แผนยุทธศาสตร์เพื่อการเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรมทางหลวงชนบท
ประเด็นปัญหา อาเซียนได้ตกลงที่จะเปิดเสรีด้านการค้าและการค้าบริการสำคัญใน 11 สาขา ประเทศไทยมีต้นทุนด้านโลจิสติกส์สูงมาก โดยอยู่ที่ร้อยละ 16.8 ของ GDP ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มีต้นทุนร้อยละ 7.7 ของ GDP เท่านั้น สศช. ได้จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ซึ่งมุ่งเน้นการปรับ โครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน โดยเสนอให้ผลักดันการ ขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transportation) สนข. ได้ศึกษาเส้นทางการเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นทางการขนส่งและโลจิสติกส์ ระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียน และเสนอให้มีการพัฒนาโครงข่ายที่มีอยู่ให้เชื่อมโยง ในรูปแบบการขนส่งหลายรูปแบบ พร้อมกับการพัฒนาจุดเชื่อมโยงการขนส่งและ โลจิสติกส์ (Feeder)
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แนวทางการวิเคราะห์ Demand-Supply Analysis เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์รองรับการเปิดเสรีการค้า AEC Demand Supply รัฐบาล กรมทางหลวงชนบท ภาคประชาชน ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นโยบาย บริการสาธารณะ เชื่อมต่อการค้าการลงทุน เส้นทางขนส่งพืชพลังงาน เส้นทางสู่แหล่งท่องเที่ยว ลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เส้นทางความมั่นคงตามแนวชายแดน ยุทธศาสตร์ AEC ทช. การให้บริการที่เป็นมาตรฐานสากล การปรับปรุงแผนที่ GIS ให้เป็นมาตรฐานสากล การปรับปรุงกฎหมายให้เป็นสากล การร่วมทุนของภาคเอกชนในรูปแบบ PPP การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับต่างประเทศ การให้ความรู้ด้านงานทางแก่ประชาชนในท้องถิ่น
แผนยุทธศาสตร์เพื่อการเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ยุทธศาสตร์เชิงรุก ยุทธศาสตร์เชิงรับ ระยะเร่งด่วน ระยะสั้น ระยะยาว ระยะกลาง พัฒนาระบบโครงข่ายสนับสนุน (Feeder system) ปรับปรุงการบริการสู่ มาตรฐานสากล พัฒนาแนวทางรับมือ และป้องกันภัยธรรมชาติ ยกระดับคุณภาพงาน ทางหลวงท้องถิ่น
1.พัฒนาระบบโครงข่ายสนับสนุน (Feeder System) “เพื่อสนับสนุนและขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล โดยมีแนวทางที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 นโยบายของกระทรวงคมนาคม และแผนโลจิสติกส์ของ สนข.” การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบทเชื่อมต่อระบบโลจิสติกส์ด้านการค้า การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบทเชื่อมต่อระบบโลจิสติกส์ด้านพลังงาน การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบทเชื่อมต่อระบบโลจิสติกส์ด้านการท่องเที่ยว การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบทเชื่อมต่อระบบโลจิสติกส์ด้านความมั่นคง การสนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและลดการใช้พลังงาน เช่น การสร้างเส้นทางลัด เส้นทางเลี่ยง การศึกษาและสนับสนุนแนวทางการร่วมทุนกับภาคเอกชนในรูปแบบของ PPPs (Public-Private Partnerships)
2. ปรับปรุงการให้บริการสู่มาตรฐานสากล “เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการที่มาจากประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยมุ่งเน้นการพัฒนารูปแบบการให้บริการไปสู่คุณภาพมาตรฐานสากลและ เป็นที่ยอมรับจากนานาชาติ” การให้บริการและประชาสัมพันธ์ในรูปแบบภาษาอังกฤษ การพัฒนาบุคลากรในด้านทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ การเพิ่มป้ายบอกทางและสัญลักษณ์จราจรสากล การปรับปรุงระเบียบ มาตรฐาน และกฎหมายที่เกี่ยวกับทางหลวง การพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศภูมิศาสตร์
3. ยกระดับคุณภาพงานทางหลวงท้องถิ่น “เพื่อยกระดับงานทางหลวงท้องถิ่นในการพัฒนาและบำรุงรักษาสายทางให้มีจำนวนที่พอเพียง เชื่อมต่อกับระบบโลจิสติกส์อื่นอย่างมีคุณภาพ และปลอดภัยในการเดินทาง รวมทั้งการให้ความรู้ด้านงานทางประชาชนในท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้าใจที่ดี ” การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างบูรณาการ การให้ความรู้ด้านงานทางสากลแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การพัฒนาองค์ความรู้เรื่องแผนงานของท้องถิ่น การพัฒนาองค์ความรู้เรื่องบำรุงทางของท้องถิ่น การสนับสนุนการจัดทำงบประมาณของท้องถิ่น การติดตามความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานของท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ
4. พัฒนาแนวทางรับมือและป้องกันภัยธรรมชาติ “เพื่อลดระดับความเสียสูญและผลกระทบจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับโครงข่ายทางหลวงชนบทและทางหลวงท้องถิ่น และเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิตของประชาชน รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุน และความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ” การศึกษาและวิเคราะห์หาสายทางและสะพานในพื้นที่เสี่ยงภัย การศึกษารูปแบบความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติ การออกแบบระบบป้องกันและลดความเสียหายจากภัยธรรมชาติ การพัฒนาและยกระดับงานทางหลวงชนบท การจัดแผนงานและโครงการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่น การสร้างความร่วมมือด้านวิชาการกับหน่วยงานต่างประเทศ