งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไทย ปี 2540

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไทย ปี 2540"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไทย ปี 2540
วิชา ปรัชญาชีวิตเพื่อวิถีพอเพียงในชีวิตประจำวัน วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไทย ปี 2540 โดย รองศาสตราจารย์ ดร.มาฆะสิริ เชาวกุล วันที่ 20 สิงหาคม 2558

2 วิกฤติเศรษฐกิจของประเทศไทยปี 2540 คืออะไร
เป็น วิกฤตทางการเงิน ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวม หนี้ต่างประเทศในปลายปี 2540 เพิ่มขึ้นถึง 109,276 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เป็นหนี้ระยะสั้นถึงร้อยละ 65 หนี้ต่างประเทศมีทั้งหนี้รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และ เอกชน ในสัดส่วน 9 : 22 : 69 ธนาคารพาณิชย์ประสพปัญหาหนี้เสีย ( Non Performing Loan : NPL) ถึงร้อยละ 52.3 ของสินเชื่อรวม ในเดือนสิงหาคม 2540 สถาบันการเงินถูกกระทรวงการคลังสั่งให้ปิดดำเนินการรวม 58 แห่ง ฐานะทางการเงินของประเทศอยู่ในขั้นอ่อนแอ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2540 ประเทศไทยมีเงินสำรองต่างประเทศเหลือเพียง 2,850 ล้านดอลล่าร์ จากที่เคยมีถึง 38,700 ล้านดอลล่าร์ เมื่อปลายปี 2539

3 สาเหตุของวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540
การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่องเป็นเวลานาน ดุลบัญชีเดินสะพัด ( Current Account) คืออะไร คือผลรวมสุทธิของดุลการค้า ดุลบริการ รายได้และเงินโอน (ระหว่างประเทศ) ดลุการค้า = ส่งออก – นำเข้า (สินค้า) ดุลบริการ = ส่งออก – นำเข้า (บริการ เช่น ขนส่ง ท่องเที่ยว ประกันภัย สื่อสาร) รายได้ (ค่าจ้าง ค่าตอบแทน สวัสดิการ รายได้จากการลงทุน ) เงินโอน เงินบริจาค ปลายปี 2539 ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลถึง 14,350 ล้าน US$

4 หลังปี 40 ดุลบัญชีเดินสะพัด และ ดุลการค้าเป็น + แต่ก็เหวี่ยงขึ้นลง

5 หนี้ต่างประเทศ เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก
ความกดดันในเรื่องการเปิดเสรีการค้าในปี 2532 กดดันให้ไทยต้องเปิดเสรีทางการเงินในปี 2533 ปี 2536 ธนาคารพาณิชย์ 46 แห่งได้รับอนุญาตให้ตั้งกิจการวิเทศธนกิจไทย (Bangkok International Banking Facilities : BIBF) ธนาคารพาณิชย์สามารถกู้เงินจากต่างประเทศ (ดอกเบี้ยต่ำ 7% แล้วมาปล่อยกู้ในประเทศ (ดอกเบี้ยสูง 14%) ปลายปี 2540 หนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นถึง 109,276 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เป็นหนี้ระยะสั้นถึงร้อยละ 65 สัดส่วนเงินสำรองต่อหนี้ระยะสั้น 70.4 : 100.0

6 จริยธรรมของนักธุรกิจ นักการเมืองและสถาบันการเงินในกิจการวิเทศธนกิจ
สถาบันการเงินต้องการปล่อยเงินที่กู้ยืมมาให้มากขึ้น ทำให้การพิจารณาการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินไม่อยู่บนฐานของความสามารถในการชำระคืนอย่างแท้จริง ( demand ต่ออสังหริมทรัพย์) มีการปล่อยเงินให้กับพวกพ้อง นักการเมือง และ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เป็นไปอย่างกว้างขวาง ความเชื่อมั่นในสถาบันการเงินเริ่มสั่นคลอน ประชาชนเริ่มถอนเงิน รัฐบาลเข้าช่วยเหลือสถาบันการเงินโดยใช้เงินจากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน 6 แสนล้านบาท แต่ก็ไม่สามารถช่วยได้ สถาบันการเงินถูกทะยอยสั่งปิด รวม 58 แห่งเมื่อเดือนสิงหาคม 2540 NPL มีจำนวนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 52.3 ของสินเชื่อรวมเมื่อพฤษภาคม 2542

7 เกิดเศรษฐกิจฟองสบู่ เงินที่กู้ยืมนำมาลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
เกิดการเก็งกำไรในผู้ซื้อ ราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งดึงดูดให้คนมาลงทุน (ปั่นราคา) จนกลายเป็นภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ (การลงทุนเกินกว่าความต้องการที่แท้จริง)

8 การคงอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ที่ 25 บาท / $ซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจและยังขัดกับการเปิดเสรีทางการเงิน
อัตราแลกเปลี่ยนควรสะท้อน demand และ supply ของเงิน ความต้องการเงิน $ มีสูง (เงิน $ ไหลเข้ามาก) พูดอีกอย่างคือ ต้องใช้เงินบาทมากขึ้นไปซื้อเงิน $ นั่นคือ ควรใช้เงินบาทมากกว่า 25 บาทไปซื้อ 1 $ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงพยายามควบคุมปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ ด้วยการขายพันธบัตรในอัตราดอกเบี้ยสูง ยิ่งดึงดูดนักลงทุน ยิ่งซ้ำเติมภาวะเงินไหลเข้า

9

10 6. การโจมตีค่าเงินบาท จากภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ทำให้นักเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนปล่อยข่าวว่าจะมีการลดค่าเงินบาท และสร้าง demand เทียม ด้วยการขายเงินบาทในตลาดซื้อขายล่วงหน้าเงินตราต่างประเทศ ค่าเงินบาทอ่อนตัวอย่างรวดเร็ว จาก 25 บาท/ $ ขึ้นไปแตะ 40 บาท/$ รัฐบาลก็ใช้เงินทุนสำรองไปปกป้องค่าเงินบาท (ต้องการคงอัตราแลก เปลี่ยนไว้ที่ 25 บาท/$ จึงสร้าง demand ด้วยการซื้อเงินบาทกลับคืน) แต่กองทุนเพื่อการเก็งกำไรค่าเงิน หรือ Hedge Funds มีขนาดใหญ่กว่า และมีการผสมโรงของหลายกองทุน เช่นของนาย George Soros

11

12 รัฐบาลไทยยอมจำนนต่อภาวะเศรษฐกิจ ที่ใกล้จะล่มสลาย
14 สิงหาคม 2540 รัฐบาลไทยขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ( International Monetary Fund : IMF) เป็นเงินรวม 17.2 พันล้าน US $


ดาวน์โหลด ppt วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไทย ปี 2540

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google