งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 6 เงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 6 เงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 6 เงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน

2 ส่วนแรกของบทนี้ ประกอบด้วย ความหมายของเงินลงทุน ต้นทุนของเงินลงทุน และประเภทของเงินลงทุน จากนั้น จะกล่าวถึงการรับรู้รายการและการวัดมูลค่าของเงินลงทุนในตราสารหนี้ ต่อด้วยการรับรู้รายการและการวัดมูลค่าของเงินลงทุนในตราสารทุน ส่วนสุดท้ายจะกล่าวถึงการโอนเปลี่ยนประเภทเงินลงทุนและตัวอย่างการแสดงรายการและการเปิดเผยาข้อมูลสำหรับเงินลงทุน อนึ่ง เนื้อหาทั้งหมดในหนังสือนี้ยังคงเป็นไปตามกรอบมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 105 การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน ซึ่งเป็นมาตรฐานการบัญชีของประเทศไทย (Local GAAP) ที่ว่างไว้ตามมาตรฐานการบัญชีของประเทศสหรัฐอเมริกา (Full IFRS) เมื่อนั้นมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 105 จะถูกยกเลิกและใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เครื่องมือทางการาเงินแทน

3 ความหมายของเงินทุน เงินลงทุน หมายถึง สินทรัพย์ที่กิจการมีไว้เพื่อเพิ่มความมั่งคั่งให้กับกิจการ ซึ่งผลตอบแทนที่กิจการจะได้รับจากการถือเงินลงทุนอาจจะเป็นดอกเบี้ยรับ ค่าสิทธิ และรายได้เงินปันผล หรือกิจการอาจจะได้รับผลตอบแทนจากราคาหุ้นที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าตอนที่ซื้อ ( capital gain ) ต้นทุนของเงินลงทุน ราคาทุนของเงินลงทุนจะรวมรายจ่ายโดยตรงทั้งหมดที่กิจการจำเป็นต้องจ่ายเพื่อให้ได้เงินลงทุนนั้นมารายจ่ายเหล่านั้น ได้แก่ ราคาจ่ายซื้อเงินทุน ค่านายหน้า ค่าธรรมเนียม และค่าภาษี-อากร หากกิจการซื้อหุ้นกู้ระหว่างงวดดอกเบี้ย จำนวนเงินที่ต้องจ่ายเพิ่มสำหรับดอกเบี้ยค้างรับที่ติดมากับหุ้นกู้นั้นไม่ถือเป็นราคาทุนของเงินลงทุน ให้บันทึกบัญชีดอกเบี้ยที่ติดมานั้นต่างหาก โดยเดบิตดอกเบี้ยรับ และเครดิตเงินสด ตัวอย่างจะแสดงในหัวข้อตราสารหนี้เพื่อค้าต่อไป

4 การจัดประเภทของเงินทุน
กิจการจะต้องจัดประเภทเงินทุนนับตั้งแต่วันที่ได้เงินลงทุนมา ตามวัตถุประสงค์ของการถือเงินลงทุน โดยการดูความตั้งใจของผู้บริหารที่มีต่อเงินลงทุน ว่าจะถือเงินลงทุนไว้เพื่ออะไร เนื่องจากจากมีผลกระทบต่อการบันทึกเงินทุนและการแสดงรายการในงบแสดงฐานะการเงิน เงินลงทุนถ้าแบ่งตามระยะเวลาที่ตั้งใจจะถือ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1) เงินลงทุนชั่วคราว ( Temporary Investment ) หมายถึง เงินลงทุนที่กิจการตั้งใจจะถือไว้ไม่เกิน 1 ปี เนื่องจากกิจการมีเงินสดหมุนเวียนเวียนเกินความต้องการใช้ในขณะนั้น จึงนำไปซื้อเงินลงทุนดังกล่าวเพื่อหาผลตอบแทนและกิจการจะขายเงินลงทุนชั่วคราวนี้ในทันทีที่ต้องการเงินสด 2) เงินลงทุนระยะยาว ( Long-Term Investment ) หมายถึง เงินลงทุนที่กิจการมีความต้องการจะลงทุนเกินกว่า 1 ปี นอกจากการจัดประเภทเงินลงทุนเป็นเงินลงทุนชั่วคราวหรือเงินลงทุนระยะยาวแล้ว เงินลงทุน ยังสามารถจัดประเภทตามชนิดของตราสารทางการเงิน ได้ดังนี้ 1) เงินลงทุนในตราสารหนี้ ( Investment in Debt Securities ) เงินลงทุนที่ผู้ถือหลักทรัพย์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของกิจการ เช่น หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น 2) เงินลงทุนในตราสารทุน ( Investment in Equities Securities ) เงินลงทุนที่ผู้ถือหลักทรัพย์ มีฐานะเป็นเจ้าของกิจการ เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นทุน เป็นต้น

5 เงินลงทุนในตราสารหนี้ ( Debt Investment )
เงินลงทุนในตราสารหนี้ หมายถึง การลงทุนในตราสารที่แสดงถึงความเป็นเจ้าหนี้ของกิจการ เช่น หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล การจัดประเภทเงินลงทุนในตราสารหนี้ ขึ้นอยู่กับความตั้งใจของผู้บริหารที่มีต่อเงินลงทุนในตราสารหนี้ และความสามารถของกิจการในการถือครองตราสารหนี้ดังกล่าว การจัดประเภทเงินลงทุนในตราสารหนี้ เงินมาลงทุนในตราสารหนี้สามารถจัดประเภทได้ ดังนี้ 1) ตราสารหนี้เพื่อค้า ( Trading Securities) หมายถึง ตราสารหนี้ที่กิจการถือไว้โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะขายในอนาคตอันใกล้ ทำให้กิจการถือหลักทรัพย์นั้นไว้ในเวลาสั้น ๆ เพื่อหากำไรจากการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ ( Capital gain ) หลักทรัพย์เพื่อค้าจึงจัดประเภทเป็นเงินลงทุนชั่วคราว 2) ตราสารหนี้เผื่อขาย ( Available for Sales Securities ) หมายถึง ตราสารหนี้ที่กิจการถือไว้โดยมิได้มีความตั้งใจ ที่ถือเป็นหลักทรัพย์เพื่อค้า และในขณะเดียวกันก็ไม่ได้ถือเป็นตราสารหนี้ที่ถือจนครบกำหนด เนื่องจากกิจการยังไม่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน จึงเรียกหลักทรัพย์ประเภทนี้ว่าตราสารหนี้เผื่อขาย ตราสารหนี้เผื่อขายจะจัดประเภทไว้เป็นเงินลงทุนชั่วคราวหรือเงินลงทุนระยะยาวก็ได้ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ผู้ซื้อตั้งใจจะถือเงินลงทุนไว้ 3) ตราสารหนี้ที่ถือจนครบกำหนด ( Held to Maturity Securities หรือ Held for Collection Securities ) หมายถึง ตราสารหนี้ที่กิจการมีความตั้งใจแน่วแน่และมีความสามารถที่จะถือไว้จนครบกำหนดไถ่ถอน

6 แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 6 1. การจัดประเภทเงินลงทุนระยะยาวเป็นกี่ ประเภท อะไรบ้าง 2. เงินลงทุนระยะยาวแสดงอย่างไรในหมวดอะไรในงบการเงิน 3. กิจการซื้อหุ้นสามัญบริษัท รุ่งเรือง จากัด (มหาชน) ควรจัดเป็นหลักทรัพย์ประเภทใด 4. ในวันที่ 1 ม.ค. 25X3 บริษัท สองสาย จำกัด ซื้อเงินลงทุนหุ้นกู้ 10% จานวนเงินหน้าใบหุ้น ,000 บาท กำหนดเวลา 5 ปี ได้รับดอกเบี้ย ทุกสิ้นปี อัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด 8% ต่อปี ถือไว้เป็นตราสารหนี้ที่ จะถือจนครบกำหนด ให้คำนวณหาต้นทุนเงินลงทุน 5. ในวันที่ 30 เม.ย. ซื้อหุ้นกู้12% โดยมีความตั้งใจจะถือไว้เผื่อขาย จากบริษัท สายสวรรค์ จากัด มูลค่า 50,000 บาท ในราคา 102 บวกดอกเบี้ย คงค้าง เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อ 1,000 บาท กำหนดจ่ายดอกเบี้ยทุก วันที่30 มิ.ย. และ 31 ธ.ค. ครบกำหนดไถ่ถอน 31 ธ.ค. 25X4


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 6 เงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google