บทบาทผู้นำทางการศึกษา
1.บทบาทเป็นผู้กำหนดทิศทางการปฏิบัติงาน (Direction setter) ต้องมีความสามารถในการชี้แจง ทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน มีความรู้และทักษะในระบบการจัดสรรงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (PBB)
บทบาทเป็นผู้กระตุ้นความเป็นผู้นำ (Leader Catalyst) มีความสามารถในการจูงใจ กระตุ้น และมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ในองค์การ มีทักษะในกระบวนการกลุ่ม
บทบาทเป็นนักวางแผน (Planner) จะต้องเป็นผู้ที่สามารถในการคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคต เตรียมบุคลากรให้พร้อมในการรับมือกับสิ่งใหม่ๆที่จะเกิดขึ้น
บทบาทเป็นผู้ตัดสินใจ (Decision Maker) ต้องมีความรู้ความเข้าใจในทฤษฎีการตัดสินใจต่างๆ มีความสามารถในการตัดสินใจ
บทบาทเป็นผู้จัดองค์การ (Organizer) ผู้บริหารจำเป็นต้องออกแบบและกำหนดโครงสร้างองค์การขึ้นมาใหม่ จึงจำเป็นต้องเข้าใจพลวัตรขององค์การและพฤติกรรมองค์การ
บทบาทเป็นผู้เปลี่ยนแปลง (Change Manager) ต้องนำกาเปลี่ยนแปลงมาสู่สถาบันเพื่อเพิ่มพูนคุณภาพขององค์การ รู้ว่าจะเปลี่ยนอะไร อย่างไร และควรเปลี่ยนในสถนการณ์ใด
บทบาทเป็นผู้ประสานงาน (Coordinator) ต้องเข้าใจในรูปแบบการปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ เข้าใจเครื่อข่ายการสื่อสาร สามารถประสานกิจกรรมต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทบาทเป็นผู้สื่อสาร (Communicator) สามารถสื่อสารั้งด้วยการพูดและการเขียน รู้จักใช้สื่อต่างๆเพื่อการสื่อสาร
บทบาทเป็นผู้แก้ความขัดแย้ง (Conflict manager) ต้องเข้าใจสาเหตุของความขัดแย้ง สามารถต่อรอง ไกล่เกลี่ย จัดการกับความขัดแย้งและแก้ปัญหาความขัดแย้ง
บทบาทเป็นผู้แก้ปัญหา(Problem Manager) ปัญหาไม่จำเป็นต้องลงเอยด้วยความขัดแย้ง ผู้นำต้องสามารถวินิจฉัยและแก้ปัญหาได้
บทบาทเป็นผู้บริหารบุคคล (Personal manager) ผู้บริหารจะต้องมีความสามารถในเทคนิคการเป็นผู้นำ การเจรจาต่อรอง การประเมินผลงานและการปฏิบัติงาน
บทบาทการเป็นนักประชาสัมพันธ์ (Public Relation) มีทักษะในการสื่อความหมาย สร้างภาพพจน์ที่ดี รู้จักพลวัตของกลุ่ม รู้จักและเข้าใจการเผยแพร่ข่าวสารด้วยสื่อต่างๆ