แนวทางการตรวจสอบการเบิกค่าตอบแทนให้กับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ปัญหาที่พบ เช่น 1.การจ่ายค่าตอบแทนไม่ตรงลักษณะงานที่ปฏิบัติ เช่น การปฏิบัติงานเป็นเวรเป็นผลัด เวชปฏิบัติครอบครัว คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ ฯลฯ 2.การออกคำสั่งหัวหน้าหน่วยบริการเพื่อมอบหมายเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในลักษณะต่างๆ ไม่ถูกต้อง 3.การจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเบิกค่าตอบแทนไม่ครบถ้วน ถูกต้อง เช่นบันทึกการปฏิบัติงาน บันทึกแลกเปลี่ยนเวร การขออนุมัติเรียกเวรเสริม ฯลฯ 4.การกำหนดตารางเวรปฏิบัติงานที่อาจกระทบต่อสถานะเงินบำรุง เช่น ตารางเวรบ่ายดึก ของพยาบาล 5.การกำหนดเวลาปฏิบัติงานนอกเวลาไม่สอดคล้องกับการให้บริการหรือบริบทของหน่วยบริการ 6.การยื่นขอรับเงินเพิ่มพิเศษกรณีไม่ทำเวชปฏิบัติส่วนตัวเดือนใด ก็ประสงค์ให้เกิดสิทธิเดือนนั้น 7.มีวุฒิเพิ่ม ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานตามวุฒิที่เพิ่ม จะใช้สิทธิเบิก OT เพิ่ม โดยไม่ขอคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนจังหวัดก่อน 8.การจ่ายค่าตอบแทน OT ไม่ถูกต้องระหว่าง หลักเกณฑ์ สธ.ฯ กับ ระเบียบ ก.คลัง
หลักเกณฑ์การเบิกค่าตอบแทนที่ใช้บังคับในปัจจุบัน 1. หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทน ฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 (สัญญารับเงินเพิ่มกรณีไม่ทำเวชปฏิบัติส่วนตัว) 2. หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทน ฯ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2552 3. หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทน ฯ (ฉบับที่ 11 ) พ.ศ. 2559 4. หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทน ฯ (ฉบับที่ 12 ) พ.ศ. 2559 5. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข รายละเอียดการจ่ายเงินค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน (ฉบับที่ 12) ตั้งแต่ 1 ต.ค. 60 6. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ลงวันที่ 27 มีนาคม 2561 (ประกาศรายชื่อสหวิชาชีพ และแบบคำขอรับเงิน)
แนวทางการจ่ายค่าตอบแทนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทน ฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 1.ผู้มีสิทธิ แพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกร ที่ไม่ทำเวชปฏิบัติส่วนตัว หรือปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเอกชน (อัตรา 10000/5000 บาท ต่อเดือน) 2.ต้อง 2.1 ยื่นคำขอต่อคณะกรรมการบริหารที่ตนสังกัดหรือปฏิบัติงานอยู่ 2.2 คณะกรรมการพิจารณาการเบิกจ่ายเงินเพิ่มพิเศษจังหวัดประชุมพิจารณา 3.วันที่สิทธิเกิด คณะกรรมการฯ พิจารณาในเดือนใด เกิดสิทธิในเดือนถัดไป 4.หน้าที่ ปฏิบัติงานครบ 15 วันทำการ/ไม่ประพฤติผิดสัญญา 5.กรณีผิดสัญญา 5.1 ถูกเรียกเงินคืน+ค่าปรับอีก 2 เท่า พร้อมดอกเบี้ยอีกร้อยละ 15 ต่อปี 5.2 อาจถูกดำเนินการทางวินัย
การจ่ายค่าตอบแทนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทน ฯ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2552 มีการจ่ายลักษณะต่างๆ ดังนี้ 1.การปฏิบัติงานในลักษณะเป็นเวรหรือเป็นผลัด (ข้อ 1.2) 2.การปฏิบัติงานของแพทย์เวรประจำอาคารผู้ป่วยนอก (ข้อ 1.3 (1) ) 3.การปฏิบัติงานของแพทย์เวรในหรือรอให้คำปรึกษา (ข้อ 1.3 (2) ) 4.การปฏิบัติงานของแพทย์ต่างหน่วยบริการ (ข้อ 1.3 (3) ) 5.การปฏิบัติงานของทันตแพทย์ต่างหน่วยบริการ (ข้อ 1.5) 6.การปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในทีมช่วยผ่าตัด (ข้อ 1.6 (1) ) 7.การปฏิบัติงานของพยาบาลที่เตรียมผู้ป่วยและดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด(ข้อ 1.6(2) ) 8.การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อื่นในลักษณะเวรรอให้บริการ (ข้อ 1.8) 9.การปฏิบัติงานต่างหน่วยบริการในลักษณะการให้บริการแบบผู้ป่วยนอก (ข้อ 1.7)
ประเภทหรือลักษณะการปฏิบัติงาน ใน ฉ.5 (ต่อ) 10.การปฏิบัติงานในคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ (ข้อ 2) 11.การปฏิบัติงานเวรบ่ายหรือเวรดึกของพยาบาล (ข้อ 3) 12.การปฏิบัติงานชันสูตรพลิกศพ (ข้อ 4) 13.การปฏิบัติงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพและเวชปฏิบัติครอบครัว (ข้อ 8) หมายเหตุ : ถ้าไม่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งข้างต้น ให้พิจารณาเบิกจ่ายตาม พรฏ.ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการฯ
1.การปฏิบัติงานในลักษณะเป็นเวรหรือเป็นผลัด (ข้อ 1.2) เงื่อนไขและอัตราการจ่ายค่าตอบแทน * ใน 1 เวรหรือ 1 ผลัด ต้องปฏิบัติงานติดต่อกันไม่น้อยกว่า 8 ชม. ทำงานไม่ถึง 8 ชม. ค่าตอบแทนลดลงตามส่วน เศษของชั่วโมงให้ตัดทิ้ง ถ้าถึงครึ่งชั่วโมงนับเป็น 1 ชม. * ต้องมีคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามข้อ 1.1 * ให้จ่ายค่าตอบแทน ตามข้อ 1.4 (ไม่มีแพทย์) เช่น ทันตแพทย์ 1100 บาท/เวร เภสัชกร 720 บาท/เวร พยาบาลวิชาชีพ 600 บาท/เวร พยาบาลเทคนิค/จพ.สธ. 480 บาท/เวร ฯลฯ 2.การปฏิบัติงานของแพทย์เวรประจำอาคารผู้ป่วยนอก (ข้อ 1.3 (1) ) * จ่ายค่าตอบแทน อัตรา คนละ 1100 บาท/เวร 3.การปฏิบัติงานของแพทย์เวรในหรือรอให้คำปรึกษา (ข้อ 1.3 (2) ) * จ่ายค่าตอบแทนตามปริมาณงาน (บัญชี 1) หรือไม่ต่ำกว่า คนละ 550 บาท/เวร
4.การปฏิบัติงานของแพทย์ต่างหน่วยบริการ (ข้อ 1.3 (3) ) เงื่อนไขและอัตราการจ่ายค่าตอบแทน * ต้องมีการขอรับการสนับสนุนและได้รับอนุมัติจาก นพ.สสจ. ก่อน * ต้องมีคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน * จ่ายค่าตอบแทนตามปริมาณงาน (บัญชี 1) หรือไม่ต่ำกว่า ชม.ละ 120 บาท 5.การปฏิบัติงานของทันตแพทย์ต่างหน่วยบริการ (ข้อ 1.5) * ต้องมีการขอรับการสนับสนุนและได้รับอนุมัติจาก นพ.สสจ. ก่อน * จ่ายค่าตอบแทนตามปริมาณงาน (บัญชี 2) หรือไม่ต่ำกว่า ชม.ละ 120บาท
6. การปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในทีมช่วยผ่าตัด (ข้อ 1 6.การปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในทีมช่วยผ่าตัด (ข้อ 1.6 (1) ) เงื่อนไขและอัตราการจ่ายค่าตอบแทน * ต้องมีคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน (พยาบาลวิชาชีพและ จนท.อื่นฯ) * จ่ายค่าตอบแทนตามจำนวนผู้ป่วย ในอัตรา 120 บาท/ราย สำหรับผ่าตัดเล็ก อัตรา 240 บาท/ราย สำหรับผ่าตัดใหญ่ (จนท.อื่นตามจำนวนผู้ป่วยและอัตราลดลงตามส่วน) 7.การปฏิบัติงานของพยาบาลที่เตรียมผู้ป่วยและดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด (ข้อ 1.6(2) ) * ต้องมีคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน * จ่ายค่าตอบแทนตามจำนวนผู้ป่วยแต่ละรายในอัตราทีมละ 120 บาท สำหรับ ผ่าตัดเล็ก และ อัตราทีมละ 360 บาท สำหรับผ่าตัดใหญ่ 8.การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อื่นในลักษณะเวรรอให้บริการ (On call)(ข้อ 1.8) * ต้องเสนอคณะกรรมการบริหาร รพ.กำหนดลักษณะงานและอัตราค่าตอบแทนตามความเหมาะสม ก่อน * ต้องมีคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน * จ่ายค่าตอบแทนโดยเทียบเคียง ข้อ 1.4 (ค่าตอบแทนลักษณะเป็นเวรหรือผลัด)
9.การปฏิบัติงานต่างหน่วยบริการในลักษณะการให้บริการแบบผู้ป่วยนอก (ข้อ 1.7) เงื่อนไขและอัตราการจ่ายค่าตอบแทน * ต้องมีการขอรับการสนับสนุนและได้รับอนุมัติจาก นพ.สสจ. ก่อน * ต้องมีคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน * จ่ายค่าตอบแทนเป็นรายชั่วโมง (จ่ายได้ทั้งแพทย์ ทันตแพทย์ และเจ้าหน้าที่อื่นๆ) เช่น แพทย์ ทันแพทย์ ชม.ละ 120 บาท เภสัชกร ชม.ละ 90 บาท พยาบาลวิชาชีพ นวก. ชม.ละ 80 บาท พยาบาลเทคนิค/จพ.สธ. ชม.ละ 60 บาท จนท.พยาบาล/จนท.สธ. ชม.ละ 50 บาท เป็นต้น
10.การปฏิบัติงานในคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ (ข้อ 2) เงื่อนไขและอัตราการจ่ายค่าตอบแทน * ต้องมีกรณีความจำเป็นเฉพาะ หรือเฉพาะโรค นอกเหนือการปฏิบัติงานนอกเวลาปกติ * คณะกรรมการบริหาร รพ.ต้องพิจารณากำหนดให้มีคลินิกพิเศษ และประกาศการจัดบริการให้ผู้รับบริการทราบ * ต้องมีคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน (ต้องไม่ซ้ำซ้อนกับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเป็นเวรหรือเป็นผลัด) * อัตราค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ (ที่ไม่ใช่แพทย์ ทันตแพทย์ ) ให้คิดเป็นรายชั่วโมง เช่น เภสัชกร ชม.ละ 90 บาท พยาบาลวิชาชีพ นวก. ชม.ละ 80 บาท พยาบาลเทคนิค/จพ.สธ. ชม.ละ 60 บาท จนท.พยาบาล/จนท.สธ. ชม.ละ 50 บาท เป็นต้น * อัตราค่าตอบแทนแพทย์ที่ปฏิบัติงานให้บริการแบบผู้ป่วยนอก จ่ายตามจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการตรวจ รายละ 50 บาท * อัตราค่าตอบแทนทันตแพทย์ที่ปฏิบัติงานให้บริการทันตกรรม ให้จ่ายตามคุณภาพและปริมาณงานตามบัญชีหมายเลข 2 หรือไม่น้อยกว่า ชม.ละ 120 บาท
11. การปฏิบัติงานเวรบ่ายหรือเวรดึกของพยาบาล (ข้อ 3) เงื่อนไขและอัตราการจ่ายค่าตอบแทน * พิจารณาตามคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในลักษณะเป็นเวรหรือเป็นผลัด * จ่ายเฉพาะผลัดดึกและผลัดบ่ายที่มิใช่เวรปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ * อัตราค่าตอบแทน (1) พยาบาลวิชาชีพ คนละ 240 บาท (2) พยาบาลเทคนิค คนละ 180 บาท (3) เจ้าหน้าที่พยาบาล คนละ 145 บาท หมายเหตุ ตามข้อบังคับฯ พ.ศ. 2544 (แก้ไข ฉบับ 2) พ.ศ. 2559 คำว่า เจ้าหน้าที่พยาบาล ให้หมายความรวมถึง ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาลด้วย
12. การปฏิบัติงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพและเวชปฏิบัติครอบครัว (ข้อ 8) เงื่อนไขและอัตราการจ่ายค่าตอบแทน * ต้องมีคำสั่งมอบหมายจากหัวหน้าหน่วยบริการ (พิจารณาจำนวน จนท.ตามความเหมาะสมและจำเป็นกับงาน) * ต้องเป็นการให้บริการเกี่ยวกับ การสร้างเสริมสุขภาพ เวชปฏิบัติครอบครัว กิจกรรมรณรงค์เพื่อการส่งเสริมสุขภาพและการควบคุมป้องกันโรค เพื่อให้เกิดบริการเชิงรุกถึงประชาชนมากขึ้น * ปฏิบัติงานด้านสร้างเสริมสุขภาพและเวชปฏิบัติครอบครัว ในหน่วยบริการ/นอกเวลาราชการ หากปฏิบัติงานนอกหน่วยบริการปฐมภูมิ ทั้งในเวลาและนอกเวลาราชการ * ปฏิบัติงานในกิจกรรมเชิงรุกที่เป็นนโยบายเร่งด่วน ในการสร้างเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค การรณรงค์แก้ปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญแต่ละพื้นที่ ทั้งในเวลาและนอกเวลาราชการ * อัตราค่าตอบแทน จ่ายค่าตอบแทนตามข้อ 1 (ข้อ 1.4 : ลักษณะเป็นเวรหรือเป็นผลัด ปฏิบัติงานไม่ครบ 8 ชม.ให้ลดลงตามส่วน/มิใช่จ่ายแบบรายชั่วโมง) หมายเหตุ ในกรณีการปฏิบัติงานนอกหน่วยบริการ ทั้งในและนอกเวลาราชการ หากไม่เข้าลักษณะหนึ่งลักษณะใดตาม ข้อ 8 ให้พิจารณาจ่ายค่าตอบแทนแบบเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการ ตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการฯ
1.เจ้าหน้าที่ผู้มีสิทธิได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ตามข้อ 11.4 ประเด็นซักซ้อมแนวทางการจ่ายค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทน ฯ (ฉบับที่ 11 ) พ.ศ. 2559 1.เจ้าหน้าที่ผู้มีสิทธิได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ตามข้อ 11.4 1.1 ต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหรือได้รับมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษรให้ปฏิบัติงาน ในตำแหน่งต่างๆ 1.2 ต้องเป็นผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบริการ ได้แก่ รพศ. รพท. รพช. สอ. และ รพ.สต. หรือ ที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่ให้บริการในลักษณะเดียวกัน รวมถึง หน่วยบริการปฐมภูมิ ในสังกัด รพศ. รพท. หรือ รพช. 1.3 ต้องให้บริการครอบคลุมทั้งการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค
เจ้าหน้าที่ผู้มีสิทธิได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ตามข้อ 11.4 (ต่อ) 1.4 คำว่า “เจ้าหน้าที่” หมายถึง เจ้าหน้าที่ตามข้อ 4 ของข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุขฯ พ.ศ. 2544 ประกอบด้วย ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างรายคาบ พนักงานของรัฐในสังกัด สธ.พนักงานราชการ พกส. หรือบุคคลอื่นที่ได้รับคำสั่งหรือได้รับมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษรให้ปฏิบัติงานในหน่วยบริการ นอกหน่วยบริการ หรือต่างหน่วยบริการ (โดยไม่รวมถึงผู้รับจ้างประเภทจ้างเหมาบริการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง) 1.5 การปฏิบัติงาน มี 3 ลักษณะ คือ เพื่อให้บริการ สนับสนุนด้านบริการ หรือ ร่วมบริการ 1.6 การมอบหมายให้ปฏิบัติงานในตำแหน่งที่สูงขึ้น เช่น จพ. เป็น นวก. เป็นอำนาจของหัวหน้าหน่วยบริการ (รักษาการในตำแหน่ง) นั้นๆที่จะออกคำสั่งมอบหมายได้ แต่ต้องไม่เกินกรอบโครงสร้างอัตรากำลังที่มีอยู่จริงในปัจจุบันของหน่วยบริการนั้นๆ
เจ้าหน้าที่ผู้มีสิทธิได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ตามข้อ 11.4 (ต่อ) 1.7 คำว่า “ซึ่งให้บริการครอบคลุมทั้งการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรคการฟื้นฟูสมรรถภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค” นั้น เป็นคำขยายคำว่า ”หน่วยบริการ” มิใช่ขยายความของคำว่า “เจ้าหน้าที่” และการให้บริการดังกล่าวไม่จำต้องปฏิบัติงานทุกอย่างพร้อมกันในคราวเดียวกันก็ได้ 1.8 ตามข้อ 11.4.1 (5) หากเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้หน่วยบริการอันมีลักษณะของการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค หรือให้บริการแก่ผู้ป่วยด้วย ตามบริบทของหน่วยบริการ ตามสายงานในระดับวุฒิการศึกษา ให้หัวหน้าหน่วยบริการพิจารณาจ่ายได้
2.วิธีการนับระยะเวลา ตามข้อ 11.5.2 2.1 การนับเวลาการปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติงานในหน่วยบริการ ให้นับเวลาต่อเนื่องกันได้ทั้งหมดร้อยละ 100 ไม่ว่าจะปฏิบัติงานในฐานะใด หรือดำรงตำแหน่งใด 2.2 การนับระยะเวลาต่อเนื่องกัน ให้นับเฉพาะการปฏิบัติงานในหน่วยบริการประเภทเดียวกัน ดังนี้ (1) สอ. รพ.สต. และ รพช. เป็นหน่วยบริการประเภทเดียวกัน (2) รพท. รพศ. เป็นหน่วยบริการประเภทเดียวกัน 2.3 การนับวันทำการ ตามข้อ 11.5.2 (9) กรณีคณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีวันหยุดราชการเพิ่มเติม เกี่ยวการนับวันทำการ มีหลักพิจารณาดังนี้ (1) กรณีมีมติ ครม.กำหนดวันหยุดเพิ่มเติมในเดือนใดแล้วทำให้เจ้าหน้าที่ทุกคนมีวันทำการไม่ครบ 15 วันทั้งประเทศ จึงจะนำวันหยุดตามมติ ครม.นั้นมานับรวมเป็นวันทำการได้ (2) กรณีมีมติ ครม. กำหนดวันหยุดเพิ่มเติมในเดือนใดแล้ว แต่เดือนนั้นมีวันทำการครบ 15 วันแล้ว ไม่สามารถนำวันหยุดดังกล่าวมานับรวมเป็นวันทำการได้
2.วิธีการนับระยะเวลา ตามข้อ 11.5.2 (ต่อ) 2.4 การจ่ายเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายตามหลักเกณฑ์นี้ สามารถจ่ายได้ทั้งเงินบำรุงและเงินงบประมาณ โดยไม่จำกัดลำดับการจ่ายก่อน แต่อย่างไรก็ตาม หากจ่ายค่าตอบแทนจากเงินบำรุงเต็มจำนวนหรือครบถ้วนในปีงบประมาณนั้นแล้ว เมื่อได้รับเงินงบประมาณมาภายหลังไม่สามารถนำเงินงบประมาณไปทดแทนเงินบำรุงได้และต้องส่งคืน 2.5 หากเดือนใดปฏิบัติงานครบ 15 วันทำการ ทั้ง 2 แห่ง ต้องรับค่าตอบแทน อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น