร์ 5 16 ลูกละ 3.50 บาท ราคา 56 บาท น้ำ รวมทั้งหมด 376 บาท
สามสบาย 2011 วิธีทำ นำผ้าใบกันน้ำมาเย็บขนาดกว้าง 42 เซนติเมตร ยาว 42 เซนติเมตร หนา 10 เซนติเมตร แบ่งเย็บภายในเป็นช่องๆละ 10 เซนติเมตร จำนวน 4 ช่อง
สามสบาย 2011 2.นำลูกโป่งเบอร์ 5 เติมน้ำ ประมาณ 800 กรัม ผูกให้แน่นประมาณ 2 รอบ จำนวน 16 ลูก (ลูกโป่งหนึ่งลูกสามารถรับแรงกดได้ 45 กิโลกรัมโดยไม่แตก)
สามสบาย 2011 3. นำลูกโป่งที่ใส่น้ำแล้ว บรรจุในถุงผ้าในแต่ละช่องๆละ 4 ลูก รวม 16 ลูก 4. น้ำหนักโดยรวม 13,400 กรัม
สามสบาย 2011 วิธีใช้งาน นำนวัตกรรม(สามสบาย 2011)ไปวางบนเก้าอี้ หรือ รถนั่ง พร้อมให้ผู้ป่วยนั่ง
สามสบาย 2011 ตัวชี้วัด 1.เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับที่ก้นกบ (Ischial Tuberosity) 80% 2.เพื่อช่วยลดแรงกดทับทำให้แผลกดทับที่ก้นกบ (Ischial Tuberosity) หายเร็วขึ้น 80% 3.ความพึงพอใจและสุขสบายในขณะนั่ง มากกว่า 80% กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น 1.พัฒนางานประจำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 2.ความภาคภูมิใจในหน่วยงาน
สามสบาย 2011 แผนที่จะดำเนินการต่อไป 1.ขยายผลไปยังหอผู้ป่วย รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า 2.ขยายผลไปยังรพ.อื่นที่สนใจ 3.ขยายผลไปยังญาติผู้ป่วยหรือผู้ดูแลที่กับไปดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ผลการดำเนินงาน 1.ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 68 ปีน้ำหนัก 63 กิโลกรัม ใช้เมื่อ 9 ธ.ค.2553 ที่มีแผลกดทับที่ก้นกบ (Ischial Tuberosity)นำนวัตกรรม (สามสบาย 2011) ไปใช้ผู้ป่วยมีความพึงพอใจและสุขสบาย ขณะนั่ง และมีความเย็น
ผอ.รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า เจ้ากรมแพทย์ทหารบก ผอ.รพ.ภูมิพล ผอ.รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า ผอ.รพ.พระมงกุฎเกล้า
สงสัยว่าข้างในใส่อะไรไว้
ตอบข้อซักถาม