Air Condition Efficiency Meter เครื่องวัดประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศ โดย นายสรณัย จันทรโยธา และ นายมนชิต วชิรพรพงศา อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์วาธิส ลีลาภัทร อาจารย์ร่วมประเมิน อ. ดร. วรินทร์ สุวรรณวิสูตร ผศ. อนัตต์ เจ่าสกุล
หัวข้อที่จะนำเสนอ ที่มาของโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ การคำนวณหาประสิทธิภาพ รูปแบบวงจร ผลการทำงาน สรุป
ที่มาของโครงการ เนื่องด้วยปัจจุบันมีการใช้เครื่องปรับอากาศจำนวนมาก และพลังงานกำลังจะหมดไป จึงต้องมีการประเมินการใช้พลังงาน การวัดประสิทธิภาพแบบเดิมต้องใช้ผู้มีความชำนาญและเสียเวลาในการวัดมาก เมื่อทำการวัดประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศจำนวนมาก เสียเวลานานและไม่สะดวก
วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อสร้างเครื่องวัดประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศในงบประมาณที่ต่ำ เพื่อบุคคลทั่วไปที่ไม่มีความรู้ทางด้านเทคนิคในการวัดประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศสามารถวัดประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศได้ เพื่อทำให้การวัดประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศทำได้ง่าย รวดเร็ว และสะดวกในการใช้งาน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ได้เครื่องมือวัดประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศที่ใช้ง่าย โดยบุคคลทั่วไปที่ไม่มีความรู้ทางด้านเทคนิคสามารถใช้วัดประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศได้ ช่วยให้อาคารสำนักงานที่มีเครื่องปรับอากาศจำนวนมาก และได้ใช้เครื่องมือวัดประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศนี้ ได้นำผลการวัดไปใช้เป็นตัวประเมิน ในการตัดสินใจ เพื่อทำการซ่อมแซม หรือเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศในบริษัทต่อไป ซึ่งทำให้การใช้เครื่องปรับอากาศมีประสิทธิภาพเต็มที่ และไม่สิ้นเปลืองกำลังไฟฟ้า
การคำนวณหาประสิทธิภาพ EER = QC/W QC = QS + QL QS = 1.08 CFM ( tr – tas ) QL = 0.67 CFM ( Gi – Gas )
การเตรียมการวัดประสิทธิภาพ ปรับตั้งระดับความแรงของพัดลม ให้อยู่ที่ตำแหน่งแรงสุด ปรับตั้งอุณหภูมิที่ 24-25 °c ตรวจสอบไม่ให้มีการกีดขวางทางลมทางด้านช่องส่งลม วัดกำลังไฟฟ้ารวมที่ใช้ของเครื่องปรับอากาศในช่วงที่คอมเพรสเซอร์ทำงาน (ส่วนของคอมเพรสเซอร์รวมกับส่วนของ พัดลม) วัดขนาดของช่องส่งลม
การหาค่าประสิทธิภาพแบบเดิม วัดค่าอุณหภูมิ ความชื้น และความเร็วลมที่เครื่องปรับอากาศส่งออกมา วัดค่าอุณหภูมิ ความชื้น ของอากาศห้อง นำค่าความชื้นที่วัดได้ ซึ่งเครื่องมือที่ใช้วัดส่วนมากจะแสดงเป็นค่าความชื้นสัมพัทธ์ นำมาคำนวณหาค่าอัตราส่วนความชื้น คำนวณหาปริมาตรอากาศ จากความเร็วลมและขนาดของช่องส่งลม คำนวณหาค่าประสิทธิภาพ
ขั้นตอนในการวัดประสิทธิภาพ นำชุดเซนเซอร์ไปวางบริเวณช่องส่งลมของเครื่องปรับอากาศ กรอกค่ากำลังไฟฟ้าและขนาดของช่องส่งลมที่วัดได้ ดูค่าประสิทธิภาพทางจอแสดงผล
รูปแบบวงจร
ผลการทำงาน
สรุป โครงการนี้เป็นการสร้างเครื่องวัดประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศด้วยงบประมาณต่ำ โดยสามารถวัดและแสดงค่าประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศ, อุณหภูมิ, ความชื้นหรือปริมาตรอากาศ ได้ตามโหมดที่ผู้ใช้เลือกให้แสดง ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว และสำหรับผู้ใช้ที่ไม่มีความรู้ในการวัดประสิทธิภาพ สามารถวัดประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศได้
คำถามและข้อเสนอแนะ