ข้อดี ข้อเสีย ของ ค่าเงินบาทแข็ง Aj.2 : Satit UP
ข้อดี ของ ค่าเงินบาทแข็ง
ผลดีของค่าเงินบาทแข็งค่า 1. คนไทยมีกำลังซื้อมากขึ้น 2. ผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศได้เปรียบ ซื้อสินค้าได้มากขึ้น และ ราคาถูกลง 3. เป็นผลดีต่อการ ไปศึกษาต่อต่างประเทศ ไปเที่ยวต่างประเทศ 4. หนี้ต่างประเทศของภาครัฐบาลและภาคเอกชนที่กู้จากต่างประเทศลดลง 5. นักลงทุนคนไทยสามารถลงทุนในต่างประเทศได้มากขึ้น(เป็นผลดีต่อการนำเงินบาทไปลงทุนต่างประเทศ)
ข้อดีของค่าเงินบาทแข็ง คนไทยมีกำลังซื้อมากขึ้น เช่น ซื้อน้ำมันได้เพิ่มขึ้น การบินไทยสามารถซื้อน้ำมันได้มากกว่าเดิม (หมายถึงจำนวนเงินเท่าเดิมแต่ได้ปริมาณมากกว่า)
ข้อดีของค่าเงินบาทแข็ง 2. ผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศได้เปรียบ ซื้อสินค้าได้มากขึ้น และ ราคาถูกลง เงินถูกใช้ไปในการนำเข้าสินค้าทุน หรือ วัตถุดิน(ต้นทุนต่าง ๆ) --- > ต้นทุนจะต่ำกว่าเดิม หรือ ได้ปริมาณมากขึ้นจากราคาที่ต้องจ่ายเท่าเดิม
ข้อดีของค่าเงินบาทแข็ง 2. คนไทยไปเที่ยวต่างประเทศ ได้ Shopping มากขึ้น เช่น จะไปเที่ยว Hong Kong (Hong Kong แต่ก่อน 5 บาท เท่ากับ 1 เหรียญฮ่องกง ตอนนี้ 3 บาท= 1 เหรียญ)
ข้อดีของค่าเงินบาทแข็ง 3. ใครอยากไปเรียนต่อต่างประเทศ ง่ายเป็นโอกาสที่ดี ใช้จ่ายน้อยลงจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
ข้อดีของค่าเงินบาทแข็ง 4. หนี้ของภาครัฐบาลและภาคเอกชนที่กู้จากต่างประเทศลดลง หนี้เก่าๆ ที่เคยกู้ไว้ก่อนหน้านี้ เมื่อครบกำหนดการชำระ อัตราแลกเปลี่ยนทำให้หนี้ที่ต้องชำระ(ต้องชำระด้วยเงินบาทจำนวนน้อยลงเมื่อเปลี่ยนเป็นเงินดอลล่าร์) การกู้ยืมหนี้จะเป็นประโยชน์ กู้เมื่อเดือนก่อน 40 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์ ต่อมาค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เมื่อจ่ายชำระหนี้คืนในวันนี้(ถ้าค่าเงินบาทปรับตัวแข็งขึ้นเป็น 35 บาทต่อดอลล่าร์ ) ถ้าชำระหนี้ในวันนี้จะจ่ายน้อยลงตามไปด้วย
ข้อดีของค่าเงินบาทแข็ง 5. คนไทยสามารถลงทุนในต่างประเทศได้มากขึ้น(เป็นผลดีต่อการนำเงินบาทไปลงทุนต่างประเทศ) (ตัวอย่าง เช่น กรณีของประเทศญี่ปุ่นค่าเงินแข็งมานาน ก็นำจุดแข็งข้อนี้นำเงินไปลงทุนในประเทศต่าง ๆทั่วโลก เพราะหากลงทุนผลิตในประเทศต้นทุนการผลิตจะสูงมาก ---> ราคาสินค้าที่ผลิตออกมาจะแพงมาก ---> เวลานำสินค้าออกขายในตลาดโลกจะแข่งขันกับสินค้ากับประเทศอื่นไม่ได้หรือขายได้ยากขึ้น)
ข้อดีของค่าเงินบาทแข็ง 6. สินค้าราคาแพงที่เคยซื้อ หรือ นำเข้าจากต่างประเทศ จะซื้อได้ในราคาที่ถูกลง เช่น พวกสินค้านำเข้า สินค้าแฟชั่น สินค้าฟุ่มเฟื่อยต่าง ๆ ที่ราคาแพง ๆ ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ----> ซื้อในราคาถูกลง)
ข้อเสียของค่าเงินบาทแข็ง 8. เป็นผลดีต่อนักลงทุนคนไทยในการนำเงินทุนไปลงทุนยังต่างประเทศ เงินดอลลาร์มีค่าน้อยลงเมื่อเปลี่ยนมาเป็นเงินบาท --- > เมื่อนำเงินมาลงทุนในประเทศไทย ---> ต้นทุนสูง ----> ย้ายฐานการผลิต/ไม่มาลงทุน ----- > การว่างงาน
ผมเคยเห็นร้าน Daiso สินค้า 60 บาท ที่หลายคนเคยซื้อ พิมพ์ว่า Made in Japan ตัวหนังสือ Japan แต่จริงๆ แล้วผลิตจากจีน ไทย ทั้งนั้น (นอกญี่ปุ่น) หากผลิตจาก Japan ราคานี้ขายไม่ได้ครับเพื่อนผมไปเที่ยวบอกว่า ราเมนธรรมดา + น้ำ ก็ 400-500 บาทแล้วครับ ลองคิดดู ที่นั้น 60 บาทซื้ออะไรได้บ้าง ผมยังคิดไม่ออกเลย
ผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็ง : ข้อดีข้อเสีย หลายบริษัทที่ประกาศนั้นเขามีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนครับ สมัยโน้นบอกว่ากิจการขาดทุนมาก เพราะตีค่าเงินบาทไว้ 50-55 บาทต่อดอลลาร์ วันนี้ตีใหม่เท่ากับ 41 บาท จำนวนหนี้ก็ลดพรวดพลาด บางทีก็กำไรขึ้นมาในพริบตา ซึ่งนี้เป็นกำไรจากตัวเลขเท่านั้น ตอนนี้ทุนต่างประเทศ (ทุนไทยด้วย) จะไล่ซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อขายต่อ หรือซื้อเก็บเพื่อขายต่อในวันข้างหน้า เขาอ่านเกมแล้วว่าไทยไม่กลับไปตกต่ำอีก เศรษฐกิจมีสัญญานฟื้นชัดเจน ไม่ว่าฟื้นช้าหรือเร็วก็ต้องฟื้นแน่นอน จึงเข้ามาซื้อสินทรัพย์เพื่อทำกำไร เวลาทุนนอกมาก็ต้องเอาดอลลาร์มาแลกเป็นบาท ทำให้ดีมานด์(ความต้องการ)เงินบาทเพิ่มมากขึ้น เงินบาทจึงปรับตัวแข็งขึ้นไป เขาตัดสินใจซื้อขายตอนนี้เพราะมั่นใจว่า ขืนช้ากว่านี้สินทรัพย์เราจะแพงขึ้นตามการแข็งตัวของค่าเงินบาทนั่นเอง เมื่อมีการซื้อขายเงินก็สะพัดเป็นของธรรมดา
ข้อเสีย ของ ค่าเงินบาทแข็ง
ผลเสียของค่าเงินบาทแข็งค่า 1. การส่งออกมีปัญหา 2. การว่างงานมีมากขึ้น 3. ธนาคารเกิดหนี้เสียที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL) 4. ส่งผลต่อการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในไทย 5. ส่งผลต่อการท่องเที่ยวภายในประเทศ
ข้อเสียของค่าเงินบาทแข็ง 1. การส่งออกมีปัญหา ราคาสินค้าของไทยที่ส่งออกไปยังต่างประเทศจะแพงขึ้นทันที(ในเวทีตลาดโลก)
ข้อเสียของค่าเงินบาทแข็ง เดิม สมมุติว่าอัตราแลกเปลี่ยน 1 USD = 40 บาท สมมุติว่าเดิม ราคาขายข้าว 1 กิโลกรัม = 1 USD (40 บาท) ** ตอนนี้ต่างชาติมีเงิน 1 USD ซื้อข้าวไทยได้ 1 กิโลกรัม ** ต่อมา เงินบาทแข็งค่าขึ้น เป็น 1 USD = 30 บาท ** ตอนนี้ต่างชาติมีเงิน 1 USD ซื้อข้าวไทยไม่ได้ 1 กิโลกรัม ละ** หมายความว่า หากต่างชาติต้องการซื้อข้าวไทย 1 กิโลกรัมเหมือนเดิมจะต้องจ่ายเงินมากกว่า 1 USD ละ สรุป ----> ต่างชาติก็จะมองว่าข้าวไทยแพงขึ้นนั้นเอง
ข้อเสียของค่าเงินบาทแข็ง ทำให้ราคาสินค้าไทยที่ส่งออกไปขายในตลาดโลก มีราคาแพงขึ้นในตลาดโลก ----> อาจจะมีผลต่อการตัดสินใจของต่างชาติในการซื้อสินค้าของไทย กล่าวคือ ---> ทำให้ผู้บริโภคต่างประเทศไปซื้อสินค้าของไทยในจำนวนน้อยลง ---> ทำให้ผู้บริโภคต่างประเทศไปซื้อสินค้าของประเทศอื่นที่ราคาถูกกว่า)
ข้อเสียของค่าเงินบาทแข็ง อาจจะมีผลต่อการตัดสินใจของต่างชาติในการซื้อสินค้าของไทย เช่น แต่เดิม ราคา ข้าว ไทยในตลาดโลกราคา ตันละ 2000 ดอลล่าร์สหรัฐ ต่อมา เมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้น เงิน 2000 ดอลลาร์ จึงซื้อข้าว 1 ตันไม่ได้อีกแล้ว ต้องจ่ายมากกว่า 2000 ดอลลาร์ ------ > จ่ายมากขึ้น ---- > แพง -----> ไปซื้อข้าวเวียดนามดีกว่า.....เป็นต้น
ข้อเสียของค่าเงินบาทแข็ง สำหรับภาคเอกชนจะได้กำไรน้อยลงเมื่อขายสินค้าไปยังต่างประเทศ(ผู้ซื้อให้เงินดอลล่าร์แก่ผู้ขาย) สมมุติเช่น สินค้าราคาขาย 100 ดอลล่าร์ พอเอามาคิดเป็นเงินไทย ก็จะได้กำไรน้อยลง(จากอัตราแลกเปลี่ยน) หรืออาจเกิดจากปริมาณการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศมีจำนวนที่น้อยลง
ข้อเสียของค่าเงินบาทแข็ง ภาคธุรกิจ(โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก(SME) อาจปิดกิจการได้ จากการที่ขายสินค้าไม่ได้ (ขายไม่ออก) หรือได้กำไรน้อยลงจากปริมาณการสั่งซื้อน้อยลงจากต่างชาติ
ข้อเสียของค่าเงินบาทแข็ง 2. การว่างงานเพิ่มมากขึ้น สินค้าไทยที่ส่งออกราคาแพงขึ้นในตลาดโลก ----> สินค้าขายไม่ออก หรือ ลดปริมาณการสั่งซื้อลง ----> โรงงาน/ภาคธุรกิจลดการผลิตลง หรือ ปิดกิจการ หรือ ปลดคนงานออก(เพื่อลดต้นทุนลง) ----> เกิดปัญหาการว่างงาน
ข้อเสียของค่าเงินบาทแข็ง 3. ธนาคารเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) โรงงาน/ภาคธุรกิจ--- > ขายสินค้าได้น้อยหรือขายไม่ออก ----> ปิดกิจการ หรือ ลดการผลิตลง ----- > ขาดทุน/ไม่มีกำไร/กำไรน้อยลง ---- > ไม่มีเงินชำระหนี้ -----> หนี้เสีย (NPL)
ข้อเสียของค่าเงินบาทแข็ง 4. นักลงทุนต่างชาติลงทุนในไทยน้อยลง เงินดอลลาร์มีค่าน้อยลงเมื่อเปลี่ยนมาเป็นเงินบาท --- > เมื่อนำเงินมาลงทุนในประเทสไทย ---> ต้นทุนสูง ----> ย้ายฐานการผลิต/ไม่มาลงทุน ----- > การว่างงาน
ข้อดีของค่าเงินบาทแข็ง 5. เป็นผลเสียต่อการท่องเที่ยวของไทย ( นักท่องเที่ยวต่างชาติมีเงินน้อยลงเมื่อเปลี่ยนจากเงินสกุลอื่นมาเป็นเงินสกุลบาท ) เช่น จากเดิม 20 บาท ต่อ 1 ดอลล่าสหรัฐ เมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เป็น 15 บาท ต่อ 1 ดอลล่าสหรัฐ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต้องใช้เงินมากขึ้นในการท่องเที่ยวในประเทศไทย หรือ อาจจะเปลี่ยนไปท่องเที่ยวยังประเทศอื่นที่มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าไทย