การใช้ภาษาเชิงวิชาการ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์
Advertisements

ชื่อผู้สอน : นางฐิติมา พิริยะ
สิทธิในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางปกครอง
(กล้องจับที่วิทยากร)
ดร. มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ 8 พฤษภาคม 2558
การใช้ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
ส่วนประกอบของการอรรถาธิบาย
กระบวนการของการอธิบาย
ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๑ ใช้เพื่อคลิ๊กไปสู่ หน้าถัดไป ใช้เพื่อคลิ๊กกลับ หน้าเดิม ใช้เพื่อคลิ๊กกลับสู่ หน้าหลัก ใช้คลิ๊กเมื่อต้องการ ออกจากระบบ.
การแต่งกายประดับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
นาย สรวิศ เตธัญญวรากูล ปวช.3/2 นาย ศิวกร มาลี ปวช.3/2.
Adaptive Software Development. วงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟแวร์ หรือ Software Development Life Cycle (SDLC) เป็นโครง ร่างหรือแนวทางวิธีการ เพื่อใช้ทำความเข้าใจและเพื่อ.
แนวทางการบริหารจัดการเขต พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษโดย สหกรณ์ นายเชิดชัย พรหมแก้ว ผู้อำนวยการกองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตร และกลุ่มเกษตรกร กรมส่งเสริมสหกรณ์ วันที่
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
โครงงานจิตอาสา เรื่อง … เล่านิทานให้น้องฟัง จัดทำโดย กลุ่มจิตอาสา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ / ๓.
ของฝากสุรินทร์ : เม็ดบัวอบกรอบมาย, ผ้าไหม , ผักกาด ( Best 3 Souvenirs of Surin)
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
ประวตศาสตร์เป็ นวชาทศี่ ึกษาเกยวกบอดตี โดยศึกษาถึง พฤตกิ รรมของมนุษย์ ตามบริบทของช่วงเวลาทเกดขึนซึ่งมผล ต่อมนุษยชาตเิ มอื่ เหตุการณ์น้ันเปลยี่
ALLPPT.com _ Free PowerPoint Templates, Diagrams and Charts.
บทที่ 3 องค์ประกอบของการสัมมนา
วิชากฎหมายอาคาร รหัสวิชา ท-ป-น (2-0-2) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช.2556 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาช่างโยธา.
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
วาระที่ สรุปผลการปฏิบัติงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
ภาษาไทยเชิงวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปณิธาน บรรณาธรรม.
Content Team: คู่มือการป้องกันสินค้าลอกเลียนแบบ 9 July 2015
หลักการของจริยธรรมทางกฎหมาย
กลุ่มคำและประโยค ภาษาไทย ม. ๓
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง. หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง.
งานสังคมครั้งที่ 1 เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
วาระที่ 3.4 แนวทางการปฏิบัติงานโครงการตามนโยบาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
แผนการขายลูกค้า SMEs พื้นที่ บน.3.1 ขบน ก.พ
(มีผลใช้บังคับวันที่ ๑ พ.ย. ๒๕๕๗)
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ผู้สอน : คุณครูภาคภูมิ คล้ายทอง
แนวทาง/เกณฑ์การประเมินโครงการฯ
กลุ่มเกษตรกร.
ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาห้องสมุดและ แหล่งเรียนรู้
การขอโครงการวิจัย.
SMS News Distribute Service
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
ความหมายของเรียงความ
การเขียนโฆษณา.
มาฝึกสมองกันครับ.
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
เสียงในภาษา วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ครูกิ่งกาญจน์ สมจิตต์
“ถ้าหากบริษัทบุหรี่ต้องหยุดทำการตลาดที่พุ่งเป้าไปที่เด็กๆ บริษัทบุหรี่จะล้มละลายภายใน 25 – 30 ปี เพราะจะไม่มีลูกค้าเพียงพอที่ธุรกิจจะอยู่ได้”
มุ่งเน้น การประเมินระดับการดำเนินงาน “หน่วยงานคุณธรรม”
วัสดุและเทคนิค ทางการออกแบบ อ.สุวิธธ์ สาดสังข์ ( Material and
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา และ จุดประสงค์การเรียนรู้
บทที่ ๑ การพูดและการนำสนอเพื่องานนิเทศศาสตร์
ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว
ลำปาง นายยรรยง พลสันติกุล สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
จุดเริ่มต้นสวนสัตว์ไทย
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การกำหนดประเด็นปัญหา
ศาสนาเชน Jainism.
สถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบัน
การจัดการความรู้ สำนักชลประทานที่ 15
เล่าเรื่องอย่างผู้นำ Coaching by story
งานสังคมครั้งที 1 เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน โดย น.ส.อธิชา ฤทธิ์เจริญ ม.4 MEP-A เลขที่ 21.
ตอนที่ 4.3 กรณีศึกษา : การสร้างเสริมประสิทธิภาพ งานส่งเสริมการเกษตร สำนักงานอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ตอนที่ กรณีศึกษา : การจัดการความรู้
กรณีศึกษา : เทคโนโลยีชีวภาพกับสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การใช้ภาษาเชิงวิชาการ วิชา GEL2201 ภาษาไทยเชิงวิชาการ

การใช้เครื่องหมายวรรคตอนในการเขียน ภาษาไทยเชิงวิชาการ ลักษณะของภาษาเชิงวิชาการ 1 การใช้พจนานุกรม 2 การบัญญัติศัพท์ 3 การทับศัพท์ 4 การนิยามศัพท์ 5 การใช้เครื่องหมายวรรคตอนในการเขียน 6 การใช้คำประโยค 7

ลักษณะของภาษาเชิงวิชาการ ภาษาเชิงวิชาการเป็นภาษาที่มีการเรียบเรียงอย่างดี ชัดเจน ถูกต้อง มีการอ้างอิง น่าเชื่อถือ จุดประสงค์เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความคิด ทัศนคติ

ลักษณะของภาษาเชิงวิชาการ 1. ระดับภาษา 2. ความเป็นมาตรฐานของภาษา

ระดับภาษา ระดับภาษาที่ใช้ในการนำเสนองานวิชาการ จะเป็นระดับภาษา แบบแผนที่เรียบง่าย ในการเขียนต้องคำนึงถึงส่วนประกอบของประโยค การเลือกใช้คำที่มีความหมายถูกต้องชัดเจน ไม่ใช้ คำซ้ำ คำฟุ่มเฟือย ภาษาพูด

ภาษาไม่เป็นทางการ ภาษาทางการ ทะเลาะ พ่อ แม่ ผัว เมีย เยอะแยะ ยังไง หมา คนบ้านนอก พูดโกหก รถเมล์ ขัดแย้ง บิดา มารดา สามี ภรรยา จำนวนมาก อย่างไร สุนัข คนชนบท คนต่างจังหวัด กล่าวเท็จ รถโดยสารประจำทาง

ตัวอย่าง ในสังคมปัจจุบันสมัยนี้ ความนิยมในการกินอาหารแตกต่างไปจากเดิมอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ เนื่องจากความรีบเร่ง อาหารฟาสต์ฟู้ดส์จึงเข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตมากยิ่งขึ้น ทำให้เราลืมนึกถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากอาหารนั้นๆ

ตัวอย่าง ในสังคมปัจจุบันสมัยนี้ ความนิยมในการกินอาหารแตกต่างไปจากเดิมอย่างหน้ามือเป็นหลังมือเนื่องจากความรีบเร่ง อาหารฟาสต์ฟู้ดส์จึงเข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตมากยิ่งขึ้น ทำให้เราลืมนึกถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากอาหารนั้นๆ ในสังคมปัจจุบันความนิยมในการบริโภคอาหารแตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากความรีบเร่ง อาหารจานด่วนจึงเข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตมากยิ่งขึ้น ทำให้เราลืมนึกถึง คุณค่าที่จะได้รับจากอาหารนั้นๆ

ความเป็นมาตรฐานของภาษา 1. เป็นภาษาเขียน (ครบถ้วนสมบูรณ์ ถูกหลักไวยากรณ์ ใช้คำสำหรับภาษาเขียน) 2. เป็นภาษาวิชาการ (ใช้คำตรงกับเนื้อหา ใช้ถ้อยคำกะทัดรัด ชัดเจน อาจใช้ศัพท์บัญญัติ) 3. เป็นภาษาไทย (ทับศัพท์อย่างมีหลักเกณฑ์) 4. เป็นภาษาที่เรียบเรียงดี

ลักษณะของงานเชิงวิชาการ มีความชัดเจน ใช้ภาษาง่าย นำเสนอได้ตรงจุดมุ่งหมาย มีความสมบูรณ์ นำเสนอเนื้อหาละเอียด ทุกแง่ทุกมุม สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ถูกไวยากรณ์ ใช้ภาษาสละสลวย มีความประณีตในการเลือกใช้ถ้อยคำ มีคุณภาพ (มีความถูกต้อง)และปริมาณเพียงพอต่อการค้นคว้า มีการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ

การใช้พจนานุกรม

การใช้พจนานุกรม การเรียงลำดับคำ 1. เรียงก-ฮ ร- ฤ ฤๅ ล- ฦ ฦๅ

1. ณัฐวุฒิ 6. มาริโอ 2. ทฤษฎี 7. รัฐศาสตร์ 3. ธีรเดช 8. วีรภาพ 1. ธีรเดช 2. ณัฐวุฒิ 3. มาริโอ 4. สน 5. วีรภาพ 6. ศุกลวัฒน์ 7. รัฐศาสตร์ 8. ทฤษฎี 9. พัชฏะ 10. ภูริ 1. ณัฐวุฒิ 6. มาริโอ 2. ทฤษฎี 7. รัฐศาสตร์ 3. ธีรเดช 8. วีรภาพ 4. พัชฏะ 9. ศุกลวัฒน์ 5. ภูริ 10. สน

การใช้พจนานุกรม การเรียงลำดับคำ 1. เรียงก-ฮ ร- ฤ ฤๅ ล- ฦ ฦๅ 2. เรียงลำดับสระตามรูป

ะ ุ เ ื (เสือ) ั (กัน) ู เ ื ะ (เกือะ) ั ะ (ผัวะ) เ แ า เ ะ (เกะ) แ ะ (แพะ) ำ เ า (เขา) โ ิ เ าะ (เจาะ) โ ะ (โป๊ะ) ี เ ิ (เกิน) ใ ึ เ ี (เสีย) ไ ื เ ีะ (เผียะ) คำที่มี ็ (ไม้ไต่คู้) จะลำดับก่อนวรรณยุกต์ เช่น เก็ง เก่ง เก้ง

1.กรรณิกา 2.กิ่งแก้ว 3. กมลชนก 4. เกวลิน 5. เกียรติ 6. กุศล 7. กำจร 8. ไกรศักดิ์ 9. กาญจนา 10. กานต์ 1. กมลชนก 6. กิ่งแก้ว 7. กุศล 2. กรรณิกา 3. กาญจนา 8. เกวลิน 4. กานต์ 9. เกียรติ 5. กำจร 10. ไกรศักดิ์

การใช้พจนานุกรม การเรียงลำดับคำ 1. เรียงก-ฮ ร- ฤ ฤๅ ล- ฦ ฦๅ 2. เรียงลำดับสระตามรูป 3. บอกวิธีเขียน 4. บอกเสียงอ่าน

บอกเสียงอ่าน คำบาลีสันสกฤตที่เป็นคำสมาสต้องอ่านอย่าง คำสมาส เช่น ทารุณกรรม [ทารุนนะกำ] อุดมการณ์ [อุดมมะ-,อุดม-]

บอกความหมาย แก่ ๑. ว. มีอายุมาก แก่ ๒. บ. ใช้นำหน้านามฝ่ายรับ เช่น ให้เงินแก่เด็ก แก่ ๓. (ถิ่น-อีสาน) ก. ลาก เช่นแก่เกวียน

การบอกประวัติคำ ข. = เขมร ต. = ตะเลง ล. = ละติน จ. = จีน บ. = เบงคอลี ส. = สันสกฤต ช. = ชวา ป. = ปาลิ (บาลี) อ. = อังกฤษ ญ. = ญวน ฝ. = ฝรั่งเศส ฮ. = ฮินดี ญิ. = ญี่ปุ่น ม. = มลายู

บอกชนิดของคำตามหลักไวยากรณ์ ก. = กริยา ว. = วิเศษณ์ (คุณศัพท์หรือกริยาวิเศษณ์) น. = นาม ส. = สรรพนาม นิ. = นิบาต สัน. = สันธาน บ. = บุรพบท อ. = อุทาน

บอกลักษณะของคำที่ใช้เฉพาะแห่ง (กฎ) คือ คำที่ใช้ในกฎหมาย. (กลอน) คือ คำที่ใช้ในบทร้อยกรอง. (คณิต) คือ คำที่ใช้ในคณิตศาสตร์. (จริย) คือ คำที่ใช้ในจริยศาสตร์. (ชีว) คือ คำที่ใช้ในชีววิทยา.

บอกหนังสืออ้างอิง กระดางลาง ว. มรรยาทหยาบ,สัปดน,เช่น อ้ายเฒ่าแก่กากกลีกระดางลาง ยังมันนี้ใครเขามีบ้างที่เมืองคน, (ม.ร่ายยาว ชูชก).

การค้นคำ 1. คำนำทางหรือคำชี้ทาง 2. คำตั้งคำหลัก 3. คำอนุพจน์ หรือลูกคำ

คำนำทาง/คำชี้ทาง

คำตั้ง/คำหลัก

คำอนุพจน์/ลูกคำ

การบัญญัติศัพท์

การบัญญัติศัพท์ การสร้างคำในภาษาให้มีความหมายเหมือนกับคำภาษาต่างประเทศ material = สสาร energy = พลังงาน museum = พิพิธภัณฑสถาน code = รหัส plug = เต้าเสียบ

หลักของการบัญญัติศัพท์ 1. นำคำศัพท์ไทยมาประกอบเป็นศัพท์ที่มีความ หมายตรงกับความหมายเดิม dry ice = น้ำแข็งแห้ง black market = ตลาดมืด light year = ปีแสง

หลักของการบัญญัติศัพท์ 2. สร้างคำใหม่ด้วยคำบาลี สันสกฤตที่มีใช้อยู่ ในภาษาไทยและออกเสียงได้ง่าย activity = กิจกรรม pollution = มลพิษ

หลักของการบัญญัติศัพท์ 3. หาคำไม่ได้ก็ใช้ทับศัพท์ไปก่อน beer = เบียร์ bonus = โบนัส cream = ครีม

ซอต์ฟแวร์ software ละมุนภัณฑ์ ฮาร์ดแวร์ hardware กระด้างภัณฑ์ วินโดว์ พหุบัญชร windows โลตัสโน้ต พหุอุบลจารึก lotus notes เพาเวอร์พอยท์ จุดอิทธิฤทธิ์ PowerPoint joystick แท่งหฤหรรษ์ จอยสติกค์ ไมโครซอฟท์ จิ๋วระทวย Microsoft

การบัญญัติศัพท์ด้วยวิธีการดัดแปลงความหมาย การยืมปน ตู้เซฟ ลูกบอล เสื้อเชิ้ต ช่างแอร์ แป๊บน้ำ การยืมแปล teleconferencing การประชุมระยะไกล standpoint จุดยืน blind spot จุดบอด สร้างคำใหม่แปลแบบถอดความ grame phone หีบเพลง budget งบประมาณ handcuff กุญแจมือ broker นายหน้า copyright ลิขสิทธิ์ symmertry สมมาตร

การทับศัพท์

การทับศัพท์ 1.ใช้เขียนคำต่างประเทศที่ไม่สามารถหาคำไทยแทนได้ 2. ใช้เขียนคำวิสามานยนาม

หลักเกณฑ์การทับศัพท์ ถอดอักษรเดิมให้พอรู้ที่มาของคำศัพท์ โดยใช้วิธีเขียนที่สะดวกในการอ่าน ฟุตบอล กำหนดหลักเกณฑ์ในการทับศัพท์แต่ละภาษา ให้ใช้คำที่เคยใช้กันมาแต่เดิม เช่น เทคนิค ก๊าซ ให้ใช้วิสามานยนามที่ใช้กันมาแต่เดิม เช่น cologne โคโลญ ศัพท์วิชาการให้เพิ่มหลักเกณฑ์ได้ตามความจำเป็น

หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ i อิ King อี ski ไอ Liberia e อี Sweden เอ Lebanon อิ electronics

หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ พยัญชนะต้น d – ด day เดย์ Ch – ช Chicago ชิคาโก Ch – ค Chios คิออส พยัญชนะท้าย Dead Sea เดดซี beach บีช Ch- ก Antioch แอนติออก

หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ไม่ใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ ยกเว้นคำนั้นมีเสียงซ้ำกับคำไทย เช่น โค้ก สนุ้ก เขียนทับศัพท์เฉพาะที่เป็นเอกพจน์ เช่น เกม ฟุต พยัญชนะตัวที่ไม่ออกเสียงให้ใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต เช่น world เวิลด์ ใช้ ไม้ไต่คู้เพื่อให้แตกต่างจากคำไทย log ล็อก ถ้ามีตัวสะกดซ้อนให้ตัดออก football ฟุตบอล ยกเว้นศัพท์วิชาการและวิสามานยนาม เช่น cell เซลล์ James Watt เจมส์ วัตต์

หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ 6. คำที่ผูกขึ้นจากตัวย่อให้ออกเสียงเหมือนคำคำหนึ่ง เช่น USIS ยูซิส UNESCO ยูเนสโก ASEAN อาเซียน

จงเขียนคำไทยแทนคำต่างประเทศต่อไปนี้ ก่อนออกเดินทางควรจะเช็กสภาพอากาศก่อน 2. รัฐบาลจัดโชว์ครั้งนี้ได้ยิ่งใหญ่ตระการตา 3. สินค้าของเอ็มเค มีการควบคุม ควอลิตีที่ได้มาตรฐาน 4. ร้านนี้ขายลูกชิ้นขนาดจัมโบ้ 5. เขาไม่ได้พักผ่อนเพราะรับ จ๊อบมาก

จงเขียนทับศัพท์คำต่างประเทศต่อไปนี้ Clinic คลินิก 2. Olympic โอลิมปิก 3. Cherry เชอร์รี 4. Locker ล็อกเกอร์ สวิตช์ 5. Switch

การนิยามศัพท์

การนิยามศัพท์ การกำหนดข้อความที่กล่าวถึงคุณลักษณะเฉพาะ เพื่อให้ผู้รับสารและส่งสารเข้าใจได้ตรงกัน

หลักในการนิยามศัพท์ ต้องกล่าวถึงคุณลักษณะทั้งหมด ต้องชัดเจนแจ่มแจ้ง ไม่เป็นคำเปรียบเทียบ ไม่เป็นคำที่คลุมเครือ ไม่กล่าวซ้ำคำเดิมหรือคำพ้องของคำนั้นซึ่งเป็นการวกวน ไม่ใช้ข้อความปฏิเสธ

กลวิธีการนิยาม นิยามโดยผู้ทรงคุณวุฒิ นิยามโดยอาศัยที่มาของศัพท์ นิยามโดยการยกตัวอย่าง นิยามโดยอาศัยการเปรียบเทียบ นิยามโดยปฏิเสธก่อนแล้วจึงชี้ชัดลงไป

นิยามโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี ได้นิยามคำว่า “ผู้ดี” ว่าหมายถึง บุคคลผู้ที่ประพฤติดี ประพฤติชอบ ทั้งกายกรรม วจีกรรมและมโนกรรม

นิยามโดยอาศัยที่มาของศัพท์ “อนุมัติ” ที่มาของศัพท์คือ อนุ แปลว่า ตาม มัติ คือ เห็นพ้องหรือเห็นชอบ คำอนุมัติจึงนิยามได้ว่า หมายถึง เห็นชอบตามที่เสนอมา

นิยามโดยการยกตัวอย่าง ในการนิยามคำว่าอานุสาสนียปาฏิหาริย์ ผู้นิยามอาจนิยามว่าดังนี้ “คำอานุสาสนียปาฏิหาริย์ ในที่นี้ข้าพเจ้าหมายถึงความมหัศจรรย์ของบุคคล ดังเช่น ในกรณีที่พระพุทธเจ้าสามารถเทศนาสั่งสอนองคุลี มาลซึ่งเป็นผู้โหดร้าย ให้กลับกลายเป็นผู้ที่เลื่อมใสในธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ด้วยคำพูดสั้นๆว่า เราหยุดแล้ว แต่ท่านสิยังไม่หยุด

นิยามอาศัยการเปรียบเทียบ “ข้าพเจ้าใคร่จะแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างระบบนายทุนกับระบบสังคมนิยม ระบบนายทุนนั้นดังที่ท่านทราบอยู่ดีแล้วว่ามีลักษณะสำคัญ ๓ ประการคือ ประการที่หนึ่งระบบนายทุนมุ่งหวังที่จะแสวงหากำไร ประการที่สอง ระบบนายทุนส่งเสริมการแข่งขันระหว่างหน่วยกิจการประเภทเดียวกัน ประการที่สาม กิจการของระบบนายทุนอยู่ในความควบคุมของบุคคลที่เป็นนายทุน ส่วนสังคมนิยมนั้น ประการแรก แทนที่จะประกอบกิจการเพื่อหวังผลกำไร แต่มุ่งหวังจะจัดบริการทดแทนให้ดีขึ้น ประการที่สอง แทนที่จะส่งเสริมการแข่งขันระหว่างหน่วยกิจการ แต่ส่งเสริมการร่วมมือกันและประการที่สาม แทนที่จะอยู่ในความควบคุมของนายทุนแต่อยู่ในความควบคุมของรัฐ ถือว่าประชาชนเป็นเจ้าของร่วมกัน”

นิยามโดยปฏิเสธก่อนแล้วจึงชี้ชัดลงไป “เสรีภาพ มิได้หมายถึงการที่บุคคลจะทำอะไรต่างๆได้ตามอำเภอใจของตน มิได้หมายถึงการที่บุคคลทุกคนไม่ต้องเคารพยำเกรงซึ่งกันและกัน มิได้หมายถึงการที่ใครใคร่พูด พูด ใครใคร่ทำ ทำ หรือใครใคร่เรียน เรียน แต่หมายถึง การมีโอกาสที่จะคิด กระทำและแสดงออก ได้ตามความประสงค์ตน ภายในขอบเขตอันสมควร...”

การใช้เครื่องหมายวรรคตอน ภาพจาก : www.jiewfudao.com/%25E0%25B9%258...599.html

การใช้เครื่องหมายวรรคตอนในการเขียน ๑. มหัพภาค หรือ . ใช้เพื่อแสดงว่าจบประโยคหรือจบความ หรือใช้เขียนหลังตัวอักษรเพื่อแสดงว่าเป็นอักษรย่อ ๒. จุลภาค หรือ , ใช้คั่นจำนวนเลขนับจากหลักหน่วยไปทีละ ๓ หลัก ใช้แยกวลีหรืออนุประโยคเพื่อป้องกันความเข้าใจสับสน ใช้คั่นในรายการที่เขียนต่อๆกัน ตั้งแต่ ๓ รายการขึ้นไป โดยเขียนคั่นแต่ละรายการ ส่วนหน้าคำ “และ”หรือ “หรือ”ที่อยู่หน้ารายการสุดท้ายไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องหมายจุลภาค

การใช้เครื่องหมายวรรคตอนในการเขียน ๓. ยัติภังค์ หรือ – ใช้เขียนสุดบรรทัดเพื่อต่อพยางค์หรือคำสมาส ใช้เขียนแทนความหมาย “และ” หรือ “กับ” ๔. วงเล็บ หรือ ( ) ใช้กันข้อความที่ขยายหรืออธิบาย เช่น มนุษย์สร้างโลภะ (ความโลภ) โทสะ (ความโกรธ) และโมหะ (ความหลงผิด) ๕. อัศเจรีย์ หรือ ! ใช้เขียนหลังคำอุทาน คำเลียนเสียงธรรมชาติ เช่น อุ๊ย! โครม!

การใช้เครื่องหมายวรรคตอนในการเขียน ๖. อัญประกาศ หรือ “ ” ใช้เพื่อแสดงว่าคำหรือข้อความนั้นเป็นคำพูด หรือ คัดมาจากที่อื่น หรือเน้นข้อข้อความให้เด่นชัดขึ้น ๗. ไม้ยมก หรือ ๆ ใช้เขียนหลังคำ วลี ประโยคเพื่อให้อ่านซ้ำ อีกครั้งหนึ่ง ๘. ไปยาลน้อย หรือ ฯ ใช้ละคำที่รู้จักกันดี เช่น กรุงเทพฯ มาจาก กรุงเทพมหานคร ใช้ละส่วนท้ายของวิ สามานยนามที่ได้กล่าวมาก่อนแล้ว เช่น มหามกุฎราชวิทยาลัย เขียนเป็น มหามกุฎฯ

การใช้เครื่องหมายวรรคตอนในการเขียน ๙. ไปยาลใหญ่ หรือ ฯลฯ ใช้สำหรับละข้อความข้างท้ายที่อยู่ในประเภทเดียวกัน ซึ่งยังมีอีกมากแต่ไม่ได้นำมาแสดงไว้ ๑๐. ไข่ปลา หรือ ... ใช้สำหรับละข้อความที่ไม่จำเป็นหรือไม่ต้องการกล่าวเพื่อจะชี้ว่า ข้อความที่นำมากล่าวนั้นตัดตอนมาเพียงบางส่วน ใช้ได้ทั้งตอนขึ้นต้น ตอนกลาง และตอนท้ายข้อความ โดยใช้ละด้วยจุดอย่างน้อย ๓ จุด

การใช้คำประโยค ภาพจาก : http://www.dek-d.com/contentimg/latae/1668.jpg

การใช้คำประโยค 1. การเรียงรูปประโยคไม่ละส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ว่าจะเป็นประธานกริยาหรือกรรม เช่น ช่วยคนเร่ร่อนที่ท้องสนามหลวง กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะช่วยเหลือคนเร่ร่อนที่สนามหลวง

การใช้คำประโยค 2. การวางส่วนขยายให้ถูกที่ เช่น 2. การวางส่วนขยายให้ถูกที่ เช่น เขาบริจาคเงินช่วยเด็กในโรงเรียนต่างๆที่ยากจน เขาบริจาคเงินช่วยเด็กยากจนในโรงเรียนต่างๆ

การใช้คำประโยค 3. การใช้คำให้ถูกต้อง เช่น 3. การใช้คำให้ถูกต้อง เช่น กรุงเทพมหานครฝากฝังให้ประชาชนช่วยกัน ดูแลสาธารณสมบัติด้วย กรุงเทพมหานครฝากให้ประชาชนช่วยกันดูแล สาธารณสมบัติด้วย

การใช้คำประโยค 4. การใช้คำที่กะทัดรัดสละสลวย เช่น ประวัติความเป็นมาของเวียงกุมกามเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ประวัติของเวียงกุมกามเป็นเรื่องที่น่าสนใจ

การใช้คำประโยค 5. การไม่ใช้ภาษาพูดในการเขียน ภาษาพูดรวมความทั้งการตัดคำ คำย่อ คำสแลง คำภาษาถิ่น เช่น พาณิชย์รณรงค์คนกินไข่ฉุดราคาขึ้น กระทรวงพาณิชย์รณรงค์ให้คนบริโภคไข่ให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มรายได้ให้ผู้ผลิต

จงพิจารณาว่าข้อความนี้บกพร่องอย่างไร ดิฉันวางแผนล่วงหน้าไว้แล้วว่าอนาคตในภายหน้าจะเป็นดารานักแสดงที่มีชื่อเสียงแต่ที่เพิ่งเปิดเผยให้ทราบก็เพราะความใฝ่ฝันนั้นได้กลายเป็นจริงแล้ว ที่ผ่านมาต้องเก็บซ่อนไม่ให้ผู้อื่นล่วงรู้ความรู้สึกนี้

การใช้คำประโยค ดิฉันวางแผนล่วงหน้าไว้แล้วว่าอนาคตในภายหน้าจะเป็นดารานักแสดงที่มีชื่อเสียงแต่ที่เพิ่งเปิดเผยให้ทราบก็เพราะความใฝ่ฝันนั้นได้กลายเป็นจริงแล้ว ที่ผ่านมาต้องเก็บซ่อนไม่ให้ผู้อื่นล่วงรู้ความรู้สึกนี้