การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดสื่อประสมวิชางานเครื่องยนต์แก๊สโซลีน ชื่องานวิจัย การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดสื่อประสมวิชางานเครื่องยนต์แก๊สโซลีน ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ นายสุนทร สารเจริญ แผนกช่างยนต์ วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ
ที่มาและความสำคัญ จากการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ และนโยบาย เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ การผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสู่สากล พ.ศ. 2555-2569 คณะกรรมการการอาชีวศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่มีวิสัยทัศน์ที่ว่า “สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเป็นผู้นำในการจัดการศึกษาสายอาชีพ เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และภูมิภาค” มีภารกิจที่จะจัดและส่งเสริมการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ โดยคำนึงถึงคุณภาพและความเป็นเลิศทางวิชาชีพนั้น ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาอาชีวะมีการขับเคลื่อนทางการศึกษาเพื่อสนองนโยบายของรัฐบาล การจัดการเรียนการสอนในรายวิชางานเครื่องยนต์แก๊สโซลีน ซึ่งเป็นวิชาหนึ่งในหลักสูตรของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 สาขาช่างยนต์ คณะช่างอุตสาหกรรม ได้กำหนดให้นักศึกษาทุกคนมีทักษะการปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานเครื่องยนต์แก๊สโซลีน ซึ่งเป็นวิชาที่ต้องมีการศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการทำงาน การถอดประกอบ ตรวจสภาพชิ้นส่วนระบบน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบจุดระเบิด ระบบหล่อลื่น ระบบระบายความร้อน ระบบไอดี ระบบไอเสีย การติดเครื่องยนต์ การปรับแต่ง การบารุงรักษาเครื่องยนต์แก๊สโซลีน
ที่มาและความสำคัญ จากการที่ผู้วิจัยได้รับมอบหมายให้สอนวิชางานเครื่องยนต์แก๊สโซลีน ได้เล็งเห็นว่าผู้เรียนบางคนยังไม่เข้าใจในเนื้อหาวิชาที่เรียน ไม่สามารถมองรูปภาพ อธิบายเกี่ยวกับชิ้นส่วนเครื่องยนต์ หลักการทำงานของเครื่องยนต์ในหนังสือและเอกสารประกอบการสอนได้ หรือถ้าสามารถทำได้ก็ช้ากว่าเวลาที่กำหนด เมื่อมีทดสอบหลังเรียนพบว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งส่งผลทำให้ผู้เรียนไม่มีความสุขในการเรียน ดังนั้นผู้วิจัยในฐานะผู้สอนจึงมีได้ทดลองการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดสื่อประสมประกอบการเรียนการสอนในรายวิชางานเครื่องยนต์แก๊สโซลีน ซึ่งชุดสื่อประสม ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการใช้จัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ซึ่งมีอยู่หลากหลายชนิดหลากหลายประเภท สื่อประสมที่ผู้วิจัยได้นำมาแก้ไขปัญหาในครั้งนี้ มีสื่อหลากหลายรูปแบบนำมาประกอบกัน ได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือช่างยนต์ สื่อของจริง ใบงาน และสื่อเทคโนโลยี เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจ ได้เห็นชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ หลักการทำงานของเครื่องยนต์ การใช้ และตรวจสอบชิ้นส่วนเครื่องยนต์แก๊สโซลีนเพื่อจะช่วยส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนในรายวิชางานเครื่องยนต์แก๊สโซลีนมากขึ้น และมีเจตคติที่ดีต่อรายวิชางานเครื่องยนต์แก๊สโซลีนมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ของการวิจัย กรอบแนวคิดตัวแปรการวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน ในรายวิชางานเครื่องยนต์แก๊สโซลีนของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดสื่อประสม 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในรายวิชางานเครื่องยนต์แก๊สโซลีนของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดสื่อประสม กรอบแนวคิดตัวแปรการวิจัย ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม - ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา - ความพึงพอใจของนักศึกษาที่ได้รับการจัด การเรียนรู้โดยใช้ชุดสื่อประสม การจัดการเรียนรู้โดยใช้ ชุดสื่อประสม
ขอบเขตการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ที่เรียนวิชางานเครื่องยนต์แก๊สโซลีน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ จำนวน 2 ห้อง จำนวน 67 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 คณะช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างยนต์ ห้อง AU102 วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ รวมจำนวนนักศึกษาทั้งหมด 32 คน ขอบเขตเนื้อหา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน-หลังเรียน และความความพึงพอใจในรายวิชางานเครื่องยนต์แก๊สโซลีนของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดสื่อประสม วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน (Pre-test) และหลังเรียน (Post-test) แบบปรนัย 4 ตัวเลือก 25 ข้อ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจทางการเรียนเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนก ค่า t – test แบบ dependent sample และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาคุณภาพของแบบทดสอบ 1. นำแบบทดสอบให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรง (validity) ของเนื้อหาในแบบทดสอบ ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.96 2. นำผลการทดสอบมาวิเคราะห์รายข้อ เพื่อหาความยากง่าย (p) ตั้งแต่ 0.20-0.80 และอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.20-1.00 พบว่าข้อสอบทุกข้อผ่านคุณภาพ โดยมีค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.27-0.37 และมีค่าอำนาจจำแนก (r) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.60 3. ตรวจสอบค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยผู้วิจัยนำข้อสอบที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 25 ข้อ นำมาหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ โดยใช้สูตร KR 20 ของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (Kuder Richardson) ผลการตรวจสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.97 มีความเชื่อมมั่นสูง การหาคุณภาพของแบบสอบถาม 1. นำแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรง (validity) ของเนื้อหาในแบบสอบถาม ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.97 2. นำแบบสอบถามที่ทดลองใช้กับกลุ่มบุคคลที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ได้ค่าความเชื่อมั่น (α) เท่ากับ 0.87
ผลการวิเคราะห์/ตารางที่สำคัญ ตารางที่ 4.1 วิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน จากตารางที่ 4.1 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาช่างยนต์ คณะช่างอุตสาหกรรม ห้อง AU102 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดสื่อประสม วิชางานเครื่องยนต์แก๊สโซลีนก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
ตารางที่ 4.2 วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ที่มีต่อ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดสื่อประสม วิชางานเครื่องยนต์แก๊สโซลีน
สรุปผลการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาช่างยนต์ คณะช่างอุตสาหกรรม ห้อง AU102 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดสื่อประสม วิชางานเครื่องยนต์แก๊สโซลีน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 2. ความพึงพอใจในวิชางานเครื่องยนต์แก๊สโซลีนของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาช่างยนต์ คณะช่างอุตสาหกรรม ห้อง AU102 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดสื่อประสม โดยภาพรวมมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เป็นไปตามสมมติฐาน ที่ตั้งไว้
ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ 1. ก่อนนทำการสอนผู้สอนควรบอกวิธีการใช้สื่อแต่ละรายการกับนักศึกษาให้ชัดเจน 2. ผู้สอนควรใช้เทคนิคการสอนหลากหลายรูปแบบ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจเรียน มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนและเพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่ายในการเรียน 3. ในการจัดการเรียนรู้โดยการใช้ชุดสื่อประสม ผู้สอนควรกระตุ้นและให้กำลังใจให้นักศึกษาเกิด ความมั่นใจในการเรียน การทำกิจกรรมและกล้าแสดงความคิดเห็นของตนแก่สมาชิกในกลุ่ม ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรมีการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการเรียนรู้โดยการใช้ชุดสื่อประสม 2. ควรมีการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดสื่อประสมในการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชา และระดับชั้นอื่น 3. ทำการวิจัยเปรียบเทียบการใช้สื่อประสม กับการสอนด้วยวิธีอื่น
ผลกระทบที่เกิดขึ้น ผลกระทบที่เกิดขึ้น ผลกระทบด้านบวก 1. ผู้เรียนมีผลการเรียนดีขึ้น รู้จักคิดวิเคราะห์ และมีทักษะในการปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น 2. ผู้วิจัยสามารถนำวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดสื่อประสม ไปบูรณาการกับรายวิชาอื่น ๆ ได้ เช่น วิชา งานปรับอากาศรถยนต์ งานไฟฟ้ารถยนต์ เป็นต้น 3. จากผลการวิจัยทำให้ผู้วิจัยสามารถกำหนดสัดส่วนของการให้คะแนนในรายวิชาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม ผลกระทบด้านลบ 1. ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดสื่อประสม นักศึกษาบางคนยังขาดส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในชั้นเรียน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากนักศึกษายังไม่กล้าทดลองใช้ชุดสื่อประสมบางประเภท จึงส่งผลทำให้นักศึกษาบางคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมในชั้นเรียนน้อยเกินไป 2. ผู้เรียนบางคนไม่ชอบในการเรียนภาคทฤษฏีจึงทำให้ผู้สอนต้องพยายามใช้ชุดสื่อประสมที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษามีความสนใจในการเรียนภาคทฤษฏีให้มากขึ้น
บรรณานุกรม