ISO ย่อมาจาก International Organization for Standardization คือ องค์การมาตรฐานสากล หรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เป็นองค์กรที่ออกมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ และอุตสาหกรรม ได้ก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2490 ประเทศสมาชิกเริ่มแรก 25 ประเทศ ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งสิ้น 117 ประเทศ สำนักงานอยู่ ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศให้เป็นที่ยอมรับทั่วโลก รวมทั้งพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพื่อขยายการค้าระหว่างประเทศ มาตรฐานที่องค์กรนี้ออกมา จะใช้ชื่อนำหน้าว่า ISO เช่น ISO 9000 และ ISO 14000 ซึ่งก็เป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยระบบบริหารคุณภาพ และระบบบริหารสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ISO 9000 ISO 9000 คือ การจัดระบบการบริหารเพื่อประกันคุณภาพ ที่สามารถตรวจสอบได้ โดยผ่านระบบเอกสาร ISO 9001 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลทั้งการออกแบบ และพัฒนาการผลิต การติดตั้ง และการบริการ
ISO 9002 มาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลเฉพาะการผลิต การติดตั้ง และการบริการ
มาตรฐาน ISO 14000 คือ มาตรฐานสากลว่าด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นมาตรฐานที่กำหนดให้องค์การมีการจัดตั้งระบบการบริหารที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมขององค์การนั้นๆ ซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายและข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อมขององค์การนั้นๆ มาตรฐาน ISO 14000 จะครอบคลุมถึงการฝึกอบรมพนักงาน การจัดการด้านความรับผิดชอบ และระบบต่างๆที่ต้องทำงาน มาตรฐาน ISO 14000 ประกอบด้วย
ข้อกำหนดของระบบจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14000-14009 ข้อกำหนดของระบบจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14010-14019 การตรวจประเมินสิ่งแวดล้อมและคุณสมบัติผู้ตรวจประเมิน ฉลากสิ่งแวดล้อมสำหรับผลิตภัณฑ์ ISO 14020-14029 ISO 14030-14039 การตรวจวัดผลปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อม ประเมินวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ISO 14040-14049 คำนิยามและศัพท์ ISO 14050
ประโยชน์ของ มาตรฐาน ISO 2. พนักงานภายในองค์กร/บริษัท 1. องค์กร/บริษัท 3. ผู้ซื้อ/ผู้บริโภค - การจัดองค์กร การบริหารงาน การผลิตตลอดจนการให้บริการมีระบบ และมีประสิทธิภาพ - ผลิตภัณฑ์และบริการ เป็นที่พึงพอใจของลูกค้าหรือผู้รับบริการและได้รับการยอมรับ - ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กร - ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว - มีการทำงานเป็นระบบ - เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน - พนักงานมีจิตสำนึกในเรื่องของคุณภาพมากขึ้น - มีวินัยในการทำงาน - พัฒนาการทำงานเป็นทีมหรือเป็นกลุ่มมีการประสานงานที่ดี และสามารถพัฒนาตนเองตลอดจน เกิดทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน - มั่นใจในผลิตภัณฑ์และบริการ ว่ามีคุณภาพตามที่ต้องการ - สะดวกประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องตรวจสอบคุณภาพซ้ำ - ได้รับการคุ้มครองด้านคุณภาพความปลอดภัยและการใช้งาน
การประกันคุณภาพทางการศึกษา ISO การประกันคุณภาพทางการศึกษา
โรงเรียนมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพของนักเรียน ให้เป็นผู้ประพฤติดีและมีความรู้ ซึ่งจะดำเนินการอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อสนองตอบต่อความต้องการ ของผู้ปกครองและชุมชน ด้วยจิตสำนึกที่มีความรับผิดขอบ ของครูอาจารย์การประกันคุณภาพทางการศึกษา เป็นกระบวนการยกระดับสถานศึกษาให้มีมาตรฐาน เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ปกครองและสังคมว่า สถานศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน นักเรียนที่จบการศึกษามีคุณสมบัติตามความคาดหวัง ของหลักสูตรและมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา เป็นที่ยอมรับของสังคม
สาเหตุที่ต้องมี การประกันคุณภาพ
สภาพปัจจุบันของการศึกษามีสภาพดังนี้ 1. ผู้จบการศึกษาไม่มีคุณภาพ ไม่สนองตอบต่อสังคม 2. ไม่มีมาตรฐานกลางของโรงเรียนทั้งด้านกระบวนการผลิต และ การนำหลักสูตรไปใช้ในการเรียนการสอน 3. ไม่มีมาตรการกำกับการดำเนินงานของโรงเรียนอย่างจริงจัง
4. ไม่มีการเสริมแรงเพื่อยกย่องให้รางวัลความก้าวหน้าแก่ผู้มีผลการปฎิบัติงานสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐาน 5. ไม่มีความสมดุล มีความสับสน ความไม่ชัดเจนเชิงนโยบาย เช่น การรวม อำนาจ การกระจายอำนาจ การให้อิสระแก่โรงเรียน การให้โรงเรียนอยู่ในความดูแลของท้องถิ่น การจัดรายวิชามาตรฐาน ความรู้ความสามารถและคุณธรรมของนักเรียน
บรรณานุกรม อนุศักดิ์ ฉิ่นไพศาล. (2557) ความเป็นมาของมาตรฐานสากล ISO 9000(History of ISO 9000). กรุงเทพฯ : วี พริ้น . ISO คืออะไร มีกี่ประเภท. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.engineerthailand.com/1003.html [สืบค้นเมื่อ วันที่ 6 กันยายน 2561]. วิภาดา ใสยาเย็น. (2559). มาตรฐาน ISO 14000. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://il258wipada.blogspot.com/ [สืบค้นเมื่อ วันที่ 6 กันยายน 2561]. นโยบายคุณภาพ. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://nawaminbodinz.tripod.com/index6.htm [สืบค้นเมื่อ วันที่ 8 กันยายน 2561].