ประสบการณ์การเขียนหนังสือ-ตำรา ศาสตราจารย์ ดร. นิธิยา รัตนาปนนท์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ขั้นตอนการผลิตงานเขียนหนังสือ-ตำรา การเขียนตำราต้องใช้เวลาหลังจากมีประสบการการสอน มาแล้วอย่างน้อย 5-10 ปี ต้องค่อยๆ สะสมเนื้อหาวิชาที่สอน เริ่มจากทำเอกสารประกอบการสอน เพิ่มเติมเนื้อหาไปทุกๆ ครั้งที่สอน
ขั้นตอนการผลิตงานเขียนหนังสือ-ตำรา อาจารย์ผู้สอนต้องขยันอ่านตำรา และวารสาร เพื่อปรับปรุง เอกสารประกอบการสอน จนได้เป็นเอกสารคำสอน หลังจากนั้นจึงพัฒนาไปเป็นตำรา ตำราจะต้องมีเนื้อหาให้ครบถ้วนทั้งรายวิชา หนังสือมีเนื้อหาเฉพาะเรื่องทางวิชาการ
ขั้นตอนการผลิตงานเขียนหนังสือ-ตำรา สะสม Textbook/Review ที่เกี่ยวข้องกับหนังสือ-ตำราที่ตั้ง ใจจะเขียน ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับวิชาที่รับผิดชอบสอน รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการเขียน กำหนดเค้าโครงเรื่องที่ต้องการเขียน กำหนดจำนวนบท กำหนดหัวข้อย่อยในแต่ละบท
ขั้นตอนการผลิตงานเขียนหนังสือ-ตำรา อ่านๆๆๆๆๆๆ แปลๆๆๆๆๆๆ แปลเล่มที่มีเนื้อหามากที่สุดก่อน สอดแทรกเนื้อหาเพิ่มเติมจากเล่มอื่นๆ
ขั้นตอนการผลิตงานเขียนหนังสือ-ตำรา เรียบเรียงเนื้อหาตามความต้องการของผู้เขียน หากมีผลงานวิจัยของตนเองให้นำมาสอดแทรกด้วยจะดีมาก อ่านเนื้อหาที่เรียบเรียงแล้ว และปรับปรุงให้เหมาะสม
ขั้นตอนการผลิตงานเขียนหนังสือ-ตำรา การเรียบเรียงเนื้อหา ควรเขียนประโยคให้สมบูรณ์ มีประธาน กริยา กรรม เขียนประโยคให้อ่านเข้าใจง่าย คำศัพท์วิทยาศาสตร์ให้ใช้อ้างอิงตาม คำศัพท์ราชบัณฑิตฯ
ขั้นตอนการผลิตงานเขียนหนังสือ-ตำรา การนำรูปหรือตารางที่นำมาจากตำราเล่มอื่นต้องอ้างอิง แหล่งที่มา หากถ่ายภาพเองได้จะดีมาก มีเอกสารอ้างอิงทุกบท ใช้เอกสารอ้างอิงที่ทันสมัย ตำราต้องมีดัชนีคำอยู่ท้ายเล่ม
ขั้นตอนการผลิตงานเขียนหนังสือ-ตำรา จัดการพิมพ์รูปเล่มต้นฉบับให้เรียบร้อย ตรวจทานคำที่พิมพ์ผิด ให้มีคำที่พิมพ์ผิดน้อยที่สุด ต้องมีคนช่วยอ่านและตรวจทานคำผิด คนช่วยอ่านควรเป็นคนที่มีความรู้ด้านภาษาศาสตร์ มีแหล่งพิมพ์ เดือน-ปีที่พิมพ์ และเลข ISBN