งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความหมายของเรียงความ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความหมายของเรียงความ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความหมายของเรียงความ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.๒๕๒๔ ได้ให้ความหมายของคำว่าเรียงความไว้ว่า นำข้อความต่างๆ มาแต่งเรียบเรียงให้เป็นเรื่องราว แต่งหนังสือในลักษณะพูดหรือเขียนกันเป็นสามัญ ต่างจากลักษณะที่แต่งเป็นร้อยกรอง เรื่องที่นำข้อความมาแต่งเรียบเรียงขึ้น สรุปได้ว่า เรียงความเป็นการเขียนร้อยแก้วซึ่งผู้เขียนเรียบเรียงถ้อยคำและประโยคเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติของผู้แต่งที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยมีการวางโตรงเรื่องและใช้สำนวนภาษาของผู้เขียนเอง

2 องค์ประกอบของเรียงความ
เรียงความประกอบด้วยองค์ประกอบ๓ส่วน คือ คำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป คำนำ เป็นการเกริ่นเพื่อนำเข้าสู่เนื้อเรื่อง คำนำเป็นส่วนที่ทำหน้าที่เปิดประเด็นของเรื่องให้ดึงดูดความสนใจ คำนำควรมีความยาวประมาณ๑ใน๕ของเรียงความทั้งเรื่อง เนื้อเรื่อง เป็นส่วนที่นำเสนอข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็นและรายละเอียดต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในโครงเรื่อง เนื้อเรื่องนิยมเขียนเป็นย่อหน้า แต่ล่ะย่อหน้าจะขยายความชื่อเรื่อง ๓. เป็นส่วนที่ย้ำประเด็นสำคัญของเรื่อง และเป็นการทิ้งท้ายไว้ให้ผู้อ่านคิด หรือให้คติสอนใจ

3 ขั้นตอนการเขียนเรียงความ
เลือกเรื่องที่จะเขียน ตั้งวัตถุประสงค์ในการเขียน ค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือ ๔. วางโครงเรื่อง ลงมือเขียน

4 ลักษณะเรียงความที่ดี
องค์ประกอบของเรียงความครบถ้วน ๒. ภาษาที่ใช้ในการเขียนเรียงความต้องเป็นภาษาเขียนไม่ใช่ภาษาพูด สรรพนามที่ใช้แทนผู้เขียน ควรใช้คำว่าข้าพเจ้า หรือฉัน และใช้สรรพนามแทนผู้อื่นว่า ท่า เธอ เขา ใช้ถ้อยคำถูกต้องตรงตามความหมาย เขียนตัวสะกดการันต์ถูกต้องตามพจนานุกรม ใช้สำนวนโวหารและเรียบเรียงประโยคได้อย่างเหมาะสม เว้นวรรคตอนถูกต้อง ลำดับเนื้อหาไม่วกวน เนื้อหามีความสอดคล้องสัมพันธ์กันในแต่ละย่อหน้า ๗. เนื้อหาของเรียงความจะต้องใช้ข้อคิดที่สร้างสรรค์ดีงาม จรรโลงใจผู้อ่าน

5 โวหารที่ใช้ในการเขียนเรียงความ
ในการเขียนเรียงความนิยมใช้โวหาร ๕ ชนิด คือ บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร เทศนาโวหาร อุปมาโวหาร ๕. สาธกโวหาร

6 ความหมายของการย่อความ
กล่าวโดยสรุป การย่อความ หมายถึง กระบวนการเก็บใจความสำคัญ เพื่อนำมารวบรวมและเรียบเรียงเนื้อหาขึ้นใหม่ โดยใช้สำนวนภาษาของผู้ย่อเอง และจะต้องรักษาเนื้อความสำคัญไว้ให้ครบถ้วนและตรงตามต้นเรื่อง

7 ความสำคัญของการย่อความ
การย่อความมีความสำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวัน บุคคลทั่วไปใช้หลักกับการย่อความในการเขียนบันทึกประจำวัน นักเรียนนักศึกษาเวลาอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบ ก็ต้องอ่านโดยเก็บใจความสำคัญ และบันทึกย่อไว้อ่านทบทวนเวลาใกล้สอบ ในงานอาชีพ เลขานุการใช้หลักการย่อความ ย่อข่าวจากหนังสือพิมพ์หรืสารสนเทศ สรุปงานรายวันหรือรายสัปดาห์ เพื่อเสนอผู้จัดการหรือฝ่ายบริหารทราบ พิธีกรโทรทัศน์หรือนักจัดรายการวิทยุอาจจะต้องอ่านนิทาน เหตุการณ์ หรือเรื่องราวมาเล่าย่อๆ ให้แก่ผู้ชมหรือผู้ฟังรายการ

8 รูปแบบของการย่อความ อาจแบ่งรูปแบบของการย่อความตามลักษณะต้นเรื่อง ดังนี้ ถ้าต้นเรื่องเป็นชีวประวัติ หนังสือเรียน ความเรียง นิยายหรือนิทาน ควรบอกประเภทของงานเขียน ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ที่มาของเรื่องไว้ให้เพียงพอที่จะทราบได้ ถ้าต้นเรื่องเป็นบันทึกรายงาน คำกราบบังคมทูล ควรบอกประเภท เจ้าของเรื่อง ผู้รับโอกาสที่กล่าว วันเวลาที่กล่าวให้เพียงพอที่จะเข้าใจได้ ถ้าต้นเรื่องเป็นประกาศ แถลงข่าว ระเบียบ คำสั่ง ควรบอกประเภท เจ้าของเรื่อง ชื่อเรื่อง ผู้รับ วัน เดือน ปี ให้เพียงพอที่จะทราบได้

9 ถ้าต้นเรื่องเป็นคำปราศรัย บทสุนทรพจน์ พระราชดำรัช ควรบอกประเภทเจ้าของเรื่อง ผู้ฟัง โอกาสที่กล่าว สถานที่กล่าว วัน เดือน ปีที่กล่าวให้เพียงพอที่จะทราบได้ ถ้าต้นเรื่องเป็นปาฐกถา คำสอน คำบรรยาย บทอภิปราย ควรบอกประเภท ชื่อเรื่อง เจ้าของเรื่อง ชื่อผู้ฟัง สถานที่ และเวลา ให้เพียงพอที่จะทราบได้ ๖. ถ้าต้นเรื่องเป็นจดหมาย หนังสือราชการ ควรบอกประเภท เจ้าของเรื่อง เลขที่หนังสือ ผู้รับ ชื่อเรื่อง วัน เดือน ปี ที่เขียน ให้เพียงพอที่จะทราบได้

10 ถ้าต้นเรื่องเป็นจดหมายเหตุ บันทึกประจำวัน บันทึกความจำ ควรบอกประเภทโอกาสและวัน เดือน ปี ที่เขียน ให้เพียงพอที่จะทราบได้ ๘. ถ้าต้นเรื่องเป็นบทกวีนิพนธ์ คำประพันธ์ ควรบอกประเภท ชื่อเรื่อง เจ้าของเรื่อง ให้ถอดคำประพันธ์แล้วย่อใจความสำคัญเป็นร้อยแก้ว

11 แบบทดสอบ

12 การเปิดประเด็นของเรื่อง มีความยาวประมาณ ๑ ใน ๕ ของเรื่อง เป็นองค์ประกอบส่วนใดในการเขียนเรียงความ
ก. คำนำ ข. สรุป ค. เนื้อเรื่อง ง. ถูกทุกข้อ

13 องค์ประกอบในข้อใดมีลักษณะดังนี้ “ เขียนให้ดึงดูดความสนใจ หรือทำให้ผู้อ่านเกิดความอยากรู้”
ก. คำนำ ข. สรุป ค. เนื้อเรื่อง ง. ถูกทุกข้อ

14 แสดงข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็นและรายละเอียดเป็นย่อหน้า ตรงกับองค์ประกอบใด
ก. คำนำ ข. สรุป ค. เนื้อเรื่อง ง. ถูกทุกข้อ

15 ข้อใดเป็นขั้นตอนในการเขียนเรียงความที่ถูกต้อง
ก. ตั้งวัตถุประสงค์ เลือกเรื่อง ค้นคว้าข้อมูล วางโครงเรื่อง ลงมือเขียน ข. เลือกเรื่อง ค้นคว้าข้อมูล ตั้งวัตถุประสงค์ วางโครงเรื่อง ลงมือเขียน ค. เลือกเรื่อง วางโครงเรื่อง ค้นคว้าข้อมูล ตั้งวัตถุประสงค์ ลงมือเขียน ง. เลือกเรื่อง ตั้งวัตถุประสงค์ ค้นคว้าข้อมูล วางโครงเรื่อง ลงมือเขียน

16 ๕. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะเรียงความที่ดี
ก. คำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป ข. เลือกเรื่อง ค้นคว้าข้อมูล ตั้งวัตถุประสงค์ วางโครงเรื่อง ลงมือเขียน ค. เลือกเรื่อง วางโครงเรื่อง ค้นคว้าข้อมูล ตั้งวัตถุประสงค์ ลงมือเขียน ง. เลือกเรื่อง ตั้งวัตถุประสงค์ ค้นคว้าข้อมูล วางโครงเรื่อง ลงมือเขียน

17 การเขียนเล่าเรื่องข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ตำนาน นิยาย และ จดหมายเหตุ ควรใช้โวหารชนิดใด
อุปมาโวหาร ข. เทศนาโวหาร ค. ใช้ภาษาพูดเพื่อแสดงความเป็นกันเอง ง. บรรยายโวหาร

18 กระบวนการเขียนอย่างละเอียดประณีต มีการแทรกอารมณ์ความรู้สึกให้ผู้อ่านรู้สึกคล้อยตามเป็นการใช้โวหารข้อใด ก. บรรยายโวหาร สาธกโวหาร พรรณนาโวหาร ง. เทศนาโวหาร

19 การเขียนโดยยกตัวอย่างประกอบเพื่อความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ควานใช้โวหารชนิดใด
อุปมาโวหาร ข. เทศนาโวหาร สาธกโวหาร ง. บรรยายโวหาร

20 การใช้สำนวนภาษาในการย่อความมีลักษณะตรงกับข้อใด
ใช้สำนวนภาษาของผู้ย่อเอง ใช้ภาษาแบบเป็นกันเอง ใช้ภาษาระดับทางการ ง. ใช้ภาษากึ่งทางการ

21 ๑๐. ข้อใดใช้หลักของการย่อความ
นักเรียนเขียนบันทึกประจำวัน ข. นักเรียนทำบันทึกย่อไว้ทบทวนเวลาสอบ ตำรวจย่อใจความสำคัญจากการสอบสวนเจ้าทุกข์เพื่อลงบันทึกประจำวัน ง. ถูกทุกข้อ

22 เก่งมากครับ ทำข้อต่อไปครับ
ถูกต้องครับ

23 ไม่ถูกต้องครับ ลองอีกครั้งครับ

24 เก่งมากครับ ทำข้อต่อไปครับ
ถูกต้องครับ

25 ไม่ถูกต้องครับ ลองอีกครั้งครับ

26 เก่งมากครับ ทำข้อต่อไปครับ
ถูกต้องครับ

27 ไม่ถูกต้องครับ ลองอีกครั้งครับ

28 เก่งมากครับ ทำข้อต่อไปครับ
ถูกต้องครับ

29 ไม่ถูกต้องครับ ลองอีกครั้งครับ

30 เก่งมากครับ ทำข้อต่อไปครับ
ถูกต้องครับ

31 ไม่ถูกต้องครับ ลองอีกครั้งครับ

32 เก่งมากครับ ทำข้อต่อไปครับ
ถูกต้องครับ


ดาวน์โหลด ppt ความหมายของเรียงความ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google