ค่ายพักแรม (Camping)
ความหมาย สมาคมค่ายพักแรมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาให้ความหมายว่า ค่ายพักแรมคือ "แหล่งสร้างสรรค์ประสบการณ์ทางการ ศึกษาในบรรยากาศของการใช้ชีวิตร่วมกันกลางแจ้ง โดย อาศัยทรัพยาการจากสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติรอบตัวเป็น เครื่องช่วยพัฒนา สติปัญญา ร่างกาย สังคม และจิตใจ ทั้งนี้ ภายใต้การแนะนำช่วยเหลือจากผู้นำที่ได้รับการฝึกมาแล้ว"
ความเป็นมา ความต้องการของมนุษย์ในการแสวงหาและสัมผัสธรรมชาติ โดย การสร้างที่พักแรมชั่วคราว หรือใช้การกางเต้นท์ โดยชาติแรกที่มี การจัดการค่ายพักแรมคืออเมริกา ซึ่งมีมานานกว่าศตวรรษ
วิวัฒนาการของค่ายพักแรมแบ่งได้ 3 ยุค ยุคสันทนาการ คือยุคแรกที่ค่ายพักแรมมีจุดมุ่งหมายสำคัญในการให้สันทนาการเบื้องต้น ตลอดจนสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้ ฝึกให้ผู้เข้าพักมีน้ำใจนักกีฬา รู้จักความลำบาก รูปแบบกิจกรรมจะเน้นการสร้างประสบการณ์โดยการเผชิญกับธรรมชาติ ดังนั้นการจัดการค่ายในยุคนี้ต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระเบียบ และควบคุมสภาพแวดล้อมอย่างเหมาะสม ตลอดจนการวางระเบียบการแข่งขัน และการให้รางวัล
ยุคการศึกษา เป็นยุคที่นักวิชาการในการศึกษาค่ายพักแรมโดยใช้เป็นที่ให้การศึกษารูปแบบหนึ่ง จุดมุ่งหมายของค่ายพักแรมได้เน้นไปที่การพัฒนาสุขภาพพลานามัย บุคลิกภาพ ลักษณะนิสัยและการปรับตัวต่อสังคมมากขึ้น อีกทั้งแพทย์ นักโภชนาการก็เริ่มมีส่วนช่วยกิจกรรมค่ายพักแรมมากขึ้น
ยุครับผิดชอบต่อสังคม ค่ายพักแรมเปลี่ยนแปลงไป 3 ทางด้วยกันคือ 1) รูปแบบกิจกรรมของค่ายพักแรมมีระบบและมาตรฐานขึ้น ในด้านการบริหารค่ายพักแรมสุขภาพ ความปลอดภัย การสุขาภิบาล บุคลากรเพื่อให้สอดคล้องกับความรู้สึกรับผิดชอบต่อสังคม
2) เปลี่ยนจากการทำงานแบบเอกัตบุคคลเป็นหาความร่วมมือร่วมใจระหว่างผู้นำค่าย สมาชิกชาวค่ายและตัวแทนจากชุมชนมีการก่อตั้งสมาคมชาวค่ายสภาค่ายพักแรม สนใจที่จะจัดค่ายพักแรมเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของชุมชน เช่น ให้ความสำคัญต่อการสงวนทรัพยากรธรรมชาติเป็นต้น
3) ค่ายพักแรมก็ได้บรรจุจุดมุ่งหมายและวิธีการในแบบประชาธิปไตยไว้ในกิจกรรมต่างๆ ด้วยมีการทบทวนจุดมุ่งหมายโปรแกรม การบริหารและการสรรหาผู้นำค่ายใหม่
องค์ประกอบสำคัญของค่ายพักแรม การใช้ชีวิตเป็นกลุ่ม สันทนาการ การศึกษา ชีวิตกลางแจ้ง การปรับตัวทางสังคม
ความมุ่งหมายในการอยู่ค่ายพักแรม : เพื่อนันทนาการ พักผ่อน สนุก เพลิดเพลิน ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ฝึกความอดทน ฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง ฝึกความกล้าหาญ รู้จักช่วยเหลือตัวเองและผู้อื่น ให้มีความสามัคคี เชื่อฟัง และฝึกระเบียบวินัย ศึกษาธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
ประเภทของค่ายพักแรม ค่ายพักแรมแบ่งตามผู้จัด โดยมากค่ายพักแรมที่แบ่งตามผู้จัด จะเป็นค่ายพักแรมสำหรับเยาวชน ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้ 1) ค่ายพักแรมองค์การ สโมสร หรือสมาคม (Organization Camps) คือ ค่ายพักแรมที่ได้รับเงินสนับสนุนจากองค์การ สโมสร หรือสมาคม ทั้งนี้เพื่อประโยชน์องค์กรนั้นๆไม่ใช่ของใคร คนใดคนหนึ่ง เช่น ค่ายพักแรมยุวคริสเตียนสมาคม (Young Men’s Christian Association : Y.M.C.A)
2) ค่ายพักแรมเอกชน (Private Camps) หรือ ค่ายพักแรมการค้า (Commercial Camp) คือ ค่ายพักแรมที่จัดดำเนินการและเป็นเจ้าของโดยบุคคล หรือกลุ่มบุคคลเพื่อหวังผลประโยชน์ทางกำไรเป็นสำคัญ
3) ค่ายพักแรมสาธารณะ (Public Camp) คือค่ายพักแรมที่ดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐ และใช้งบประมาณแผ่นดิน ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้ ค่ายพักแรมโรงเรียน (School Camp) คือ ค่ายที่จัดดำเนินการโดยโรงเรียน วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย ค่ายพักแรมเทศบาล (Municipal Camp) คือ ค่ายที่จัดดำเนินการโดยหน่วยงานท้องถิ่น หรือเทศบาล
ค่ายพักแรมสวนสาธารณะ (Camps operate by state park) เช่นที่สหรัฐอเมริกาแต่ละรัฐจะมีสวนสาธารณะประจำรัฐซึ่งจัดให้มีการดำเนินงานค่ายพักแรมภายในนั้น นอกจากนี้ยังรวมถึงวนอุทยานแห่งชาติ เช่น เขาใหญ่ ภูกระดึง เป็นต้น ค่ายพักแรมกระทรวงเกษตรและหน่วยงานอื่นๆ เป็นค่ายพักแรมที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนสนใจการเกษตรกรรมตั้งแต่เด็ก รู้จักรักและสงวนทรัพยากรธรรมชาติ
ค่ายพักแรมแบ่งตามลักษณะการจัดและวิธีการจัด ค่ายพักแรมแบบธรรมชาติ (Nature Camps) หรือแบบเดินทาง (Trip Camping) ค่ายพักแรมสหศึกษา (Co-education Camps) ค่ายพักแรมครอบครัว (Family Camps) ค่ายพักแรมธรรมชาติอนุรักษ์ (Conservation Camps)
ค่ายพักแรมธรรมชาติอนุรักษ์ (Conservation Camps) ค่ายพักแรมสุขภาพ (Health Camps) ค่ายพักแรมถาวร (Residence Camps) ค่ายพักแรมสุดสัปดาห์ (Weekend Camps) ค่ายพักแรมกลางวัน (Day Camps) ค่ายพักแรมอาสาสมัคร (Voluntary Work Camps) ค่ายพักแรมสำหรับคนพิการ (Handicapped Camps)
การจัดการค่ายพักแรมแบบถาวร ควรคำนึงถึงสิ่งต่างๆดังนี้ การเลือกสถานที่ตั้ง ต้องเหมาะสมในการพักผ่อน ดึงดูดให้คนเข้ามาใช้บริการ มีความเป็นธรรมชาติ ร่มรื่น ทิวทัศน์สวยงาม มีสถานที่สำหรับจัดกิจกรรมทางธรรมชาติ ไม่ห่างไกลตัวเมือง
คมนาคมสะดวก มีพื้นที่เพียงพอสำหรับปลูกสร้างสิ่งต่างๆ เนื้อดินเหมาะแก่การก่อสร้าง ไม่มีแหล่งที่อาจก่อให้เกิดอันตราย เช่น หน้าผา หรือเหว ใกล้แหล่งน้ำที่สามารถนำมาใช้เพื่อบริโภคและอุปโภค
เนื้อที่กว้างขวางเพียงพอสำหรับใช้เป็นสถานที่ต่างๆ และสามารถขยายตัวในอนาคตเพื่อรองรับผู้มาใช้บริการได้ เนื้อที่ต้องเพียงพอสำหรับการก่อสร้างสถานที่ต่อไปนี้ อาคารอำนวยการหรือสำนักงานติดต่อ โรงอาหาร โรงครัว ที่พัก ห้องน้ำ ห้องสุขา เรือนเก็บพัสดุสิ่งของ ห้องพยาบาล ห้องกีฬาในร่ม เป็นต้น เนื้อที่สำหรับศึกษาธรรมชาติ และให้ชาวค่ายนอนพักแรมนอกค่าย
เนื้อที่สำหรับเล่นเกมส์ธรรมชาติ เช่น สะกดรอย เนื้อที่สำหรับเล่นกีฬากลางแจ้ง สถานที่สำหรับการแสดง สถานที่สำหรับเป็นลานเล่นรอบกองไฟ (Campfire Site) เนื้อที่สำหรับเป็นห้องเรียนรู้
การจัดสิ่งก่อสร้างในค่ายพักแรมถาวร มีดังนี้ อาคารอำนวยการหรือสำนักงานติดต่อ เป็นสถานที่สำหรับเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานของค่าย ถือเป็นศูนย์กลางเพื่อติดต่อ บางคร้งอาจใช้เป็นที่ประชุมของเจ้าหน้าที่ การก่อสร้างควรออกแบบให้น่าสนใจหรือกลมกลืนกับธรรมชาติ
ที่พัก หรือเรือนนอน เป็นที่พักอาศัย หรือที่นอนสำหรับชาวค่าย ควรอยู่ในทิศทางลมและบังแดด ทนทาน สวยงาม หรือกลมกลืนกับธรรมชาติ มีเตียงนอนและ Locker สำหรับเก็บของใช้ส่วนตัว ที่พักหรือเรือนนอนหลังหนึ่งควรจุคนได้ไม่เกิน 10-12 คนเท่านั้น โดยมากมักใช้เตียงนอนสองชั้น (Bunk Bed)
โรงครัวและโรงอาหาร ควรตั้งอยู่ห่างจากเรือนนอน และสำนักงานติดต่อพอประมาณ เพื่อไม่ให้กลิ่นของอาหารเข้าไปรบกวน ห้องน้ำและห้องสุขา อาจอยู่ใกล้ หรือข้างหลังของเรือนนอน ห้องอาบน้ำและห้องสุขาหนึ่งหลังควรประกอบด้วยห้องน้ำสองห้อง และห้องสุขาสามห้อง มีระบบถ่ายเทน้ำที่ดี โรงเก็บของ พัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ลักษณะเป็นโรงชั้นเดียว มีชั้นเก็บของ และมีห้องสำหรับเจ้าหน้าที่ซึ่งคอยดูแลการเบิกจ่ายของ
โรงเก็บของ พัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ลักษณะเป็นโรงชั้นเดียว มีชั้นเก็บของ และมีห้องสำหรับเจ้าหน้าที่ซึ่งคอยดูแลการเบิกจ่ายของ ห้องพยาบาล ควรอยู่ใกล้สำนักงานติดต่อ มีเตียงพยาบาลเพียงพอ (16 คนต่อ 1 เตียง ) มีแพทย์และพยาบาลประจำโดยเฉพาะเมื่อมีผู้เข้าพักที่ค่าย นอกจากนี้ควรมีชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น บริเวณหรือลานสำหรับเล่นกีฬา ใช้เป็นสถานที่เล่นเกมส์ หรือกีฬาต่างๆ เช่นสนามฟุตบอล สนามยิงปืน
ห้องกีฬาในร่ม สำหรับเล่นเกมส์ประเภท หมากฮอส หมากรุก บิงโก เป็นต้น โรงกิจกรรมในร่ม ใช้สำหรับทำกิจกรรมเมื่อฝนตก เป็นกิจกรรมประเภทร้องเพลง หรือปาร์ตี้ ห้องสมุดอาจอยู่ที่เดียวกับสำนักงานติดต่อก็ได้ สถานที่สำหรับกีฬาทางน้ำ หรือสระว่ายน้ำ สถานที่เล่นรอบกองไฟ
ห้องประดิษฐ์ สำหรับทำกิจกรรมงานฝีมือ ที่เก็บวัตถุไวไฟและเครื่องดับเพลิง น้ำยาสารเคมี ประตูทางเข้า ควรมีป้ายชื่อบอกชัดเจน สถานที่นั่งพักผ่อนภายในค่าย
พนักงานค่ายพักแรม ผู้อำนวยการ (Camp Director) วางนโยบายทั่วไปของค่ายพักแรม คัดเลือกผู้นำที่ปรึกษา ผู้นำกิจกรรม และเจ้าหน้าที่ในค่าย จัดเตรียมงบประมาณค่าใช้จ่ายต่างๆเสนอคณะกรรมการค่าย รับผิดชอบจัดหาอุปกรณ์ค่าย ทำหน้าที่ที่คณะกรรมการมอบหมายและอื่นๆ
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ (สำหรับค่ายที่มีขนาดเล็กอาจไม่มีตำแหน่งนี้)ช่วยเหลืองานตามที่ผู้อำนวยการค่ายมอบหมาย หรือในกรณีที่ผู้อำนวยการค่ายไม่อยู่
เลขานุการ (สำหรับค่ายที่มีขนาดเล็กอาจไม่มีตำแหน่งนี้) ประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆในค่าย รวบรวมเอกสารการประชุม ให้ความช่วยเหลือและรับผิดชอบงานที่ผู้อำนวยการมอบหมาย ประชาสัมพันธ์ค่าย
แพทย์และพยาบาล ตรวจสุขภาพของผู้มาเข้าค่าย ตั้งแต่เดินทางมาถึงและตลอดระยะเวลาที่อยู่ในค่าย จัดหาเครื่องมืออุปกรณ์พยาบาล และยาให้พอเพียงในการอยู่ค่ายพักแรมแต่ละครั้ง ทำการปฐมพยาบาล บันทึกการรักษาเพื่อส่งต่อให้ผู้อำนวยการค่าย แนะนำการปฏิบัติตัว การรับประทานให้แก่ผู้ป่วย
ร่วมกับที่ปรึกษาค่ายในการจัดโปรแกรมที่เหมาะกับสุขภาพของผู้ที่มาเข้าค่าย ช่วยสอนวิธีการปฐมพยาบาลให้แก่ผู้ที่มาเข้าค่าย ดูแลและให้คำแนะนำเรื่องความสะอาดและสุขอนามัยภายในค่าย ดูแลและให้คำแนะนำด้านความปลอดภัยในค่าย
หัวหน้าฝ่ายกิจกรรม จัดโปรแกรมกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย จัดผู้นำกลุ่มหรือที่ปรึกษาในกิจกรรมแต่ละประเภท ช่วยเหลือผู้มาเข้าค่ายให้ได้รับความรู้และประสบการณ์
ที่ปรึกษา หรือผู้นำกลุ่ม ช่วยเหลือและแนะนำผู้ที่มาเข้าข่ายในการประกอบกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย ดูแลพฤติกรรมและความเปลี่ยนแปลงต่างๆในตัวผู้เข้ามาเข้าค่ายประจำกลุ่ม ของตน ให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา
ดูแลมิให้ผู้มาเข้าค่ายได้รับอันตราย หรืออุบัติเหตุ โดยให้คำแนะนำเมื่อทำ กิจกรรม ติดตามและประเมินผลผู้มาเข้าค่ายในกลุ่มของตน ว่ามีพัฒนาการอย่างไร ที่ปรึกษาทุกคนต้องประชุมกันเสมอเพื่อประเมินงานประจำวัน และหาทางเสนอแนะการดำเนินงานที่ดีขึ้น ช่วยเหลือผู้มาเข้าค่ายในเรื่องการปรับตัวและอื่นๆ
นักโภชนาการ จัดเตรียมอาหารทุกมื้อ ทุกประเภท ควบคุมพนักงานในครัว ดูแลให้ผู้มาเข้าค่ายได้เปลี่ยนเวรในการจัดโต๊ะ เสริฟ์ และทำความสะอาด หากมีการพักแรมนอกค่าย ต้องร่วมกับที่ปรึกษากิจกรรมในการจัดโปรแกรมอาหาร
ผู้จัดการค่าย ถือเป็นผู้ที่สำคัญอย่างยิ่งที่ต้องอยู่ประจำค่ายตลอดเวลา มีหน้าที่ดังนี้ ดูแลรับผิดชอบ บำรุงซ่อมแซมเครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ทุกชนิด ดูแลความสะอาดสถานที่ให้ดูดีเสมอ ดูแลเรื่องเวรยามในการรักษาความปลอดภัย ดูแลเครื่องป้องกันภัยสาธารณะในบริเวณค่ายทั้งหมด ทำหน้าที่รายงานความเคลื่อนไหวทุกอย่างภายในค่ายให้คณะกรรมการทราบ
ฝ่ายพาหนะ ฝ่ายพัสดุอุปกรณ์ ฝ่ายสถานที่
ลักษณะของผู้นำกิจกรรมนันทนาการ ทักษะสามารถเฉพาะ ไหวพริบ กล้าแสดงออก กล้าตัดสินใจ บุคลิกดี มีภาวะผู้นำ มีความเชื่อมั่น รับผิดชอบ กระตือรือร้น หนักแน่น จริงใจ เทคนิคเฉพาะตน มีมนุษยสัมพันธ์ เสียสละ เป็นที่ยอมรับ สนใจกิจกรรมต่างๆ มีความคิดสร้างสรรค์ ทันสมัย ทันเหตุการณ์