POLICY BRIEF ก้าวต่อไปของประเทศไทย 01 DECOUPLING WWW.SIGA.OR.TH POLICY BRIEF ISSUE 01 June 2013 Catalyst for Strategic Transformation of Thailand DECOUPLING ก้าวต่อไปของประเทศไทย การเจริญเติบโตเศรษฐกิจ โดยใช้ทรัพยากรน้อยและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ
SIGA will work with you to … • Identify emerging global challenges; • Provide open policy platform for discussions; • Suggest actionable strategies to deal with challenges; … and we aspire to be the catalyst for strategic transformation of Thailand. Director Dr. Suvit Maesincee SIGA - Sasin Institute for Global Affairs Sasin Graduate Institute of Business Administration of Chulalongkorn University Sasa Patasala Building, Soi Chula 12, Phyathai Road, Bangkok 10330, Thailand
1 ย่างก้าวแห่งการเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มคุณภาพชีวิต ลดความยากจน ย่างก้าวแห่งการเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มคุณภาพชีวิต ลดความยากจน 1 Resource Decoupling การพัฒนาเศรษฐกิจที่ใช้ทรัพยากรน้อย อดีตและปัจจุบัน พัฒนาเศรษฐกิจโดยอิงกับทรัพยากร (Material Growth) ใช้ทรัพยากรอย่างไม่มีประสิทธิภาพ อนาคต ต้องเน้นการพัฒนาประเทศไทยให้เติบโตโดยใช้ทรัพยากรน้อย (Reduced Material Economic Growth) • กรณีอุปสงค์มากกว่าอุปทาน: ปรับโครงสร้างการผลิตของประเทศจากเน้นใช้ทรัพยากรเป็นเน้นสร้างสรรค์มูลค่าเพิ่ม (value creation) พัฒนากลไกในการกำกับดูแล (market signals and regulatory interventions) การควบคุม ไม่ให้เกิด overconsumption สนับสนุน R&D ในการสร้างอุปทานเพิ่ม • กรณีทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป: ต้องลดการใช้ทรัพยากร หาทรัพยากรใหม่ทดแทน ใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (encourage resource and energy efficiency policies) • กรณีทรัพยากรที่ฟื้นฟูได้: ใช้ในอัตราที่ฟื้นฟูทัน และมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาและฟื้นฟูธรรมชาติ เพื่อการเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ ลงทุนในนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
2 Impact Decoupling การพัฒนาเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดผลกระทบ ทางสิ่งแวดล้อมน้อย อดีตและปัจจุบัน พัฒนาเศรษฐกิจโดยก่อให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมต่ำ อนาคต ต้องเน้นการพัฒนาประเทศไทยโดยก่อให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมน้อย เพื่อไม่ให้เป็นก่อผลกระทบภายนอก (Externalities) ไม่เป็นภาระในการจัดการมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม และลดผลกระทบต่อสุขภาพประชากรไทย • นโยบายสาธารณะและนโยบายกำจัดผลกระทบภายนอก (Externalities and Public Policies) โดยอาศัยการควบคุมมลพิษ ดำเนินมาตรการทางการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) ส่งเสริมการมีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและตระหนักถึงคุณภาพชีวิต โดยที่สังคมคาร์บอนต่ำจะต้องละทิ้งค่านิยมที่มุ่งเน้นการบริโภค หันมามุ่งเน้นคุณค่าของสถาบันครอบครัว สายใยชุมชน และ ความสัมพันธ์กับธรรมชาติ • การก้าวสู่การเป็นสังคมหมุนเวียนวัสดุที่ดี (Sound Material Cycle Society) โดยดำเนินโยบาย 3R (Reduce, Reuse, Recycle) เพื่อจัดการปัญหาการเพิ่มขึ้นของขยะและปริมาณขยะที่ไม่ได้บำบัดจัดการอย่างดี อันก่อให้เกิดมลพิษในด้านต่างๆ และจัดการกับปริมาณของวัตถุดิบเสียไปเนื่องจากผลของความไม่มีประสิทธิภาพของทรัพยากรและการบริหารจัดการขยะที่มหาศาล
Mitigation/ เพิ่มประสิทธิภาพ ย่างก้าวแห่งการเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มคุณภาพชีวิต ลดความยากจน Mitigation/ เพิ่มประสิทธิภาพ GREEN ECONOMY Growth & Development: เพิ่มคุณภาพชีวิต ลดความยากจน เป้าประสงค์ 01 เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (Competitiveness) ด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (โดยใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงาน เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ) สร้างความอยู่ดีมีสุข (Wellbeing) แก่ประชาชน (สร้างเสริมสุขภาพที่ดี ลดต้นทุนค่ารักษาการเจ็บป่วย สิ่งแวดล้อมที่ดี) 02
ประเด็นยุทธศาสตร์ 01 การพัฒนาประเทศอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Economy and Society) โดยปรับรูปแบบการผลิต การผลิตการลงทุน การใช้พลังงาน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากร การสร้างตัวชี้วัดใหม่ของการพัฒนาเช่น SDG (Sustainable Development Goal), Green Economy Index, Wellbeing Nation Index เป็นต้น การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ (Holistic Management) เช่น การเชื่อมโยงกันระหว่างน้ำ พลังงาน อาหาร และที่ดิน ทั้งในระดับประเทศและอาเซียน การปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเด็นเกิดใหม่ทางสิ่งแวดล้อม และความเสี่ยงใหม่ๆ เช่น ภัยพิบัติ, critical infrastructure การสร้างศักยภาพการบริหารจัดการ (Capacity Building) (อาทิ โครงสร้างพิ้นฐาน กลไก นโยบายการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม ระบบแรงจูงใจ องค์ความรู้ ชุมชน เพื่อก่อให้เกิดการปรับพฤติกรรมและความตระหนักทางด้านสิ่งแวดล้อม) 02 03 04